1

JusThat

คำเตือน อย่าวางมัดจำเช่าบ้าน เช่าคอนโด ก่อนเซ็นหนังสือสัญญาเช่า

การเช่าบ้าน เช่าคอนโดเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่อยากอยู่ที่เดิมไปนาน ๆ ยังต้องการเปลี่ยนสถานที่ทำงานไปเรื่อย ๆ ยังไม่อยากรับภาระในการผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโดที่ใช้ระยะเวลานานเป็น 10 – 20 ปี หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ จึงเลือกเช่าบ้าน เช่าคอนโดเป็นที่พักอาศัยแทน และในบทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางเงินมัดจำเพื่อเช่าบ้าน เช่าคอนโด โดยที่ผู้เช่ายังไม่เซ็นหนังสือสัญญา และมีการพูดคุยตกลงกันด้วยปากเปล่าเท่านั้น

ทำไม JusThat ต้องเตือนไม่ให้วางเงินมัดจำก่อนเซ็นหนังสือสัญญาเช่า ลองอ่านบทความนี้ให้จบ แล้วมาดูกันว่าสิ่งที่คุณคิดและสิ่งที่ JusThat เตือนจะเหมือนกันหรือไม่

ทำไมต้องเห็นรายละเอียดในหนังสือสัญญาก่อนวางมัดจำเช่าบ้าน เช่าคอนโด

คำพูดคนเปลี่ยนแปลงไปมาได้ ลองนึกถึงเหตุการณ์ที่คุณไปเจอบ้านหลังหนึ่งที่คุณชอบมาก ๆ และกลัวว่าคนอื่นจะแย่งเช่าตัดหน้าคุณไป คุณจึงคุยกับเจ้าของบ้านตกลงทุกอย่างกันแบบปากเปล่า แล้ววางเงินมัดจำทันทีในวันนั้นเลย

แต่เมื่อคุณจะย้ายเข้าไปอยู่พร้อมจะจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้ และคุณถามหาสัญญาเช่าที่จะทำต่อกัน ปรากฎว่าเจ้าของบ้านนำสัญญาที่มีรายละเอียดแตกต่างจากที่เคยคุยตกลงกันมาให้คุณเซ็น คำถามคือ คุณจะยอมเซ็นสัญญาตามที่เจ้าของบ้านต้องการหรือไม่ ถ้าคุณไม่ยอมและเจ้าของบ้านไม่ยอมแก้ไขสัญญาให้เป็นไปตามที่คุยกันไว้ สัญญาเช่าบ้านระหว่างคุณและเจ้าของบ้านก็ยังไม่เกิด ทำให้คุณย้ายเข้าไปในบ้านหลังนั้นไม่ได้ถ้าเจ้าของบ้านไม่อนุญาต
นอกจากคุณจะมีปัญหาในการย้ายเข้าแล้ว คุณยังอาจมีปัญหาในการย้ายออกด้วย กรณีที่คุณแจ้งเลิกสัญญาเช่ากับที่เก่าแล้ว คุณก็จำเป็นต้องย้ายออกเมื่อสิ้นสุดสัญญา ถ้าเจ้าของที่เก่ายังไม่ปล่อยเช่าให้คนใหม่ คุณก็อาจต่อรองขอเช่าต่อไปได้ แต่ถ้าเจ้าของปล่อยเช่าให้คนอื่นไปแล้ว แบบนี้คุณอาจต้องลำบากไปหาที่อยู่ใหม่ชั่วคราวไปก่อนจนกว่าจะมีที่ที่คุณต้องการอยู่ต่อไปได้
และชีวิตคุณอาจจะยากขึ้นไปอีก ถ้าคุณนำเงินที่มีเกือบทั้งหมดไปวางมัดจำไว้แล้ว เพราะคุณอาจจะไม่มีเงินมากพอที่จะนำไปจ่ายมัดจำ ค่าประกัน และค่าเช่าล่วงหน้าของที่อื่นได้อีก ทำให้คุณต้องสร้างภาระหนี้สินเพิ่มโดยการไปกู้ยืมเงินคนอื่น ใช้บริการบัตรกดเงินสด หรืออาจต้องนำเงินเก็บฉุกเฉินออกมาใช้จ่ายไปก่อน แม้ว่าคุณจะสามารถเรียกเงินมัดจำที่จ่ายไปคืนมาได้ในภายหลัง แต่คุณต้องเสียเวลา เสียโอกาสต่าง ๆ ไปมากพอสมควรกว่าจะได้เงินคืนมาจากเจ้าของบ้านที่พูดแล้วไม่ทำ

     มาตรา 366 ข้อความใด ๆ แห่งสัญญาอันคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้น หากคู่สัญญายังไม่ตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใด เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกัน การที่ได้ทำความเข้าใจกันไว้เฉพาะบางสิ่งบางอย่าง ถึงแม้ว่าจะได้จดลงไว้ก็หาเป็นการผูกพันไม่
     ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ

Facebook
Twitter
LinkedIn

ย้ายเข้าไปอยู่แล้วแต่เจ้าของไม่ยอมมาทำสัญญา อย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า การเช่าบ้าน เช่าคอนโด เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือที่มีลายเซ็นของฝ่ายที่ต้องรับผิด ถ้าไม่มีหลักฐานที่ว่าก็จะไปฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิตามสัญญาต่อกันไม่ได้ จะไปฟ้องร้องกันให้อีกฝ่ายทำตามที่พูดคุยตกลงกันไม่ได้

กรณีย้ายเข้าไปอยู่แล้วจ่ายค่าเช่าทุกเดือน แต่เจ้าของบ้านไม่ได้มาทำสัญญา ไม่มีการออกใบเสร็จรับเงินที่มีลายเซ็นให้ พออยู่ไปอยู่มาก็โดนแจ้งให้ย้ายออกกะทันหัน กรณีนี้ผู้เช่าจะต้องย้ายออกตามกำหนดที่อีกฝ่ายแจ้ง เพราะผู้เช่าเข้าไปอยู่ในบ้านได้โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของบ้าน เจ้าของอนุญาตให้อยู่จึงอาศัยอยู่ได้ ไม่ใช่อยู่ในบ้านได้โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า

ถ้าเจ้าของบ้านให้ออกแล้วไม่ยอมออก เจ้าของบ้านก็สามารถไปฟ้องขับไล่ได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวกันล่วงหน้า เพราะการเช่าอสังหาริมทรัพย์แบบปากเปล่า ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 566 ที่จะต้องมีการบอกเลิกสัญญากันล่วงหน้าอย่างน้อย 1 งวดการชำระค่าเช่า และเจ้าของบ้านยังสามารถเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดได้ด้วย

แตกต่างจากการเช่าบ้าน เช่าคอนโด เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือที่มีลายเซ็นของฝ่ายที่ต้องรับผิด ซึ่งเจ้าของหรือผู้ให้เช่าต้องรอให้ครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาก่อน หรือมีการบอกเลิกสัญญาอย่างถูกต้องตามกฎหมายก่อนจึงจะสามารถฟ้องขับไล่ผู้เช่าได้

     มาตรา 538 เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไป หรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าไซร้ หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปี

     มาตรา 566 ถ้ากำหนดเวลาเช่าไม่ปรากฏในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้ไซร้ ท่านว่าคู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเช่าในขณะเมื่อสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าก็ได้ทุกระยะ แต่ต้องบอกกล่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ตัวก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อยแต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสองเดือน

จ่ายมัดจำไปแล้ว อีกฝ่ายเงียบหาย เพราะเจ้าของบ้าน คอนโด หรือผู้มีสิทธิ์นำบ้านหรือคอนโดมาปล่อยเช่าไม่ได้ต้องการให้คุณเช่าจริง ๆ เช่น เจ้าของบ้านปล่อยเช่าบ้าน 1 หลังและได้เงินมัดจำจากคนอื่นแล้ว แต่ยังอยากได้เงินมัดจำอีกจึงประกาศปล่อยเช่าต่อ และเก็บเงินมัดจำไปจากคุณด้วย หรือได้เงินมัดจำไปจากคุณแล้ว แต่เห็นโอกาสปล่อยเช่าให้คนอื่นได้แพงกว่า เจ้าของหรือผู้มีสิทธิให้เช่าจึงนำบ้านหรือคอนโดนั้นไปให้คนอื่นเช่าแทน หรือไม่ได้ปล่อยเช่าให้คนอื่นเลย แต่เปลี่ยนใจไม่อยากให้เช่าแล้วแต่ไม่ยอมติดต่อมาคืนเงิน

ถ้าคุณเจอแบบนี้ JusThat ต้องบอกเลยว่า งานเข้าคุณแล้วแบบจัง ๆ เนื่องจากคุณไม่มีสัญญาเช่า หรือไม่มีหลักฐานอื่นใดเป็นหนังสือที่จะสามารถนำไปใช้ยันกับอีกฝ่ายได้ คุณจึงอ้างสิทธิตามสัญญาเช่าไม่ได้ เมื่ออ้างไม่ได้ก็เท่ากับว่าคุณจะย้ายเข้าไปในบ้านหลังนั้นหรือคอนโดห้องนั้นไม่ได้ ถ้าเจ้าของไม่อนุญาตให้เข้าอยู่ และแน่นอนว่าคุณจะไปขอสิทธิการเข้าอยู่ หรือไปขอกุญแจเปิดประตูจากใคร ในเมื่ออีกฝ่ายเงียบหายไป หรือปล่อยบ้าน ปล่อยคอนโดให้คนอื่นเข้าอยู่ไปแล้ว

รู้แบบนี้แล้ว ต้องเตือนตัวเองไว้เสมอนะว่า ห้ามลืมดูรายละเอียดในสัญญาเช่าให้ดี และอย่าลืมทำสัญญาเช่าก่อนวางเงินมัดจำเช่าบ้าน เช่าคอนโด เช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้าคุณดูรายละเอียดในสัญญาแล้วยังมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน คุณก็ยังมีโอกาสแก้ไขข้อตกลงในสัญญาให้เรียบร้อยก่อนวางเงินมัดจำได้

และคุณจะไม่เสียเวลาและโอกาสต่าง ๆ ไปกับการตามเอาเงินของตัวเองคืน ในกรณีที่เจ้าของบ้านหรือคอนโดมาเปลี่ยนข้อตกลงที่คุยกันไว้ในภายหลัง นอกจากนี้การมีสัญญาเช่า หรือหลักฐานการเช่าอื่นใด เช่น ใบเสร็จรับเงินที่มีลายเซ็นของอีกฝ่ายเก็บไว้กับตัวยังช่วยให้คุณสามารถอ้างสิทธิต่าง ๆ ตามสัญญาเช่าได้ และป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายมาเอาเปรียบคุณได้ง่าย ๆ อีกด้วย

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »