มีเรื่องร้อนใจ ไม่ได้รับความเป็นธรรมแต่ไม่รู้จะปรึกษาใคร หลายคนก็นึกถึงทนายอาสา บางคนมีภาพจำว่าทนายอาสา คือทนายปรึกษาฟรี ทนายทำคดีฟรี ให้ความช่วยเหลือฟรีตามสื่อโซเชี่ยลต่าง ๆ แต่ความจริงแล้วทนายอาสาคือใคร ช่วยอะไรเราได้บ้าง เราจะมาไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กัน
ทนายอาสา คือ ทนายความที่เป็นอาสาสมัคร ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาทางกฎหมายกับประชาชนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พวกเขาจะขึ้นทะเบียนเป็นทนายอาสากับหน่วยงานต้นสังกัด เช่น สภาทนายความ ศาล หรือสำนักงานอัยการ เพื่อคอยให้คำปรึกษา แนะนำวิธีดำเนินการ การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทางกฎหมาย ว่าต้องทำยังไง แนวทางไหนเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม หรืออยากจะทำสัญญาต่าง ๆ แต่ไม่มั่นใจข้อกฎหมายและมีเงินไม่มากพอที่จะว่าจ้างทนายความให้ร่างสัญญาให้ หรืออยากปรึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดในสัญญา ก็สามารถขอความช่วยเหลือจากทนายอาสาได้
จะปรึกษาทนายอาสาก็ไม่ใช่ว่าจะทำได้ทันที ทุกเมื่อทุกเวลา หรือที่ไหนก็ได้ เพราะพวกเขาจะมีเวรให้คำปรึกษา และอยู่ประจำจุดที่ให้บริการเท่านั้นนะ
ที่นี่จะมีทนายอาสาอยู่เวรคอยให้คำปรึกษาประชาชนที่มาขอความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นบริการที่ดีมาก ๆ เพราะประชาชนจะได้รับความช่วยเหลือฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ต้องมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ของพ.ร.บ. ทนายความ มาตรา 78 ที่กำหนดไว้ว่า “ประชาชนผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายต้องเป็นผู้ยากไร้ และไม่ได้รับความเป็นธรรม” แปลว่า ถ้าเราไม่ได้รับความเป็นธรรมทางใดทางหนึ่ง และไม่มีเงินมากพอที่จะเข้าถึงบริการทางกฎหมาย ก็สามารถไปขอความช่วยเหลือในจุดนี้ได้นั่นเอง
จะมีทนายอาสานั่งเวรให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ทางกฎหมายเหมือนกัน ถ้าไปแล้วไม่รู้ว่าต้องไปตรงไหน ก็สามารถถามเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจทางเข้าได้ หรือมองหาป้ายทนายอาสาก็เจอได้ไม่ยาก โดยปกติโต๊ะให้คำปรึกษาของทนายอาสา จะอยู่ใกล้กับจุดประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนมองเห็นได้ง่ายที่สุด
มีทนายอาสารอให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย การดำเนินการเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมแบบไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 ข้อ 11
ทนายอาสาที่เราไปพบที่ศาล สภาทนายความ หรือสำนักงานอัยการ สามารถให้คำปรึกษาฟรีกับเราทันทีที่ไปพบได้ แต่ทนายอาสารับทำคดีฟรีเองไม่ได้ หรือติดต่อมาขอว่าความเองทีหลังก็ไม่ได้เหมือนกัน
ถ้าคุณมีฐานะยากจน ไม่มีเงินจ้างทนายความและไม่ได้รับความเป็นธรรม สำนักงานคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความ จะส่งทนายอาสามาดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ตามกฎหมายให้ฟรี ตามพรบ.ทนายความ มาตรา 79 ซึ่งกำหนดให้มีการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ดังนี้
มีหลักเกณฑ์เหมือนกับสภาทนายความ คือ จะต้องยากจน ไม่มีเงินจ้างทนายความ และไม่ได้รับความเป็นธรรมเหมือนกัน
ทำไมปรึกษาทนายอาสาแล้วเขาไม่ฟ้องให้เลย ? ทำไมต้องยุ่งยากไปยื่นเรื่อง ? ทนายที่ให้คำปรึกษาอยู่ทั่วไปว่าความฟรีไม่ได้เหรอ ? หลายคนคงมีคำถามแบบนี้อยู่ในใจใช่ไหม…
จริง ๆ แล้วมีข้อบังคับอยู่นะว่าห้ามให้ทนายว่าความฟรี เพราะจะเป็นการทำลายอาชีพของเพื่อนทนายความด้วยกัน ซึ่งการว่าความแต่ละครั้งมีการดำเนินการหลายขั้นตอน ใช้ระยะเวลานานพอสมควร และทนายความถือเป็นวิชาชีพหนึ่งที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถหาเงินเพื่อนำมาใช้ดำรงชีวิตเหมือนคนทั่วไป ดังนั้นการว่าความฟรีของทนายอาสาจึงต้องมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมาก ๆ ไม่ใช่ใครก็ทำได้โดยพละการ
ลองคิดดูว่าถ้าเราทำงานแล้วมีคนบอกว่าคนนั้นทำฟรี คนนี้ทำฟรี ทำไมเราไม่ทำฟรีบ้าง ยิ่งมีคนทำฟรีเยอะ ๆ อาชีพของเราก็จะถูกทำลายเหมือนกันเพราะใคร ๆ ก็ต้องกิน ต้องใช้ตามปัจจัยสี่ใช่ไหมละ
ทนายอาสาให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายฟรีแล้วเขาเอาเงินจากไหนไปใช้ดำรงชีวิต ? แล้วทนายความที่รัฐจัดหาให้เวลาเป็นจำเลยเป็นทนายอาสาเหมือนกันไหม ?
หน่วยงานต้นสังกัดจะเป็นผู้จัดสรรค่าตอบแทนให้กับทนายอาสา ดังนั้นทนายอาสาจะเรียกเก็บเงินจากประชาชนที่มารับบริการไม่ได้เด็ดขาด ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย พ.ศ. 2529 ข้อ 16 ที่ว่า “ประชาชนผู้ได้รับความช่วยเหลือไม่ต้องเสียค่าทนายความ หรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ให้แก่ทนายความผู้ดำเนินการทั้งสิ้น”
ทนายขอแรงจะช่วยแก้ต่างให้ได้รับความเป็นธรรม เขาจะได้รับเงินรางวัลจากศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บังคับให้รัฐต้องจัดหาทนายความให้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการจ้างทนายความ ซึ่งทนายขอแรงจะขึ้นทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ศาลตามอายุใบอนุญาตหรืออายุตั๋วทนาย และเมื่อถูกแต่งตั้งแล้วพวกเขาปฏิเสธการรับหน้าที่ไม่ได้ ยกเว้นแต่จะมีเหตุผลที่สมควรเท่านั้น
ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ จะมีทนายความเปิดบล๊อกขึ้นมาเพื่อให้คนที่มีปัญหาเข้าไปสอบถาม หรือให้ความรู้ประชาชนผ่าน YouTube Facebook หรือสื่อโซเชี่ยลต่าง ๆ แต่ทนายความก็มีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตเหมือนคนทั่ว ๆ ไป ดังนั้นเขาจะรับว่าความฟรีไม่ได้ และเขาจะได้รับค่าจ้างจากลูกความ ซึ่งถือว่าลูกความเป็นผู้ว่าจ้างนั่นเอง
รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา
การขอความช่วยเหลือจากทนายอาสาไม่ว่าจะเป็นการขอคำปรึกษา ร่างสัญญาต่าง ๆ หรือว่าความ จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ถ้ามีการขึ้นศาลเราต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตามที่ศาลกำหนดเอง เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าคำร้อง ค่าใบแต่งทนายความ และอื่น ๆ
แต่ถ้าไม่มีเงินค่าธรรมเนียมเลยจริง ๆ และต้องพึ่งพากระบวนการทางกฎหมายเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากสายด่วนยุติธรรม โทร 1111 กด 77 (ตลอด 24 ชม.) ก็จะมีบริการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
แต่ไม่ว่ายังไงการขอความช่วยเหลือก็มีหลักเกณฑ์ที่เข้มงวด เพื่อให้คนที่เดือดร้อนและไม่มีเงินจริง ๆ ได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม หากไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ก็ยังสามารถฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องมีทนายความดำเนินการให้เท่านั้นจึงจะฟ้องศาลได้ ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง เช่น กู้ยืมเงิน ผิดสัญญาทางแพ่ง ผิดสัญญาซื้อขาย ลูกค้าเอาของไปแล้วไม่จ่ายเงิน ปล่อยเช่าแล้วเก็บค่าเช่าไม่ได้ หรือคดีอาญา เช่น ถูกฉ้อโกง ถูกหมื่นประมาทหรือดูหมิ่นซึ่งหน้า เพียงแต่ว่าหากเราไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินการหรือไม่มั่นใจข้อกฎหมาย การมีที่ปรึกษาหรือผู้ดำเนินการยื่นฟ้อง เตรียมพยานหลักฐาน เอกสารต่าง ๆ ให้ก็เป็นทางเลือกที่สะดวกเช่นกัน
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp