รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
คบหาดูใจกันและอยู่กินกันก่อนแต่งงานจดทะเบียนสมรส หรือแต่งงานกันตามประเพณีแต่ไม่จดทะเบียนสมรส ตามกฎหมายถือว่า ยังไม่มีการสมรสกัน ทำให้ต่างคนต่างไม่มีสิทธิ หน้าที่ตามกฎหมายในฐานะสามีและภรรยาต่อกัน เพราะยังไม่มีการไปจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง
กรณีทั้งสองคนมีทรัพย์สินเพิ่มมาในระหว่างอยู่กินด้วยกัน หรือคบหาดูใจกันก่อนจดทะเบียนสมรส แล้วต่อมาคนสองคนได้เลิกรากันไป หรือมีใครคนใดคนหนึ่งอยากแบ่งทรัพย์สินครึ่งหนึ่งมาเป็นของตัวเอง แบบนี้จะสามารถเรียกให้แบ่งได้ไหม
JusThat ก็ต้องบอกไว้ก่อนเลยว่า มีทั้งได้และไม่ได้ ถ้าแบ่งได้ก็ไม่ใช่ทุกกรณีที่จะแบ่งกันได้แบบ 50/50 เพราะต้องดูข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นของแต่ละกรณีว่า ทั้งคู่ได้รับทรัพย์สินนั้นมาอย่างไร มีการทำมาหากินได้มาร่วมกันหรือไม่ หรือต่างคนต่างหา ต่างคนต่างได้รับทรัพย์สินมา
ปกติแล้วถ้าคู่รักอยู่กินกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นระหว่างนั้นจะไม่ใช่สินสมรส แต่เป็นทรัพย์สินที่มีกรรมสิทธิ์รวม ถ้าคู่รักที่อยู่กินกันช่วยกันทำมาหากิน ร่วมทุกข์ร่วมสุกกันในลักษณะผัวหาบเมียคอน หรือช่วยกันคอนช่วยกันหาบ หรือฝ่ายหนึ่งช่วยส่งเสริมให้อีกฝ่ายหนึ่งหารายได้ จนเกิดมีทรัพย์สินร่วมกันขึ้นมา แบบนี้ย่อมถือว่าทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันนั้นเป็นกรรมสิทธิ์รวม คือ ต่างคนต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นรวมกัน โดยแบ่งแยกไม่ได้ว่าส่วนไหนของทรัพย์สินนั้นเป็นของใคร
เช่น A กับ B คบหาดูใจอยู่กินกัน และเปิดร้านผลไม้ช่วยกันขายของจนมีรายได้รวมกัน แบบนี้รายได้นั้นก็เป็นรายได้รวมของทั้ง 2 คน ถ้า A และ B นำเงินที่ได้(รวมกันเป็นก้อนเดียว ไม่ได้แยกว่าเป็นเงินของใคร)ไปซื้อบ้าน ซื้อรถ แบบนี้ทั้งบ้านและรถนั้นจะเป็นทรัพย์สินที่ทั้ง A และ B ถือกรรมสิทธิ์รวมกันคนละ 50/50 เป็นต้น
ถ้า A และ B จะแบ่งทรัพย์สินกันก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง เว้นแต่ว่า A หรือ B จะสามารถพิสูจน์ได้ว่าใครหาได้มาก หรือหาได้น้อยกว่ากัน แค่ไหน อย่างไร ก็ต้องแบ่งกันไปตามนั้น แต่ถ้าพิสูจน์ไม่ได้เลย ไม่รู้จะแบ่งแยกยังไงว่าใครมีส่วนหาได้เท่าไหร่ แค่ไหน อย่างไร แบบนี้ก็ต้องย้อนกลับไปแบ่งกันคนละครึ่ง ตามที่กฎหมายสันนิษฐานไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357
มาตรา 1357 ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน
กรณีทำมาหากินร่วมกันและแบ่งเงินที่หาได้ร่วมกันแล้ว เช่น J กับ O เป็นคู่รักกัน หาเงินจากการทำคอนเทนต์ลง YouTube ด้วยกัน และเอาเงินที่ได้มาแบ่งกันเรียบร้อยแล้วคนละ 50/50 หรืออย่างไรก็แล้วแต่ตามที่ตกลงกัน เงินที่แบ่งให้ J จะเป็นเงินของ J คนเดียว และเงินที่แบ่งให้ O เป็นเงินของ O คนเดียวเช่นกัน เพราะเงินที่แบ่งให้กันแล้วจะไม่ใช่เงินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมอีกต่อไป
ดังนั้น ถ้า J หรือ O นำเงินที่แบ่งแล้ว ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ J หรือ O เพียงคนเดียวไปซื้อทรัพย์สินอื่น เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ แบบนี้ทรัพย์สินที่ได้มานั้นก็ไม่ใช่กรรมสิทธิ์รวมของ J และ O ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะขอแบ่งไปได้
ในทางกลับกัน ถ้า J และ O นำเงินที่แบ่งกันแล้วมารวมกันเพื่อซื้อทรัพย์สิน หรือนำไปประกอบกิจการใด ๆ ร่วมกัน และเกิดดอกผลขึ้นมา ทรัพย์สินที่ได้ร่วมกัน หรือดอกผลที่เกิดขึ้นมานั้นก็จะกลายเป็นกรรมสิทธิ์รวม ที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีสิทธิ์เป็นเจ้าของ และเรียกให้อีกฝ่ายแบ่งได้ โดยจะเรียกให้แบ่งได้กี่ส่วนก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่จำเป็นว่าต่างฝ่ายต่างต้องได้คนละครึ่งเสมอไป
มาตรา 1363 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่ หรือถ้าวัตถุที่ประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ก็เรียกให้แบ่งไม่ได้
สิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินนั้น ท่านว่าจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้
ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
มาตรา 1364 การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน
ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอ ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าส่วนที่แบ่งให้ไม่เท่ากันไซร้ จะสั่งให้ทดแทนกันเป็นเงินก็ได้ ถ้าการแบ่งเช่นว่านี้ไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนักก็ดี ศาลจะสั่งให้ขายโดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้
กรรมสิทธิ์รวมแตกต่างจากสินสมรส ตรงที่สินสมรสนั้น ไม่ว่าใครจะหาได้มากน้อยแค่ไหน หาอยู่คนเดียว หรือต่างคนต่างหามา ไม่ได้ช่วยกันทำมาหากิน แล้วเกิดมีทรัพย์สินขึ้นมาในระหว่างสมรส คู่สมรสก็จะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นทันทีครึ่งหนึ่ง
แต่กรรมสิทธิ์รวมของคู่ชีวิตจะเป็นการได้ทรัพย์สินมาในลักษณะที่เป็นการทำมาหาได้ร่วมกัน โดยแบ่งแยกไม่ได้ว่าใครเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น แปลว่า ถ้าไม่มีการทำมาหาได้ร่วมกัน ไม่มีการส่งเสริมร่วมทุกข์ร่วมสุกเพื่อให้ได้ทรัพย์สินมา แต่เป็นการหาได้โดยต่างคนต่างหา แม้อยู่กินด้วยกันอีกฝ่ายก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์รวม
จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp