1

JusThat

พิพากษาตามยอม คืออะไร

คำพิพากษาตามยอม ภาษาอังกฤษ Consent judgement คือ คำพิพากษาที่ศาลพิพากษาไปตามเจตนารมณ์ของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่ได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างยอมโอนอ่อนผ่อนผันให้กันและศาลได้พิพากษาเพื่อรับรองเจตนานั้นให้

เช่น A ฟ้องคดีแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายกรณีละเมิดจาก B เป็นเงิน 500,000 บาท และทั้งสองฝ่ายสามารถไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ โดย B จะแบ่งจ่ายให้ A ครั้งละ 100,000 บาท จำนวน 5 งวด กำหนดชำระทุกวันที่ 1 ของทุกเดือนจนกว่าจะครบจำนวน 500,000 บาท และศาลได้พิพากษาตามยอมให้ เรื่องของ A และ B ที่ได้ฟ้องร้องกันในศาลก็เป็นอันจบลง ไม่ต้องมีการดำเนินคดีกันต่อไป เป็นต้น

คดีแบบไหนที่ศาลสามารถพิพากษาตามยอมได้

คดีที่ศาลจะพิพากษาตามยอมได้เป็นคดีแพ่งทุกประเภท เช่น คดีกู้ยืมเงิน คดีซื้อขายสินค้า คดีซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ คดีเช่าซื้อ คดีขายฝาก คดีฟ้องหย่า คดีฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร คดีฟ้องขับไล่ คดีบังคับจำนอง คดีจ้างทำของ คดีฟ้องนายหน้า และอื่น ๆ อีกมากมายที่คู่ความสามารถตกลงกันได้ โดยไม่ต้องให้ศาลตัดสินชี้ขาดคดี 

และคู่ความสามารถขอทำข้อตกลงประนีประนอมยอมความกันในขั้นตอนไหนก็ได้ อาจทำสัญญายอมกันในวันนัดไกล่เกลี่ยนัดแรกเลยก็ได้ หรือทำสัญญายอมในวันนัดชี้สองสถานก็ได้ หรืออาจตกลงกันก่อนสืบพยาน หรือหลังจากสืบพยานไปแล้วก็ยังทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลยังพิพากษาตามยอมให้ได้เช่นกัน

Facebook
Twitter
LinkedIn

คู่ความตกลงกันไม่ได้ ศาลจะพิพากษาตามยอมให้ได้ไหม

อ่านถึงตรงนี้ก็อาจมีหลาย ๆ ท่านที่เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า ถ้าตนเองเป็นโจทก์หรือจำเลย และไม่อยากดำเนินคดีต่อไปแล้ว พูดคุยให้ข้อเสนอกับอีกฝ่ายไปแล้ว แต่อีกฝ่ายก็ไม่รับข้อเสนอดังกล่าว กรณีนี้จะไปขอให้ศาลพิพากษาตามยอมเพื่อรับรองเจตนาของตนเองฝ่ายเดียวได้หรือไม่ JusThat ต้องบอกตรง ๆ เลยว่าไม่ได้ เพราะการพิพากษาตามยอมนั้น ศาลจะต้องพิพากษาไปตามเจตนารมณ์ของคู่ความทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่เจตนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น และข้อตกลงที่คู่ความได้ทำกันขึ้นมานั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายด้วย ศาลจึงจะสามารถพิพากษาตามยอมให้ได้

หากคดีมีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »