1

JusThat

จะคิดดอกเบี้ยกู้ยืมเงินยังไง ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญา

การกู้ยืมเงินจากธนาคาร ไฟแนนซ์ บัตรเครดิต จะมีการกำหนดและคำนวนอัตราดอกเบี้ยให้เลยเสร็จสรรพ คนกู้ก็ไม่ต้องกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยที่จะโดนเรียกเก็บคือเท่าไหร่ สามารถสำรองเงินไว้จ่ายได้เลย  แต่สำหรับบางคนนั้นก็ไม่สามารถขอกู้เงินจากสถบันการเงินได้ ด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันออกไปหลากหลายเหตุผล จึงต้องกู้ยืมเงินจากคนรอบตัวในยามเดือดร้อนจำเป็นต้องใช้เงิน เช่น ยืมเงินเพื่อน พี่น้อง ญาติ คนรู้จักกัน แต่บางครั้งก็ไม่ได้ตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ ว่าจะให้คิดดอกเบี้ยเท่าไหร่ รู้เพียงแต่ว่าตามกฎหมายไม่ให้เรียกเกิน 15% ต่อปี พอจะมีการเก็บดอกเบี้ยกันก็เปิดปัญหาว่าไม่ได้บอกว่าจะให้เท่าไหร่ แล้วจะมาเรียกดอกเบี้ยได้ยังไง 

ไม่ได้กำหนดดอกเบี้ยกู้ยืมเงินเรียกทีหลังได้แค่ 3% ต่อปี

JusThat จะพาทุกคนไปเปิดข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยเงินกู้  ไม่ได้ตกลงว่าจะให้แล้วจะเรียกดอกเบี้ยได้หรือเปล่า ตกลงว่าให้คิดดอกเบี้ยแต่ไม่ได้กำหนดว่าเท่าไหร่ แบบนี้จะเรียกได้ร้อยละเท่าไหร่ต่อปี  ถ้ามีการผิดนัดคนกู้ไปไม่ยอมจ่ายคืนจะทำอะไรได้ JusThat รวบรวมคำตอบมาไว้ให้ในบทความนี้แล้ว

กู้ยืมเงินไม่ได้ตกลงว่าจะให้ดอกเบี้ย เรียกดอกเบี้ยไม่ได้

ตกลงกันไว้ว่าไม่ให้เรียกดอกเบี้ย หรือไม่ได้บอกว่าจะให้ดอกเบี้ย แบบนี้จะต้องเป็นไปตามข้อตกลง จะเรียกดอกเบี้ยไม่ได้นะ แต่ถ้าถึงกำหนดจ่ายคืน แล้วทวงหนี้ไม่ได้ จะสามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้ 5% ต่อปีของเงินต้นตามป.พ.พ.มาตรา 224

เช่น ให้กู้ยืมเงินไปจำนวน 3,000 บาท ไม่ได้ตกลงกันว่าจะเรียกดอกเบี้ย ก็เรียกเงินต้นคืนได้ 3,000 บาท และเรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้ 150 บาท ต่อปี  ถ้าเลยวันนัดมาแล้ว 45 วัน ก็เอา 150 หาร 365 วัน แล้วคูณ 45 วัน จะได้ดอกเบี้ยผิดนัดเท่ากับ 18.49 บาท

กู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดดอกเบี้ย เรียกได้ 3% ต่อปี

ในกรณีที่มีการตกลงกันไว้ว่าจะให้ดอกเบี้ย แต่ไม่ได้กำหนดว่าจะคิดในอัตราเท่าไหร่ ตามกฎหมายจะสามารถเรียกได้ 3% ต่อปีนะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ที่ระบุไว้ว่า “ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละ 3 ต่อปี”

อ่านถึงตรงนี้หลายคนอาจค้านอยู่ในใจว่าต้องเรียก 7.5% ต่อปีไม่ใช่เหรอ ? ตามเดิมแล้วสามารถเรียก 7.5% ต่อปีได้นะ แต่เมื่อปี 2564 ได้มีการยกเลิกอัตราดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และให้ใช้เป็น 3% ต่อปีแทน ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 

ดังนั้น หากกู้ยืมเงินกันก่อนวันที่ 10 เมษายน 2564 และไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้จะสามารถเรียกดอกเบี้ยได้ 7.5% ต่อปี จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และเรียกได้ 3% ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 

เช่น กู้ยืมเงินกัน 100,000 บาท เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563 ในสัญญาบอกว่าคิดดอกเบี้ยแต่ไม่ได้เขียนไว้ว่าเท่าไหร่ จะเรียกดอกเบี้ยได้ 7,500 บาทต่อปี แต่พอเข้าปีที่ 2 จะเรียกดอกเบี้ยได้ 3,000 บาทต่อปี ถ้าไม่ครบปีก็คิดเป็นวัน โดยนำดอกเบี้ยทั้งปีไปหาร 365 วัน แล้วคูณจำนวนวันที่ต้องการคิดดอกเบี้ยเข้าไปก็จะได้จำนวนดอกเบี้ยที่ต้องการ

และถ้าหากถึงกำหนดต้องคืนแล้วทวงเงินไม่ได้ เจ้าหนี้ก็จะสามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ 5% ต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 ที่บอกให้คิดดอกเบี้ยผิดนัดตามมาตรา 7+2 จะได้ 5% ต่อปีนั่นเอง แต่ดอกเบี้ยผิดนัดตามมาตรานี้ไม่ได้เป็นบรรทัดฐานว่าจะเรียกมากกว่านี้ไม่ได้นะ หากกู้ยืมเงินกันแล้วตกลงว่าถ้าผิดนัดจะให้คิดดอกเบี้ยผิดนัดมากกว่า 5% ต่อปีก็สามารถทำได้ เพราะการกำหนดแบบนี้จะถือเป็นเบี้ยปรับ  เช่น ถ้าผิดนัดผู้กู้จะให้ดอกเบี้ยผู้กู้ 15% ต่อปี เป็นต้น

กู้ยืมเงิน ทวงไม่ได้ทำยังไงดี

ตอนยืมก็หน้าเศร้ามาหา แต่พอต้องคืนกลับทำหน้าบึ้งตึงใส่เจ้าหนี้ หากหมดหนทางที่จะทวงแล้วก็ต้องส่งโนติส เพื่อให้ลูกหนี้ยอมคืน แต่ถ้ายังไม่ยอมคืนอีกก็ใช้โนติสที่ส่งไปเป็นหลักฐานในชั้นศาลได้ ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการสืบพยานในคดีแพ่ง 

และในการฟ้องศาลหากจำนวนเงินที่กู้ยืมไม่เกิน 2,000 บาท ก็ไม่จำเป็นต้องมีหนังสือสัญญาก็สามารถฟ้องศาลให้อีกฝ่ายจ่ายหนี้ได้ แต่ถ้ากู้ยืมเงินมากกว่า 2,000 จึงจำเป็นต้องมีหนังสือสัญญา แต่หากไม่มีหนังสือสัญญากู้ยืมเงินก็ควรมีหลักฐานอื่น ๆ  เช่น แชทกู้ยืมเงิน กระดาษที่เขียนจำนวนเงินที่กู้ยืม วันที่ที่ยืมไป มีลายมือชื่อคนยืม ลายมือชื่อคนให้ยืม แบบก็เป็นหนังสือสัญญาเช่นกัน เพราะสัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญาไม่มีแบบไม่จำเป็นต้องทำตามแบบฟอร์มเป๊ะ ๆ ก็บังคับใช้ตามกฎหมายได้นะ

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »