1

JusThat

4 ข้อสำคัญต้องรู้
ก่อนยื่นขอตั้งผู้จัดการมรดก

เมื่อมีใครคนใดคนหนึ่งเสียชีวิตจากไป ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตายจะกลายเป็นมรดกตกทอดไปที่ทายาท บทความนี้ JusThat  จะมาแชร์ 4 ข้อสำคัญที่ต้องรู้ก่อนยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก จะมีอะไรบ้างอ่านต่อด้านล่างได้เลย

1. ทายาท หรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก หรืออัยการเท่านั้นที่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก

“ทายาท” ในที่นี้นับรวมทั้งทายาทโดยธรรมและทายาทโดยพินัยกรรม ซึ่งต้องดูเป็นกรณีไปว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้หรือไม่ ถ้าทำพินัยกรรมไว้ก่อนตาย ทายาทโดยพินัยกรรมก็สามารถยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก แต่ถ้าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ก็มีแต่ทายาทโดยธรรมที่สามารถยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้

ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก คือ ผู้ที่ได้รับประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์มรดกนั้นตั้งแต่เจ้ามรดกตาย ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นทายาทหรือไม่ก็ตาม

  • ผู้สืบสิทธิจากทายาท เช่น A เป็นลูกของ B ผู้เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก แต่ B ตายก่อนที่จะได้รับการแบ่งมรดก A จะมีสิทธิสืบสิทธิของ B ต่อได้
  • ผู้รับมรดกแทนที่ เช่น C เป็นลูกของ O ผู้เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก และ O ตายก่อนเจ้ามรดก C ลูกของ O จึงมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่ O
  • สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมีทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกัน เช่น ซื้อบ้านด้วยกัน ซื้อรถด้วยกัน 
  • ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม กรณีเจ้ามรดกตั้งผู้จัดการมรดกโดยระบุไว้ในพินัยกรรม
  • ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ซึ่งเป็นทายาท
  • เจ้าหนี้ โดยปกติแล้วเจ้าหนี้ไม่มีฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก แต่กรณีกองมรดกไม่มีทายาทเลยทั้งทายาทโดยธรรมและทายาทโดยพินัยกรรม กองมรดกทั้งหมดจะตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1753 แต่ด้วยความที่แผ่นดินไม่ใช่ทายาทที่ระบุไว้ตามมาตรา 1603 เจ้าหนี้จึงไม่มีสามารถบังคับชำระหนี้ได้จนกว่าจะมีผู้จัดการมรดก ดังนั้น กรณีนี้จึงเป็นข้อยกเว้นให้เจ้าหนี้มีฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้

พนักงานอัยการ ประชาชนสามารถยื่นคำร้องให้อัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลจัดตั้งผู้จัดการมรดกได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย (ยกเว้น ค่าธรรมเนียมศาล) โดยไปที่สำนักงานอัยการจังหวัด กรณีจัดการมรดกของคนต่างชาติในประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ

4 ข้อสำคัญต้องรู้ ก่อนยื่นขอตั้งผู้จัดการมรดก

2. ต้องมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก จึงจะยื่นขอตั้งผู้จัดการมรดกได้

ถ้าแบ่งมรดกได้ลงตัวการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกก็ไม่จำเป็น แต่กรณีที่ไม่สามารถแบ่งมรดกกันได้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด สิ่งสุดท้ายที่จะทำให้ทุกอย่างลงตัวได้ก็คือการมีผู้จัดการมรดก โดยต้องบรรยายเหตุในคำร้องว่าขัดข้องยังไง มีที่มาที่ไปยังไง ทำไมจึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดก ซึ่งเหตุขัดข้องนี้จะต้องเป็นไปตามมาตรา 1713 แห่งประมวลหมายแพ่งและพาณิชย์

     มาตรา 1713  ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
     (1)  เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
     (2)  เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
     (3)  เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ

การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

3. ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นผู้จัดการมรดกต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย

ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้จะต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718

  • มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (บรรลุนิติภาวะ)
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
  • ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย

     มาตรา 1718 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
     (1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
     (2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
     (3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย

4. เขตอำนาจศาลในการยื่นขอตั้งผู้จัดการมรดก

การยื่นขอตั้งผู้จัดการมรดกต้องยื่นให้ถูกศาลด้วยนะ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลขณะเสียชีวิต แต่ถ้าเจ้ามรดกไม่ภูมิลำเนาในไทยขณะเสียชีวิตต้องไปยื่นต่อศาลที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่แทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 จัตวา

     มาตรา 4 จัตวา คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล
Facebook
Twitter
LinkedIn

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »