1

JusThat

ไขข้อข้องใจ ประมาทร่วม คืออะไร มีจริงในข้อกฎหมายหรือไม่

เวลาเกิดอุบัติเหตุและมีการนำข่าวมาเสนอผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีแค่ภาพหรือมาเป็นคลิปวิดีโอ ความคิดเห็นที่มักมีในบทสนทนาอยู่เป็นประจำ คือ ประมาทร่วม 

“เดี๋ยวตำรวจก็บอกประมาทร่วม”
“ดูก็รู้ว่าประมาทร่วม”
“ชนแรงขนาดนี้สุดท้ายก็ได้แค่ข้อหาประมาทร่วม”

แต่ในความจริงแล้ว ประมาทร่วม มีในข้อกฎหมายหรือไม่ บุคคลสามารถทำความประมาทร่วมกันได้หรือเปล่า บทความนี้ JusThat  มีคำตอบ

Facebook
Twitter
LinkedIn

ประมาทร่วม คืออะไร ที่มาของคำว่าประมาทร่วม

คำว่า ” ประมาทร่วม “ มักถูกยกมาใช้บ่อย ๆ เวลาที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ส่วนหนึ่งมาจากการอยากตัดจบปัญหา ซ่อมใครซ่อมมันแล้วก็จบกันไป เพื่อไม่ให้มีปัญหายืดเยื้อด้วยเหตุผลที่ว่าประมาทร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย 

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีคำว่าประมาทร่วมในกฎหมายนะ และไม่เคยมีศาลใดพิพากษาว่าจำเลยและโจทก์กระทำประมาทร่วมกัน และการกระทำโดยประมาทนั้นเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ซึ่งในทางกฎหมายความประมาทไม่มีตัวการร่วม ดังนั้นบุคคลจึงร่วมกันทำประมาทไม่ได้ แต่หากมีข้อเท็จจริงว่าร่วมกันทำ การกระทำนั้นก็จะกลายเป็นการกระทำโดยเจตนาทันที ไม่ใช่การกระทำโดยประมาท 

การกระทำโดยประมาทมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรค 4 

กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอ ไม่

แปลเป็นภาษาทั่วไปที่เข้าใจง่าย คือ การทำไปโดยไม่เจตนา ไม่มีเจตนาที่จะทำหรือไม่ทำสิ่งนั้น แต่เป็นการทำไปด้วยความไม่ระวัดระวังที่ควรต้องมีตามสภาพของตัวผู้กระทำและตามสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และอาจใช้ความระมัดระวังที่ว่านั้นได้ในตอนนั้น แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังที่ดีพอ

แปลเป็นภาษาทั่วไปที่เข้าใจง่าย คือ การทำไปโดยไม่เจตนา ไม่มีเจตนาที่จะทำหรือไม่ทำสิ่งนั้น แต่เป็นการทำไปด้วยความไม่ระวัดระวังที่ควรต้องมีตามสภาพของตัวผู้กระทำและตามสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และอาจใช้ความระมัดระวังที่ว่านั้นได้ในตอนนั้น แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังที่ดีพอ

แม้ไม่มีคำว่าประมาทร่วมในกฎหมาย แต่ในชั้นสอบสวนก็มักมีการยกคำว่าประมาทร่วมมาใช้บ่อย ๆ ในความหมายที่ว่าต่างฝ่ายต่างประมาท หรือประมาทกันทั้ง 2 ฝ่าย มีความผิดทั้งคู่ ไม่ใช่ร่วมกันทำประมาทตามคำที่นำมาใช้

ถ้าจะใช้ให้ถูกต้อง เราต้องใช้คำว่า ” ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน “ แปลได้ตรงตัวเลยคือฝ่ายหนึ่งประมาท อีกฝ่ายหนึ่งก็ประมาท โดยที่ต่างฝ่ายต่างประมาทเท่า ๆ กัน ใช้เป็นภาษาทั่วไปเป็น ต่างฝ่ายต่างประมาทพอกัน ดูจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก

หากจะดูว่าฝ่ายไหนควรได้รับค่าสินไหมทดแทน (ค่าเสียหาย) ก็ต้องดูว่าฝ่ายไหนประมาทมากกว่ากัน ฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่า หรือต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่ได้ดูที่ใครเสียหายมากว่ากัน เช่น A ขับรถชนกับ B โดยที่รถของ A เสียหายมากกว่า B และรถของ B ราคาแพงกว่ารถของ A และอาจต้องเสียค่าซ่อมมากกว่า A แต่ทั้งสองฝ่ายต่างประมาทพอกัน ทำให้ไม่มีผ่ายไหนเรียกค่าเสียหายจากอีกฝ่ายได้

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา

ฎีกาที่ 17868/2556 เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ในการขับรถของทั้งสองฝ่ายว่าฝ่ายใดประมาทยิ่งหย่อนกว่ากันแล้ว จะเห็นได้ว่าหากจำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังตามสมควรย่อมต้องมองเห็นรถจักรยานยนต์ที่ ก. ขับมาและต้องชะลอความเร็วไม่ให้เกิดการเฉี่ยวชนกัน ขณะเดียวกัน ก. ซึ่งขับรถจักรยานยนต์ย้อนเส้นทางเดินรถออกจากซอยก็จะต้องหยุดรถดูว่ามีรถแล่นมาทางด้านขวาหรือไม่ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับออกไป แต่ทั้งจำเลยที่ 1 และ ก. หาได้กระทำไม่ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และ ก. ประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 442  ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

มาตรา 223  ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร 

วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้แม้ทั้งที่ความผิดของฝ่ายผู้ที่เสียหายจะมีแต่เพียงละเลยไม่เตือนลูกหนี้ให้รู้สึกถึงอันตรายแห่งการเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ ซึ่งลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่อาจจะรู้ได้ หรือเพียงแต่ละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วย อนึ่งบทบัญญัติแห่ง มาตรา 220 นั้น ท่านให้นำมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »