1

JusThat

คดีแพ่ง
คืออะไร

ต้องการใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย แต่พอไปแจ้งความตำรวจบอกว่าเป็นคดีแพ่ง ดำเนินคดีให้ไม่ได้ แล้วคดีแพ่งคืออะไรกันละ ?

คดีแพ่ง เป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของคน 2 ฝ่าย ที่ผิดสัญญากันหรือต้องการโต้แย้งสิทธิ หน้าที่กัน หรือเป็นคดีที่มีการร้องขอต่อศาลให้ศาลรับรองสิทธิบางอย่างให้

เราจึงมักได้ยินคำว่า อย่างมากก็แค่จ่ายเงินจะกลัวอะไรกับคดีแพ่ง แพ้คดีก็แค่จ่ายเงินไม่ได้ติดคุกซะหน่อย! จากปากลูกหนี้ เพราะการรับผิดทางแพ่งไม่มีโทษปรับ จำคุก กักขัง ริบทรัพย์สิน ประหารชีวิตเหมือนคดีอาญา แต่ในความเป็นจริงการถูกฟ้องร้องจะทำให้เสียมากกว่าเงิน เช่น เวลา โอกาสต่าง ๆ อีก มากมาย ยิ่งถูกฟ้องแล้วต้องรับสภาพหนี้ก้อนโตจากดอกเบี้ยและค่าปรับด้วยแล้ว ก็อาจทำให้ชีวิตลำบากไม่ต่างกับการติดคุกเลยก็ได้ และการละเมิดคนอื่นจนได้รับความเสียหายก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ

คดีแพ่ง
มีกี่ประเภท

คดีแพ่งมีทั้งคดีที่ขอให้อีกฝ่ายชดใช้เงิน คืนของ จ่ายค่าเสียหายต่าง ๆ หรือต้องการให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราจะเรียกคดีแบบนี้ว่า คดีมีข้อพิพาท และสำหรับคดีที่ไม่มีคู่ความเราจะเรียกว่า คดีไม่มีข้อพิพาท

1. คดีมีข้อพิพาท จะมีคู่ความฝ่ายหนึ่งคือ “โจทก์” เป็นฝ่ายที่ยื่นคำฟ้อง อีกฝ่ายคือ “จำเลย” เป็นฝ่ายที่ถูกฟ้อง 

คดีมีข้อพิพาทจะฟ้องได้ต่อเมื่อมีการทำให้เกิดความเสียหาย หรือกระทบกับสิทธิที่เราจะต้องได้รับตามกฎหมาย หรือเรียกง่าย ๆ ว่าฟ้องเพื่อเรียกร้องสิทธิที่มีตามกฎหมายของตัวเอง ฟ้องเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทำตามหน้าที่ตัวเอง ต่างฝ่ายต่างมีสิทธิ์ในการโต้แย้ง สืบหาความจริง เพื่อให้ศาลตัดสินว่าต้องชดใช้ให้กันมากน้อยแค่ไหน ต้องชดใช้ยังไงบ้างตามกฎหมายแพ่ง เช่น

2. คดีไม่มีข้อพิพาท เป็นคดีที่จะต้องร้องขอให้ตัวเองมีสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งจากศาล

เพื่อให้มีการรับรองสิทธิที่ว่าตามกฎหมาย จะได้มีอำนาจในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้ คดีแบบนี้ไม่มีคู่ความ แต่ถ้ามีคนยื่นขอคัดค้านภายในวันนัดใต่สวน ก็จะกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทได้เหมือนกัน เช่น

  • ขอเป็นผู้จัดการมรดก
  • ขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์
  • ขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์
  • ขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือสาบสูญ
  • ขอแสดงสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์
  • ขอสิทธิการเลี้ยงดูบุตร

คดีแพ่ง
แจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีไม่ได้

คดีเล็ก ๆ แค่นี้ทำไมตำรวจช่วยไม่ได้ แล้วจะมีตำรวจไว้ทำไมเปลืองภาษีเปล่า ๆ เวลามีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจหรือได้รับความเสียหาย ใคร ๆ ก็มักบอกว่าไปแจ้งความเลย จับเข้าคุกเลย และที่พึ่งที่เข้าถึงง่ายที่สุดคือตำรวจ หลายคนจึงตรงดิ่งไปโรงพักอย่างรวดเร็ว

แต่พอได้คุยกับเจ้าหน้าที่สอบสวนไปสักพัก กลับได้ยินคำว่านี่เป็นคดีแพ่งนะ ต้องไปฟ้องศาลเอาเอง ทำให้เกิดอาการหน้าชาขึ้นมาทันที แล้วฉันมาทำอะไรอยู่ที่นี่ เสียเวลามาทำไม โมโหก็โมโห ยังต้องมาหงุดหงิดที่ตำรวจไม่รับดำเนินคดีให้อีก แต่ใจเย็น ๆ ก่อน เพราะเรา…

  • แจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีทางแพ่งไม่ได้ 
  • ตำรวจมีหน้าที่รับผิดชอบคดีอาญา 
  • หรือคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาเท่านั้น 

แปลว่าถ้าอยากจะเรียกร้องค่าเสียหายด้วยการแจ้งความกับตำรวจ ความผิดนั้นต้องเกิดจากการทำผิดทางอาญาเท่านั้น ถ้าไม่ใช่ความผิดที่มีโทษทางอาญาตำรวจรับดำเนินคดีให้ไม่ได้นะ

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

คดีแพ่ง
มีอายุความนานแค่ไหน

ก่อนจะฟ้องคดีแพ่งต้องดูอายุความให้แน่ใจ เพราะแต่ละคดีมีอายุความแตกต่างกันไปแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ได้ฟ้องหรือร้องขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ ก็จะเสียสิทธิ์ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้อีก ลูกหนี้มีสิทธิปฎิเสธที่จะไม่จ่ายหนี้เพราะขาดอายุความได้ และจะยืดระยะเวลาอายุความออกไปหรือย่นเวลาให้สั้นลงก็ไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดไว้แล้วเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย 

เรื่องที่เกิดมานานแล้ว เช่น จ่ายหนี้คืนเพื่อนไปหมดแล้ว แต่ 20 ปีต่อมาเกิดมีปัญหากันเพื่อนเลยไปฟ้องศาลว่ายังไม่จ่ายหนี้คืน แบบนี้ก็จะทำให้ลูกหนี้ต้องลำบากในการหาหรือรักษาหลักฐานเอาไว้นานเกินไป เพราะหลักฐานบางอย่างอาจสูญหายไปหรือเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ทำให้ยากต่อการพิสูจน์ความจริง จึงมีการกำหนดอายุความคดีแพ่งไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

1. อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 และมาตรา 193/35 

เช่น 

  • ฟ้องเรียกค่าจ้าง 
  • ฟ้องเรียกเงินที่พนักงานจ่ายไปก่อนแล้วนายจ้างไม่ยอมจ่ายคืน
  • ฟ้องเรียกค่าจ้างออกแบบ เขียนแบบ
  • ฟ้องเรียกเงินค่าส่งสินค้า
  • ฟ้องเรียกค่าเช่า

2. อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33  

เช่น

  • ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างจ่าย
  • ฟ้องให้จ่ายหนี้ที่ผ่อนเป็นงวด
  • ฟ้องให้จ่ายค่าผ่อนสินค้า
  • ฟ้องเรียกเงินบำนาญ ค่าเลี้ยงดู

3. อายุความ 10 ปี  ตามมาตรา 193/30 มาตรา 193/31 และมาตรา193/32

เช่น

  • คดีที่ไม่มีกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ
  • คดีภาษีย้อนหลัง
  • คดีที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดหรือมีการประนีประนอมยอมความ

คดีแพ่ง
ฟ้องยังไง ที่ไหน

ถ้าต้องการเรียกร้องสิทธิของตัวเอง เราต้องเสนอคดีไปที่ศาลในพื้นที่ที่เกิดเรื่องนั้น ๆ หรือตามที่อยู่ของฝ่ายที่ละเมิดเราแล้วแต่กรณี ถ้าเราไปฟ้องหรือร้องขอต่อศาลที่ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีที่เราฟ้องไป ศาลก็จะรับฟ้องไว้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ทำให้ต้องเสียเวลาไปมาหลายรอบและเสียเงินมากกว่าเดิม โดยคนที่เราจะฟ้องให้เป็นจำเลยได้ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล 

  • คดีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ยื่นฟ้องต่อศาลที่อสังหา ฯ นั้นตั้งอยู่ หรือตามที่อยู่ของจำเลย
  • คดีเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคล เช่น หนี้เงินกู้ หนี้ค่าจ้าง หนี้บัตรเครดิต ต้องยื่นฟ้องต่อศาลในพื้นที่ที่เกิดเรื่องขึ้น หรือตามที่อยู่ของจำเลย
  • คำขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ยื่นคำร้องขอต่อศาลในพื้นที่ตามที่อยู่ของเจ้ามรดกก่อนตาย

การฟ้องคดีแพ่ง ทุกคนสามารถฟ้องได้ด้วยตัวเองเนื่องจากไม่มีการกำหนดเอาไว้ว่าต้องมีทนายความถึงจะฟ้องและดำเนินคดีได้ ถ้าสามารถดำเนินคดีเองได้ก็ต่อสู้คดีโดยไม่จำเป็นต้องมีทนายความ  แต่ถ้าเราไม่รู้วิธีดำเนินคดีหรือไม่มั่นใจเรื่องข้อกฎหมายก็อาจตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบได้ การขอคำปรึกษา เตรียมพยานหลักฐานให้พร้อมก่อนฟ้องจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ เพราะคดีแพ่งเป็นคดีที่ตัดสินแพ้ชนะตามพยานเอกสารและพยานวัตถุเป็นหลัก ส่วนพยานบุคคลจะเป็นพยานที่มีความสำคัญรองลงมา

คดีแพ่ง
ผิดสัญญาต้องฟ้องศาล

หลายคนคงเคยเจอคนผิดสัญญา สัญญาแล้วทำไม่ได้ จ่ายหนี้จนจะหมดแล้วไม่จ่ายต่อ รับงานไปทำแล้วทำไม่เสร็จ ซื้อของออนไลน์แล้วแม่ค้าส่งผิด ปรึกษาใครเขาก็บอกเป็นการฉ้อโกง ให้ไปแจ้งความไว้ก่อน แต่พอไปถึงตำรวจกลับบอกว่าเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง ให้จ้างทนายฟ้องศาล เพราะตำรวจทำให้ไม่ได้ 

เรื่องแบบนี้ใคร ๆ ก็พลาดกันได้ ในเมื่อเป็นการผิดสัญญา จึงต้องดำเนินคดีตามแบบคดีแพ่ง ต้องยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเพื่อให้ได้รับชำระหนี้ หรือค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การรวบรวมพยานหลักฐานที่เรามีเพื่อพิสูจน์ความจริงก็เป็นสิ่งสำคัญ และการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ของตัวเองก็เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดด้วยนะ

คดีแพ่งที่เราให้บริการ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี้

คดีแพ่งผิดสัญญาทั่วไป

JusThat – รู้โอกาสแพ้ชนะ
ฟ้องแล้วคุ้ม? ภายใน 5 นาที

1

Bangkok, Thailand 
Line @justhatapp