1

JusThat

ลูกหนี้ตาย เจ้าหนี้จะฟ้องใครให้ใช้หนี้ได้บ้าง

เกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือ เกิด เจ็บ ตาย โดยยังไม่ทันแก่ก็มีให้เห็นอยู่เรื่อยไป เพราะความตายเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยไม่มีข้อยกเว้น ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้เองก็เป็นมนุษย์ที่ไม่สามารถหนีความตายได้ การบอกกล่าวเกี่ยวกับหนี้สินให้ทายาทรับรู้ไว้จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ไม่ว่าจะเป็นหนี้กู้ยืมเงิน หนี้จำนำ หนี้จำนอง หนี้ซื้อผ่อน และอีกมากมาย

ส่วนเจ้าหนี้ก็ควรเตรียมเอกสาร หลักฐานเกี่ยวกับหนี้ไว้ให้พร้อมเสมอ เพราะสิทธิในเรียกร้องหรือฟ้องคดีแพ่งต่อศาลจะเกิดขึ้นทันทีที่เจ้าหนี้รู้หรือควรรู้ว่าลูกหนี้ตาย ไม่ว่าหนี้หนี้จะถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ก็ตาม โดยมีอายุความเพียง 1 ปีเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 หรือไม่เกิน 10 ปีนับตั้งแต่ลูกหนี้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 4

แปลว่า หากลูกหนี้ตายไปแล้ว 1 ปี และเจ้าหนี้เพิ่งรู้หรืออยู่มีเหตุให้ควรรู้ว่าลูกหนี้ตายในปีที่ 2 อายุความก็จะเริ่มนับในวันที่รู้หรือควรรู้ โดยที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิ์ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความ แต่ถ้าเจ้าหนี้รู้ว่าลูกหนี้ตายหลังจากที่ลูกหนี้ตายไปแล้วครบ 10 ปี แบบนี้เจ้าหนี้ยังฟ้องได้นะ แต่อาจไม่ได้อะไรกลับมา เพราะอีกฝ่ายสามารถยกข้อต่อสู้เรื่องหนี้ขาดอายุความขึ้นมาอ้างได้ 

อ่านถึงตรงนี้หลายคนอาจมีคำถามว่าแล้วฉันต้องฟ้องใครกันนะ จะฟ้องทายาทคนไหนได้บ้าง หรือฟ้องได้เฉพาะผู้จัดการมรดกเท่านั้น บทความนี้ JusThat  มีคำตอบ

ลูกหนี้ตาย เจ้าหนี้ต้องฟ้องทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของลูกหนี้ หรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้เป็นจำเลย

เมื่อหน้าที่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นมรดก เช่นเดียวกับสิทธิ ทรัพย์สินต่าง ๆ ของผู้ตาย โดยเรียกทั้งหมดนี้ว่ากองมรดก และแน่นอนว่าผู้ที่จะมีสิทธิ์รับมรดกจากกองมรดกไปคือทายาท ซึ่งแต่ละคนจะมีสิทธิ์ได้มากได้น้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้ก่อนตาย แต่ถ้าไม่มีพินัยกรรมก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิ์รับมรดก 6 ลำดับ 

ในฝั่งของเจ้าหนี้หากมีการทวงถามแล้วยังไม่ได้รับรับการชำระหนี้ ต้องฟ้องศาลภายในอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 หากมีผู้จัดการมรดก เจ้าหนี้จะฟ้องแต่ผู้จัดการมรดกเพียงคนเดียว หรือจะฟ้องทายาททุกคนร่วมด้วยก็ได้ 

ดังนั้นนอกจากสิทธิ หน้าที่ต่าง ๆ รวมถึงทรัพย์สมบัติแล้ว ทายาทจะต้องรับหน้าที่ในการชำระหนี้ไปด้วย แต่ไม่ใช่ว่าทายาทต้องจ่ายหนี้แทนเจ้ามรดกที่ตายไปนะ เพราะตามหลักแล้วทายาทไม่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้สินเกินกว่ามรดกที่ตนเองได้รับ 

ว่ากันง่าย ๆ คือ มีสิทธิ์ได้รับเท่าไหร่มีหน้าที่ใช้หนี้เท่านั้น ถ้าไม่ได้รับเลยก็ไม่ต้องใช้หนี้ให้เลย ถ้าได้รับมากกว่าหนี้ที่มีก็รับผิดชอบหนี้ให้เจ้าหนี้ไปจนครบเหลือเท่าไหร่ก็แบ่งกันเท่านั้น

เช่น A รับทรัพย์มรดกจาก B เจ้ามรดก จำนวน 1 ล้านบาท โดยที่ B เป็นหนี้ C ก่อนตาย จำนวน 2 ล้านบาท C จะสามารถเรียกร้องหรือฟ้องเพื่อให้ศาลสั่งบังคับให้ A นำทรัพย์กองมรดกไปชำระหนี้ให้ C ได้เพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น และ C จะก้าวล่วงไปบังคับเอาทรัพย์สินส่วนตัวของ A มาชำระหนี้ไม่ได้

Facebook
Twitter
LinkedIn

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

     มาตรา 1600 ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

     มาตรา 1601 ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน

     มาตรา 1734 เจ้าหนี้กองมรดกชอบแต่จะได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น

     มาตรา 1738  ก่อนแบ่งมรดก เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ทายาทคนหนึ่ง ๆ อาจเรียกให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก หรือให้เอาเป็นประกันก็ได้จนถึงเวลาแบ่งมรดก

     เมื่อแบ่งมรดกแล้ว เจ้าหนี้อาจเรียกให้ทายาทคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้นได้รับไป ในกรณีเช่นนี้ ทายาทคนใดซึ่งได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กองมรดกเกินกว่าส่วนที่ตนจะต้องเฉลี่ยใช้หนี้ ทายาทคนนั้นมีสิทธิไล่เบี้ยจากทายาทคนอื่นได้

     มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

     คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

     ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

     ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »