1

JusThat

ทำให้ผู้อื่นฆ่าตัวตาย ต้องรับโทษอย่างไร ?

ใคร ๆ ก็รักชีวิตของตัวเองและคงไม่มีใครอยากตาย แต่ทำไมเราจึงพบเห็นคนตัดสินใจจบชีวิตของตัวเองลงอยู่เรื่อยไป การฆ่าตัวตายอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด แต่สำหรับบางคนนั่นอาจเป็นทางเลือกเดียวที่เขามีในขณะนั้น

การฆ่าตัวตายไม่ใช่การคิดสั้นหรืออารมณ์ชั่ววูบ

กว่าจะลงมือฆ่าตัวตายพวกเขาคิดแล้วคิดอีก ทบทวนซ้ำไปซ้ำมากก่อนจะลงมือทำ

ผู้ที่ทำให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายมีความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 292

เพราะวินาทีที่ฆ่าตัวตายไม่ใช่จุดเริ่มต้นของการจากไป

ผู้ที่ฆ่าตัวตายบางคนอาจคิดทบทวนมานานหลายปี ว่าการตายของตัวเองจะทำให้เขาพ้นจากความทุกข์ที่พบเจออยู่หรือไม่ หรือจะทำให้ใครมีความสุขมากขึ้นหรือเปล่า ซึ่งหากมองด้วยตาเปล่าในมุมมองของคนทั่วไปเราก็คงไม่อาจเข้าใจได้ และปัจจัยในการฆ่าตัวตายของแต่ละคนนั้นมีที่มาแตกต่างกัน การรับฟังโดยไม่ตัดสินจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยเหลือผู้ที่คิดจะฆ่าตัวตายได้

เพราะผู้ที่จะฆ่าตัวตายนั้นผ่านการเดินทางจากจุดเริ่มต้นของความเจ็บปวดอันไกลแสนไกลมาแล้ว เมื่อวันหนึ่งที่เขาหมดแรงและรู้สึกแบกรับไม่ไหว หรือมีคนคอยขว้างปาขวากหนามซ้ำเข้าไป ก็อาจทำให้เขาตัดสินใจนำความเข้มแข็งที่เหลืออยู่ออกมาใช้นั่นก็คือการฆ่าตัวตายเพื่อปล่อยให้ตัวเองโบยบินจากไป

การฆ่าตัวตาย ป้องกันได้ เมื่อมีคนเข้าใจอยู่ข้าง ๆ

เนื่องจากสถานพยาบาลแต่ละที่มีการตีความมาตรา 21 พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 ในเรื่องของการให้ความยินยอมที่แตกต่างกัน ทำให้เมื่อมีผู้ปกครองจำนวนหนึ่งไม่ยินยอมให้บุตรหลานของตนเองเข้ารับการรักษา เด็กและเยาวชนที่อายุไม่เกิน 18 ปีที่อยู่ในความปกครองเหล่านั้นจึงไม่ได้รับความช่วยเหลือตั้งแต่ต้น ส่งผลให้พวกเขาต้องต่อสู้กับความทุกข์ที่พบเจอเพียงลำพัง

เมื่อบางครั้งปัญหาก็มาจากครอบครัว และไม่สามารถพึ่งพาครอบครัวได้ จึงต้องหันหน้าเขาหาผู้อื่น เช่น เพื่อน ครู คนรู้จักบนสื่อออนไลน์ เป็นต้น แต่หากพวกเขาสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ได้ ปัญหาที่พวกเขาพบเจออยู่ก็จะได้รับการแก้ไขและคลี่คลายตั้งแต่ต้นทาง

มาตรา 21 การบำบัดรักษาจะกระทําได้ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับการอธิบาย เหตุผลความจำเป็นในการบำบัดรักษา รายละเอียดและประโยชน์ของการบำบัดรักษาและได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย เว้นแต่เป็นผู้ป่วยตามมาตรา 22 

ถ้าต้องรับผู้ป่วยไว้ในสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบําบัดรักษา ความยินยอมตามวรรคหนึ่งต้องทําเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อผู้ป่วยเป็นสําคัญ

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถ ในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบําบัดรักษา ให้คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้น แล้วแต่กรณี เป็นผู้ให้ความยินยอมตามวรรคสองแทน

หนังสือให้ความยินยอมตามวรรคสองและวรรคสาม ให้เป็นไปตามแบบ ที่คณะกรรมการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เมื่อพิจารณาตามความในวรรคแรก จะพบว่าเด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ก็สามารถ walk-in เข้าไปขอรับคำปรึกษา (counselling) จากจิตแพทย์ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ครอง และจิตแพทย์สามารถให้คำปรึกษากับเด็กได้เลย ซึ่งไม่ขัดกับ พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 ส่วนการให้ผู้ปกครองยินยอมนั้นใช้เฉพาะกรณีที่โรงพยาบาลต้องรับเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าแอดมิทในสถานพยาบาลเท่านั้น

ทำให้ผู้อื่นฆ่าตัวตาย มีโทษทั้งจำคุกและโดนปรับ

โดยปกติแล้วการฆ่าตัวตายไม่มีความผิด ไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย เพราะเป็นการกระทำต่อตนเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ทำให้ผู้อื่นตัดสินใจฆ่าตัวตายจะไม่มีความผิด และไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย

มาตรา 292 ผู้ใดกระทำด้วยการปฏิบัติอันทารุณ หรือด้วยปัจจัยคล้ายคลึงกันแก่บุคคลซึ่งต้องพึ่งตน ในการดำรงชีพหรือในการอื่นใด เพื่อให้บุคคลนั้นฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้นหรือได้มีการพยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท

ซึ่งความผิดในมาตรานี้เป็นการทําทารุณต่อผู้ที่อยู่ในอุปการะ จนเป็นเหตุให้บุคคลที่อยู่ในอุปการะฆ่าหรือพยายามฆ่าตัวตาย  และจะต้องมีเจตนาให้บุคคลดังกล่าวฆ่าตัวตายจึงจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 292

เช่น ผู้ปกครองไม่ยอมพานาย A ไปพบหมอเพื่อรักษาอาการป่วย เพื่อให้นาย A ทนความเจ็บป่วยไม่ไหวแล้วพยายามฆ่าตัวตาย 

หรือ ผู้ปกครองของนางสาว B ชอบทุบตี ด่าทอ ไล่ให้นางสาว B ไปฆ่าตัวตาย จนนางสาว B รู้สึกว่าตายไปยังดีกว่าทนอยู่ในสภาพแบบนี้จึงลงมือฆ่าตัวตาย เป็นต้น

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

ดราม่า ปังชา ว่าด้วยเรื่อง เครื่องหมายการค้า

“ปังชา” คำนี้ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ ดราม่า #ปังชา ว่าด้วยเรื่อง เครื่องหมายการค้า กลายเป็นประเด็นร้อนในโซเชี่ยลเพียงชั่วข้ามคืนกับ #ปังชา ว่าด้ว

Read More »
สิ่งที่ลูกจ้างรายวันต้องรู้และนายจ้างต้องเข้าใจ

กฎหมายแรงงาน ลูกจ้างรายวันต้องรู้ นายจ้างต้องเข้าใจ

กฎหมายแรงงาน ลูกจ้างรายวันต้องรู้ นายจ้างต้องเข้าใจ เป็นลูกจ้างรายวันลาป่วยไม่ได้เงิน ลูกจ้างรายวันทำงานวันไหนก็ได้เงินแค่วันนั้น ลูกจ้างรายวันไม่ใช่พ

Read More »