รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
ด้วยความต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในระบบได้ จำเป็นต้องหันไปกู้ยืมหนี้นอกระบบ ซึ่งอาจนำมาสู่การทวงหนี้โหด พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 จึงถูกนำมาบังคับใช้เพื่อให้มีการทวงถามหนี้ที่เหมาะสม และกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการทวงถามหนี้ให้อยู่ในขอบเขตที่เป็นธรรมกับทั้งตัวเจ้าหนี้และลูกหนี้
ผู้ทวงถามหนี้คือใคร ? ทวงหนี้แบบไหนมีความผิดอะไรบ้าง ? กฎหมายนี้บังคับใครกับใคร ? ทวงแบบไหนที่ไม่นับเป็นการทวง ? เราได้นำมารวบรวมไว้ในบทความแล้ว ถ้าพร้อมแล้วก็ไปต่อที่หัวข้อต่อไปเลย
พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 หรือภาษาอังกฤษ Debt Collection Act, B.E. 2558 (2015) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา โดยมีคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ ทำหน้าที่ออกประกาศหรือคำสั่งต่าง ๆ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั่งให้ชําระค่าปรับทางปกครอง และสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจการทวงถามหนี้ เป็นต้น
และผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายให้ถูกต้องด้วยนะ หากเป็นทนายความจะต้องจดทะเบียนที่สภาทนายความให้ถูกต้องด้วย
“ผู้ทวงถามหนี้” ตามมาตรา 3 ใน พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ หมายถึงเจ้าหนี้ทั้งในระบบและเจ้าหนี้นอกระบบ ไม่ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม หากเป็นหนี้ที่เกิดจากการค้าหรือธุระปกติจะต้องอยู่ใต้บังคับของ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้
“ผู้ให้สินเชื่อ” คือ บุคคลที่ให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ หรือบุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด เช่น ธนาคาร เจ้าหนี้ปล่อยเงินกู้นอกระบบ ผู้ให้บริการสินเชื่อ บัตรเครดิต ไฟแนนซ์ เป็นต้น
“สินเชื่อ” คือ สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาโดยการให้กู้ยืมเงิน การให้บริการบัตรเครดิต การให้เช่าซื้อ การให้เช่าแบบลิสซิ่ง และสินเชื่อในรูปแบบอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
“ลูกหนี้” คือ ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา และผู้ค้ำประกันที่เป็นบุคคลธรรมดา
“ธุรกิจทวงถามหนี้” คือ การรับจ้างทวงถามหนี้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมเป็นปกติธุระ แต่ไม่รวมถึงการทวงถามหนี้ของทนายความที่ดำเนินการแทนลูกความของตัวเอง
การโทรศัพท์ไปทวงหนี้ที่กู้ยืมเงินกัน แชททางไลน์ แชทผ่านFacebook ไปหาถึงหน้าบ้าน ไม่ว่าจะทวงหนี้แบบไหนก็จะต้องไม่เป็นการรบกวนลูกหนี้จนเกินไป ซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ใน พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ มาตรา 9 ดังนี้
ทุกครั้งที่เจ้าหนี้ติดต่อลูกหนี้แล้วลูกหนี้รับรู้ว่ามีการทวงเงิน และมีการทวงถามอย่างชัดเจนจึงจะนับเป็นการทวงถามหนี้ 1 ครั้ง ถ้าหากเจอแบบนี้ยังไม่นับเป็นการทวงหนี้
การทวงหนี้ต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของลูกหนี้ และลูกหนี้ทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย จึงต้องมีการกำหนดวิธีการทวงหนี้ที่เป็นธรรมให้ชัดเจน พร้อมทั้งมีการกำหนดโทษไว้ด้วย
มาตรา 34 โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับผู้ที่
มาตรา 39 โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่
มาตรา 41 โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่
สำหรับเจ้าหนี้แล้วการได้เงินคืนเป็นเรื่องที่ดีที่สุด หากลูกหนี้ยอมจ่ายก็ไม่จำเป็นต้องทวงถามบ่อยให้เกิดความบาดหมางกัน แต่หากส่งโนติสไปแล้ว โทรทวงก้แล้ว ไปพบหน้าก็แล้ว ลูกหนี้ก็ไม่ยอมจ่าย จะทำร้ายร่างกาย ทรัพย์สิน คุกคาม ขู่เข็ญเพื่อให้ได้รับชำระหนี้ก็มีความผิดตามกฎหมาย อาจถูกดำเนินคดีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาเลยก็ได้ การฟ้องศาลเพื่อให้ลูกหนี้เข้าไกล่เกลี่ยชำระหนี้ หรือเพื่อให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้จ่ายหนี้ให้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่สามารถทำได้เช่นกัน
รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp