1

JusThat

เจาะลึกมรดกไม่มีพินัยกรรม บุตรบุญธรรมรับมรดกแทนที่ไม่ได้

สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน ในบทความนี้ JusThat จะพาทุกท่านมาอ่านข้อมูลเกี่ยวกับการรับมรดกแทนที่ของบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมรับมรดกแทนที่ได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ

การรับมรดกแทนที่ คือ การที่ผู้สืบสันดานโดยตรงของทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกเข้าไปรับมรดกแทนที่ เนื่องจากทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกตายก่อนเจ้ามรดก หรือถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกก่อนที่เจ้ามรดกตาย

บุตรบุญธรรมรับมรดกแทนที่พ่อหรือแม่บุญธรรมของตัวเองไม่ได้ แต่บุตรของบุตรบุญธรรมสามารถรับมรดกแทนที่พ่อหรือแม่ของตัวเองที่เป็นบุตรบุญธรรมได้

บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง หรือไม่

ผู้สืบสันดานโดยตรงคือใคร

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ผู้สืบสันดานชั้นบุตร(ลูก) มี 3 ประเภท คือ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดาใด้รับรอง และบุตรบุญธรรม 

    มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

ส่วนผู้สืบสันดานโดยตรงมีบรรทัดฐานตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2540 และ 773/2528 ผู้สืบสันดานโดยตรง หมายถึง ผู้สืบสันดานที่สืบสายเลือดแท้ ๆ ซึ่งก็คือ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและบุตรนอกกฎหมายที่บิดาใด้รับรองแล้ว ซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้ผู้สืบสันดานโดยตรงเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาหรือมารดาของตัวเองได้ แปลว่า บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่พ่อบุญธรรมหรือแม่บุญธรรมของตัวเอง 

     มาตรา 1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

อ่านถึงตรงนี้แล้วอย่าเพิ่งสับสนกับสิทธิรับมรดกจากพ่อบุญธรรมหรือแม่บุญธรรมนะ เพราะสิทธิ 2 อย่างนี้เป็นคนละอย่างกัน ว่าง่าย ๆ ก็คือ บุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกจากพ่อแม่บุญธรรมของตัวเองในฐานะผู้สืบสันดาน (ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629

แต่บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่พ่อบุญธรรมหรือแม่บุญธรรมของตัวเอง เพราะบุตรบุญธรรมไม่ใช่ลูกที่สืบสายเลือดโดยตรงจากพ่อบุญธรรมหรือแม่บุญธรรม

Facebook
Twitter
LinkedIn

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา บุตรบุญธรรมรับมรดกแทนที่

เพื่อให้ทุกท่านมองเห็นภาพมากยิ่งขึ้น JusThat จะขอยกตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ มาให้ได้อ่านกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2540  

     ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1643 ที่กำหนดให้สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรงนั้น หมายความถึงผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตอันแท้จริงเท่านั้น ส่วนบุตรบุญธรรม แม้ ป.พ.พ. มาตรา 1627 จะให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม ก็หมายความเพียงว่า บุตรบุญธรรมเป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(1) และมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น หามีผลทำให้บุตรบุญธรรมมสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยไม่ เพราะไม่ใช่เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1643 

     ดังนั้นเมื่อผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของ จ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก และ จ. ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดกแล้วเช่นนี้ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ จ. ได้ เพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของ จ. ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกในอันที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดกรมรดกของเจ้ามรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1713

บุตรของบุตรบุญธรรมสามารถรับมรดกแทนที่พ่อแม่ของตัวเองได้

อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาจบแล้วบางท่านอาจมีข้อสงสัยว่า บุตรบุญธรรมรับมรดกแทนที่ไม่ได้ แต่ถ้าบุตรบุญธรรมตายหรือถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย บุตรแท้ ๆ ของบุตรบุญธรรมจะรับมรดกแทนที่บุตรบุญธรรมได้หรือไม่ จะตอบว่าได้หรือไม่ได้ ต้องย้อนกลับไปดูก่อนว่าบุตรแท้ ๆ ที่ว่าเป็นผู้สืบสันดานของบุตรบุญธรรมหรือไม่ โดยต้องพิจารณาว่าเป็น 1. บุตรชอบด้วยกฎหมาย 2. บุตรนอกกฎหมายที่บิดาให้การรับรอง(กรณีรับมรดกแทนที่พ่อ) ถ้าเป็นบุตรที่มีคุณสมบัติ 1 ใน 2 ข้อนี้ก็สามารถรับมรดกแทนที่พ่อหรือแม่ของตัวเองที่เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกได้

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »
การจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย การจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้นจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1495 ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียสามารถยกขึ้นกล่าวอ้างว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะ หรือยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1497 เมื่อศาลได้พิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะแล้ว ความเป็นโมฆะนั้นก็จะมีผลย้อนกลับไปนับตั้งแต่มีการจดทะเบียนสมรสนั้น จึงเท่ากับว่า การสมรสซ้อนไม่มีผลมาตั้งแต่แรกนั่นเอง

จดทะเบียนสมรสซ้อน มีผลเท่ากับ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

จดทะเบียนสมรสซ้อน มีผลเท่ากับ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส นี่ก็ปี 2023 แล้ว ยังจะมีใครไปจดทะเบียนสมรสซ้อนกันได้อีกเหรอ ในปัจจุบันการจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นสิ่งท

Read More »
ยื่นคำยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกออนไลน์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ขอตั้งผู้จัดการมรดกออนไลน์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกออนไลน์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง การยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) เป็นทางเลือกหนึ่งที่คู่คว

Read More »