1

JusThat

นิติบุคคล คือใคร

ในทางกฎหมายเราจะแบ่งบุคคลออกได้ 2 แบบ คือ 1. บุคคลธรรมดา 2. นิติบุคคล และสำหรับบทความนี้ JusThat จะพาทุกคนมารู้จักกับนิติบุคคล นิติบุคคลเกิดขึ้นได้ยังไง มีกี่ประเภท นิติบุคคลจะมีสิทธิหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดาไหม บทความนี้มีคำตอบ

นิติบุคคล ภาษาอังกฤษ juristic person คือ บุคคลสมมติที่เกิดจากการจัดตั้งของกลุ่มบุคคลธรรมดา เมื่อมีการจัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้ว นิติบุคคลจะมีสภาพบุคคลทำให้นิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคลจะต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในการจัดตั้งนิติบุคคล ยกเว้นว่าสิทธิและหน้าที่นั้นจะมีได้เฉพาะบุคคลธรรมดา 

การจัดตั้งนิติบุคคล 

     1. นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (กฎหมายเอกชน) เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นได้ด้วยการทำตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยปกติแล้วจะจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำธุรกิจหาผลกำไรทางการค้า เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล บริษัทจำกัด เป็นต้น หรือจัดตั้งขึ้นเพื่อทำกิจกรรมที่ไม่ต้องการหาผลกำไรร่วมกัน เช่น สมาคม มูลนิธิ องค์การสงเคราะห์ เป็นต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 65 มาตรา 66 และมาตรา 67

     2. นิติบุคคลในกฎหมายมหาชน เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายเฉพาะ มีการออกกฎหมายมารองรับและอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายมหาชน เช่น มหาวิทยาลัยของรัฐ กระทรวง ทบวง กรม องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหาส่วนตำบล องค์การรัฐบาล วัด เป็นต้น

ทั้งนี้นิติบุคลในกฎหมายมหาชนจะมีสิทธิ อำนาจหน้าที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยจะมีมากหรือน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายที่กำกับไว้ เช่น กระทรวงมีอำนาจมากกว่ากรม เป็นต้น และนิติบุคคลในกฎหมายมหาชนจะมีอำนาจพิเศษบางอย่างในทางปกครองซึ่งนิติบุคคลที่เป็นเอกชนไม่สามารถทำได้ เช่น การเก็บภาษี การเวนคืนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น 

การเลิกนิติบุคคล

     1. นิติบุคคลในกฎหมายเอกชน เลิกได้ด้วยการทำตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้

     2. นิติบุคคลในกฎหมายมหาชน ต้องมีการออกกฎหมายยกเลิกโดยเฉพาะ ว่ากันง่าย ๆ ก็คือจัดตั้งก็ต้องออกกฎหมาย จะเลิกก็ต้องออกกฎหมาย ถ้าไม่มีการออกกฎหมายมารองรับก็จัดตั้งหรือยุบเลิกนิติบุคคลไม่ได้

ผู้แทนนิติบุคคล ด้วยความที่นิติบุคคลเป็นองค์กรที่ไม่มีแขนขา ไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง จึงไม่สามารถทำอะไรด้วยตัวเองเหมือนบุคคลธรรมดาได้ ดังนั้นนิติบุคคลจึงต้องมีผู้แทนนิติบุคคล เพื่อให้นิติบุคคลทำสิ่งต่าง ๆ ผ่านผู้แทนของนิติบุคคล เช่น กรรมการบริษัทเป็นผู้แทนของบริษัท เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัด อธิการบดีเป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัย เป็นต้น 

     มาตรา 70  นิติบุคคลต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคน  ทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งจะได้กำหนดไว้
     ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล
Facebook
Twitter
LinkedIn

รู้หรือไม่?! คุณสามารถฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »