1

JusThat

สร้างบ้านในที่ดินคนอื่น ใครเป็นเจ้าของบ้าน

สร้างบ้านในที่ดินคนอื่น ก็เหมือนอาศัยเขาอยู่แค่ชั่วคราว ถ้าจะหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจตามมา ก็ควรสร้างบ้านในที่ดินของตัวเองจะดีกว่า เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น JusThat ชวนทุกคนมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

สร้างบ้านในที่ดินคนอื่นโดยสุจริต เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของบ้านด้วย

คำว่า “โดยสุจริต” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 หมายถึง ผู้สร้างไม่รู้ว่าที่ดินเป็นของคนอื่น โดยเข้าใจว่าที่ดินเป็นของตัวเองและตัวเองมีสิทธิ์สร้างบ้านบนที่ดิน 

เช่น A มีที่ดินอยู่ 1 แปลง และสร้างบ้าน 1 หลังบนที่ดินที่ A เข้าใจว่าเป็นที่ดินของตัวเอง แต่พอสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินที่ A ไปสร้างบ้านไว้ก็มาทักท้วงว่า A ไปสร้างบ้านบนที่ดินของเขาไม่ใช่ที่ดินของ A และ A ก็เพิ่งรู้ในตอนหลังที่สร้างบ้านเสร็จแล้วว่า อ้าว นี่ฉันมาสร้างบ้านผิดแปลงนี่นา แบบนี้บ้านที่ A สร้างไว้จะตกเป็นของเจ้าของที่ดิน แปลว่า เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของบ้านที่ A สร้างไว้ด้วย 

แต่ว่าของฟรีไม่มีในโลกนี่สิ ได้หนึ่งอาจต้องเสียหนึ่งเพื่อแลกกับสิ่งที่ได้มา และในกรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน เพราะตามมาตรา 1310 วรรคแรก กำหนดไว้ว่า เจ้าของที่ดินต้องใช้ค่าแห่งที่ดิน เพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง

เช่น A สร้างบ้านไป 1 ล้าน บนที่ดินของคนอื่นที่มีมูลค่า 3 ล้านบาท และหลังจาก A สร้างบ้านเสร็จแล้วมูลค่าที่ดินนั้นก็เพิ่มขึ้นไปเป็น 3.7 ล้านบาท คือ เพิ่มขึ้นไปอีก 700,000 บาท แบบนี้เจ้าของที่ดินต้องจ่ายเงินให้ A จำนวน 700,000 บาท เพื่อใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นนั้นให้แก่ A 

     มาตรา 1310 บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น ๆ แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง

     แต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิได้มีความประมาทเลินเล่อ จะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้จะทำไม่ได้โดยใช้เงินพอสมควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้

Facebook
Twitter
LinkedIn

สร้างบ้านในที่ดินคนอื่นโดยสุจริต โดยเจ้าของที่ดินไม่ได้ประมาทเลินเล่อ เจ้าของที่ดินบอกให้รื้อถอนบ้านออกไปได้

คำว่า “ประมาทเลินเล่อ” ในที่นี้ คือ เจ้าของที่ดินปล่อยปละละเลย ไม่สนใจ ไม่ทำรั้วให้คนรู้แนวเขตที่ดิน หรือละเลยไม่ทำสัญลักษณ์แสดงแนวเขตที่ดิน เป็นต้น

แต่ถ้าเจ้าของที่ดินปกป้อง ป้องกันที่ดินของตัวเองไว้อย่างดีแล้ว สร้างรั้วรอบขอบชิด กั้นแนวเขตชัดเจน และสามารถพิสูจน์ได้ว่าตัวเองไม่ได้ประมาทเลินเล่อ แบบนี้เจ้าของที่ดินไม่จำเป็นต้องรับบ้านที่คนอื่นมาสร้างไว้มาเป็นของตัวเองก็ได้ รวมทั้งยังสามารถบอกกล่าวให้คนสร้างรื้อถอนบ้านออกไป และส่งมอบที่ดินในสภาพเดิมให้กับเจ้าของที่ดินได้ด้วย

ยกเว้นว่า การรื้อถอนนั้นจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนเงินมากจนไม่สามารถรื้อถอนได้ แบบนี้เจ้าของที่ดินสามารถเรียกให้ผู้สร้างบ้านซื้อที่ดินไปทั้งแปลง หรือซื้อที่ดินเพียงบางส่วนตามที่เห็นสมควรไปก็ได้ โดยทำการซื้อขายกันตามราคาตลาด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 วรรคสอง

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »