1

JusThat

ลูกหนี้ตาย เจ้าหนี้มีสิทธิ์ได้รับชำระหนี้จากกองมรดกเท่านั้น

การกู้ยืมเงิน จำนำของ จำนองบ้าน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เมื่อขาดสภาพคล่องทางการเงิน แต่เมื่อลูกหนี้ตายไป คนที่ต้องรับหน้าที่ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้และจัดการสิ่งที่ผู้ตายต้องทำคือทายาท หากผู้ตายทิ้งทรัพย์มรดกไว้เยอะ ทายาทก็คงไม่ต้องเดือดร้อนอะไร แต่หากผู้ตายทิ้งหนี้สินไว้มากกว่าทรัพย์สินทายาทก็คงเครียดไปตาม ๆ กัน จนบางครั้งเราอาจได้ยินคำพูดว่า ตายไปแล้วยังทิ้งภาระไว้อีก คนตายสบายคนอยู่ล้มละลายเพราะหนี้

แต่ความจริงแล้วคนอยู่จะล้มละลายเพราะหนี้ของผู้ตายได้จริงหรือ  JusThat  มีคำตอบ

เมื่อลูกหนี้ตายกฎหมายจะให้ความคุ้มครองเจ้าหนี้เพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากกองมรดกทันที ไม่ว่าหนี้นั้นจะครบกำหนดชำระหนี้แล้วหรือไม่ก็ตาม เพราะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรค 3 กำหนดอายุความฟ้องคดีไว้ 1 ปี นับตั้งแต่เจ้าหนี้รู้หรือควรรู้ว่าลูกหนี้ตาย หากทิ้งไว้เกิน 1 ปีคดีจะขาดอายุความ เจ้าหนี้จึงสามารถเรียกรับชำระหนี้จากกองมรดกได้ทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2540
แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ ป. ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระแต่ ป. ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 1  ปี นับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของ ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อ ป. ถึงแก่ความตายหากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระอายุความ 1 ปีอาจจะล่วงพ้นไปแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ

Facebook
Twitter
LinkedIn

ลูกหนี้ตาย เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองมรดกเท่านั้น

เมื่อลูกหนี้ตายจากไป กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่ สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดต่าง ๆ และทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายจะตกทอดแก่ทายาททันที โดยกฎหมายจะคุ้มครองเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้จากกองมรดกเท่านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1734 และมาตรา 1738 วรรคหนึ่ง หมายความว่า ลูกหนี้ที่ตายไปมีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทเท่าไหร่ เจ้าหนี้จะสามารถเรียกรับชำระหนี้ได้แค่เท่านั้น ถ้าหนี้ที่ติดค้างกันอยู่มีมากกว่าทรัพย์มรดกที่เหลืออยู่ หนี้ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นหนี้สูญไปเลย เพราะเจ้าหนี้จะเรียกให้ทายาทนำทรัพย์สินส่วนตัวมาชำระหนี้แทนไม่ได้นั่นเอง

มาตรา 1734 เจ้าหนี้กองมรดกชอบแต่จะได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น

มาตรา 1738
ก่อนแบ่งมรดก เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ทายาทคนหนึ่ง ๆ อาจเรียกให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก หรือให้เอาเป็นประกันก็ได้จนถึงเวลาแบ่งมรดก

ลูกหนี้ตาย ทายาทไม่ต้องใช้หนี้ให้มากกว่าทรัพย์มรดกที่ตนเองได้รับ

ถ้ามีการแบ่งมรดกกันไปเรียบร้อยแล้ว เจ้าหนี้ก็ยังสามารถติดตามให้ทายาทนำมรดกที่ได้รับมาชำระหนี้ได้นะ แต่ต้องไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้นได้รับไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 และมาตรา 1738 วรรคสอง

มาตรา 1601 ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน

มาตรา 1738 วรรคสอง เมื่อแบ่งมรดกแล้ว เจ้าหนี้อาจเรียกให้ทายาทคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้นได้รับไป ในกรณีเช่นนี้ ทายาทคนใดซึ่งได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กองมรดกเกินกว่าส่วนที่ตนจะต้องเฉลี่ยใช้หนี้ ทายาทคนนั้นมีสิทธิไล่เบี้ยจากทายาทคนอื่นได้

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหายืดเยื้อ ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ควรเตรียมเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับหนี้สินที่มีต่อกันไว้ให้พร้อมเสมอเพื่อให้ง่ายต่อการนำมาใช้งานได้ทันที และทายาทก็ควรติดตามหนี้สินที่ติดค้างอยู่ทั้งหมดและนำทรัพย์จากกองมรดกไปชำระหนี้ให้เรียบร้อยก่อนที่จะแบ่งมรดกกัน

แต่ถ้าไม่ยอมจ่ายหนี้ให้กับเจ้าหนี้ก่อนแบ่งมรดกกัน ปัญหาที่ตามอาจยืดยาวกว่าที่คิด เพราะอย่างไรแล้วเจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องทายาทให้นำทรัพย์มรดกที่ได้รับมาชำระหนี้ได้ และเจ้าหนี้ยังสืบบังคับคดีได้ตามกฎหมายอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2558

แม้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 และมาตรา 214 แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายกฎหมายคุ้มครองให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ตามมาตรา 1734 และมาตรา 1738 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ได้ การที่ทายาทของลูกหนี้จะต้องรับผิดทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกก็เพื่อให้เจ้าหนี้มีทางได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ไม่ทำให้ทายาทนั้นต้องรับผิดชดใช้จากทรัพย์สินส่วนตัวด้วย หากทายาทรับทรัพย์สินจากกองมรดกของผู้ตายไปแล้วก็เพียงให้รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับไปตามมาตรา 1601 และมาตรา 1738 วรรคสอง โดยยังถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับไปนั้นเป็นกองมรดกอยู่ 

คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทรับผิดในค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ตายเจ้ามรดกกระทำละเมิด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาท

JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »