1

JusThat

กู้ยืมเงิน วิธีคิดดอกเบี้ย 15% ต่อปี

เวลาหมุนเงินไม่ทันก็คงต้องกู้ยืมก่อน ฝ่ายคนให้กู้ยืมเงินก็อาจคิดหรือไม่คิดดอกเบี้ยก็ได้ ซึ่งจะกำหนดดอกเบี้ยกันเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับคู่สัญญาจะตกลงกันแต่ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี เพราะหากคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยที่จะได้รับก็จะตกเป็นโมฆะทั้งหมด  เนื่องจากการคิดดอกเบี้ยเกิน 15% ต่อปี ถือเป็นการละเมิดกฎหมายและมีความผิดอาญา ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 ดังนั้น เวลากู้ยืมเงินคู่สัญญาต้องตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันให้ดีนะ 

คิดดอกเบี้ยกู้ยืมเงินเกินอัตรา 15% ต่อปี ดอกเบี้ยจะตกเป็นโมฆะทั้งหมด เจ้าหนี้เรียกคืนได้แค่เงินต้น

สำหรับการคำนวณดอกเบี้ยเราจะคิดเป็นร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ก็คือเศษส่วนที่มีส่วนเป็น 100 

เช่น คิดดอกเบี้ยกู้ยืมเงินเต็มอัตรา 15% ต่อปี นั่นก็เท่ากับว่าจะได้รับดอกเบี้ย 15 บาทในเงินทุก ๆ 100 บาท หรือ 15 ส่วนจาก 100 ส่วนต่อปีนั่นเอง

เวลาเราคิดดอกเบี้ย จึงต้องเอาเงินต้นคูณกับเลขเปอร์เซ็นของดอกเบี้ยที่หารด้วย 100

ตัวอย่างที่ 1  กู้ยืมเงิน 1,000 บาท คิดดอกเบี้ย 15% ต่อปี 

วิธีคิดดอกเบี้ย (1,000 x 15)/100 = 150 

ได้ดอกเบี้ย 150 บาทต่อปี

ตัวอย่างที่ 2 กู้ยืมเงิน 30,000 บาท คิดดอกเบี้ย 10% ต่อปี 

วิธีคิดดอกเบี้ย (30,000 x 10)/100 = 3,000

ได้ดอกเบี้ย 3,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างที่ 3 กู้ยืมเงิน 90,000 บาท คิดดอกเบี้ย 15% ต่อปี 

วิธีคิดดอกเบี้ย (90,000 x 15)/100 = 13,500

ได้ดอกเบี้ย 13,500 บาทต่อปี

กู้ยืมเงิน วิธีคิดดอกเบี้ยที่ไม่ได้กำหนดไว้

ปกติเวลาทำสัญญากู้ยืมเงินกันต่างฝ่ายต่างก็ต้องตกลงกันเรื่องดอกเบี้ยเอาไว้ แต่บางครั้งก็อาจตกลงไว้เพียงว่าจะให้ดอกเบี้ย แต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ซึ่งกรณีแบบนี้เจ้าหนี้จะสามารถเรียกดอกเบี้ยได้ 3% ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ที่ระบุไว้ว่า “ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละ 3 ต่อปี

ตัวอย่างเช่น A ให้ B กู้ยืมเงิน 50,000 บาท ตกลงกันว่าจะให้ดอกเบี้ยแต่ไม่ได้บอกว่าเท่าไหร่ A จึงคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ให้ B กู้ยืมได้ 3% ต่อปี

วิธีคิดดอกเบี้ย (50,000 x 3)/100 = 1,500

ได้ดอกเบี้ย 1,500 บาทต่อปี

วิธีคิดดอกเบี้ยกู้ยืมเงิน 15% ต่อปี

กู้ยืมเงิน ห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้นทบดอก

หลายคนคงเคยเจอการเก็บดอกเบี้ยแบบทบต้นทบดอกกันมาบ้าง เจ้าหนี้บางคนก็ให้กู้แบบขูดเลือดขูดเนื้อ หรือลูกหนี้บางคนก็ทำเป็นไม่สนใจแม้กระทั่งเรื่องดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นทบดอกจึงมีให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ ในสังคม ซึ่งมีทั้งกรณีที่กฎหมายอนุญาตให้ทบได้และทบไม่ได้ จะมีอะไรบ้าง เรามาดูกัน

  • ไม่ได้ตกลงกันไว้ให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างมาทบเข้ากับเงินต้น กรณีนี้เจ้าหนี้จะเอาดอกเบี้ยมาทบกับเงินต้นไม่ได้เด็ดขาด
  • ตกลงให้เอาดอกเบี้ยมาทบกับเงินต้นได้ทันทีที่ผิดนัดชำระดอกเบี้ย กรณีนี้ข้อตกลงเรื่องการทบดอกเบี้ยกับเงินต้นตกเป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นข้อตกลงที่ละเมิดกฎหมาย เจ้าหนี้ไม่สามารถนำดอกเบี้ยมาทบเข้ากับเงินต้นได้เช่นกัน
  • ตกลงให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปีมาทบเข้ากับเงินต้นได้ กรณีนี้เจ้าหนี้สามารถนำดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ค้างชำระเกิน 1 ปีมาทบกับเงินต้นได้ 

เช่น เงินต้น 10,000 บาท คิดดอกเบี้ย 15% ต่อปี ลูกหนี้ยังไม่เคยจ่ายเงินต้นและมีดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 1 ปี จำนวน 1,500 บาท เจ้าหนี้จะสามารถนำเงินทั้งสองก้อนมาทบกันได้ ดอกเบี้ยที่ค้างชำระก็ไม่มีแล้ว เพราะถูกนำไปรวมเป็นเงินต้นจำนวน 11,500 บาท เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ดอกเบี้ยที่จะเรียกได้ก็จะเป็น 1,725 บาทต่อปี

มาตรา 655 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงเช่นนั้นต้องทำเป็นหนังสือ

ส่วนประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกทบต้นในบัญชีเดินสะพัดก็ดี ในการค้าขายอย่างอื่นทำนองเช่นว่านี้ก็ดี หาอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติซึ่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไม่

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »