1

JusThat

บิดานอกกฎหมาย คือใคร
แตกต่างกับบิดาผู้ให้กำเนิดยังไง

บิดานอกกฎหมายในอีกความหมายหนึ่งที่ทุกคนเข้าใจ คือ บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นพ่อแต่ไม่มีความผูกพันทางกฎหมายกับลูก เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับแม่ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนกันการสมรสนั้นจึงไม่ได้รับรองโดยกฎหมาย ทำให้ลูกที่เกิดมาเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของแม่เท่านั้น ส่วนพ่อกฎหมายจัดให้เป็นคนนอกที่ไม่มีสิทธิหน้าที่อะไรต่อลูกเลย

แม้จะมีการรับรองบุตรโดยพฤตินัย ส่งเสียอุปการะเลี้ยงดู ให้ใช้นามสกุล ยกย่องเป็นลูกออกหน้าออกตา ก็ไม่ทำให้ลูกเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของพ่อ ขณะเดียวกันพ่อก็ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของลูกเช่นกัน

     มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

บิดานอกกฎหมาย แต่เป็นพ่อโดยสายเลือด

3 สิ่งที่จะเปลี่ยนบิดานอกกฎหมายให้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย

ถ้าพ่อต้องการเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและให้ลูกเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของตัวเอง พ่อต้องทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 3 ข้อนี้

  1. จดทะเบียนรับรองบุตร (ผูกพันลูกไม่ผูกพันแม่) 
  2. จดทะเบียนสมรสกับแม่หลังลูกเกิด (ผูกพันทั้งลูกและแม่)
  3. ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย (ผูกพันลูกไม่ผูกพันแม่)

     มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

Facebook
Twitter
LinkedIn

พ่อแม่หย่าร้างกันก่อนลูกเกิด ทำให้พ่อเป็นบิดานอกกฎหมายหรือไม่

ถ้าพ่อแม่เคยจดทะเบียนสมรสกันแล้วหย่าร้างกัน หรือพ่อเสียชีวิต หรือศาลเพิกถอนการสมรส ลูกที่เกิดมาระหว่าง 310 วันนับแต่การสมรสสิ้นสุดลงจะถือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของแม่ และให้สันนิษฐานว่าลูกเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของพ่อ

     มาตรา 1536  เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี

     ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่บุตรที่เกิดจากหญิงก่อนที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ หรือภายในระยะเวลาสามร้อยสิบวันนับแต่วันนั้น

แต่ถ้ายังไม่ครบ 310 วันแล้วแม่ไปจดทะเบียนสมรสกับสามีคนใหม่ กรณีนี้ต้องดูว่ามีข้อใดใน 3 ข้อนี้หรือไม่

  1. ศาลมีคำสั่งให้สมรสใหม่ได้
  2. มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ก่อนไปสมรสใหม่
  3. คลอดลูกแล้วก่อนที่จะไปสมรสใหม่ (คลอดหลังการสมรสสิ้นสุดและก่อนสมรสใหม่)

ถ้าไม่มีข้อใดใน 3 ข้อนี้เลย และแม่ไปจดทะเบียนสมรสใหม่แล้วคลอดลูกทั้งที่ยังไม่พ้นกำหนด 310 วันนับแต่การสมรสสิ้นสุดลง กรณีนี้กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ลูกที่เกิดมาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีคนใหม่ ไม่ใช่ของสามีคนเก่า

ยกเว้นศาลมีคำพิพากษาว่าลูกไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฏหมายของสามีคนใหม่ จึงจะสันนิษฐานว่าลูกเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายของสามีคนเก่าได้

     มาตรา 1453  หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่

            (1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น

            (2) สมรสกับคู่สมรสเดิม

            (3) มีใบรับรองแพทย์ ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์ หรือ

            (4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

     มาตรา 1537  ในกรณีที่หญิงทำการสมรสใหม่นั้นเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1453 และคลอดบุตรภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กที่เกิดแต่หญิงนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่ และห้ามมิให้นำข้อสันนิษฐานในมาตรา 1536 ที่ว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีเดิมมาใช้บังคับ ทั้งนี้ เว้นแต่มีคำพิพากษาของศาลแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่นั้น 

ที่กฎหมายต้องห้ามไม่ให้ผู้หญิงสมรสใหม่ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขก่อนครบกำหนด 310 วัน เพราะระยะเวลา 180 – 310 วัน เป็นระยะเวลาที่ผู้หญิงอาจมีการตั้งครรภ์กับสามีคนเก่า หรืออาจไปตั้งครรภ์กับสามีคนใหม่ก็ได้ กฎหมายจึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีคนใหม่ ในกรณีที่สมรสใหม่โดยไม่เข้าเงื่อนไขและคลอดลูกภายใน 310 วัน 

สรุปได้ว่าพ่อจะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของลูกหรือไม่ และลูกจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของพ่อหรือไม่ ต้องดู 5 ข้อนี้

  1. ลูกเกิดมาในระหว่างที่พ่อแม่สมรสกัน 
  2. ลูกเกิดมาในระหว่าง 310 วันนับแต่การสมรสสิ้นสุดลง และแม่ไม่ได้สมรสใหม่ภายในกำหนด 310 วันนับแต่การสมรสสิ้นสุดลง
  3. ลูกเกิดมาแล้วพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน
  4. ลูกเกิดมาแล้วพ่อจดทะเบียนรับรองบุตร
  5. ศาลมีคำสั่งให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

แต่ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขใน 5 ข้อนี้เลย แม้จะเป็นพ่อแท้ ๆ มีสายเลือดเดียวกัน DNA ตรงกัน และมีการรับรองโดยพฤตินัย คือ ให้การศึกษา อบรม เลี้ยงดู ให้ใช้นามสกุล เปิดเผยว่าเป็นลูกของตัวเอง ก็ไม่นับว่าพ่อเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของลูก และลูกก็ไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของพ่อด้วย 

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »