รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
การให้กู้ยืมเงินโดยต้องมีผู้ค้ำประกันเป็นช่องทางหนึ่งที่เจ้าหนี้มักจะนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ถ้าลูกหนี้ไม่มีเงินจ่ายเจ้าหนี้ก็ยังขอให้ผู้ค้ำประกันจ่ายได้ หรือบางกรณีผู้ค้ำประกันอาจนำเงินมาชำระหนี้แทนลูกหนี้เองเลย เพราะไม่อยากให้เจ้าหนี้ตามทวงไปที่ตัวเอง
สำหรับบทความนี้ JusThat จะเล่าเกี่ยวกับกรณีให้กู้ยืมเงินโดยมีผู้ค้ำประกัน และต่อมาผู้ค้ำประกันได้นำเงินบางส่วนมาชำระหนี้แทนลูกหนี้แล้ว กรณีนี้เจ้าหนี้จะฟ้องเรียกเงินส่วนที่เหลือจากใครได้บ้างระหว่างลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน หรือจะฟ้องได้แต่ลูกหนี้เพียงคนเดียว บทความนี้มีคำตอบ
ในการกู้ยืมเงินคนที่เป็น “ผู้กู้” จะมีฐานะเป็น “ลูกหนี้ชั้นต้น” และ “ผู้ค้ำประกัน” จะมีฐานะเป็นเพียง “ลูกหนี้ชั้นสอง” ซึ่งโดยปกติแล้วเจ้าหนี้จะต้องขอบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้ชั้นต้นก่อน แต่บางกรณีลูกหนี้ชั้นต้นก็ไม่มีเงิน หรือไม่มีทรัพย์สินมากพอที่จะขายเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ หรือที่แย่กว่านั้นคือทำเป็นไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย เพื่อให้ผู้ค้ำประกันที่เป็นลูกหนี้ชั้นสองจ่ายหนี้แทน
กรณีที่ผู้ค้ำประกันนำเงินมาชำระหนี้บางส่วนแล้วและเจ้าหนี้ก็ปลดหนี้ให้ผู้ค้ำประกันด้วย ผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันจะหลุดพ้นจากการรับผิดชอบทั้งหมด ดังนั้นเจ้าจึงสามารถฟ้องได้แค่ลูกหนี้ชั้นต้นเท่านั้น จะไปฟ้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ด้วยไม่ได้
ตัวอย่าง
A ให้ B กู้ยืมเงินจำนวน 1 ล้านบาท โดยมี C กับ D เป็นผู้ค้ำประกัน (C กับ D เป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน) มีการทำสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันถูกต้องทุกอย่าง ต่อมา A ได้รับชำระหนี้จาก C จำนวน 250,000 บาท จาก D จำนวน 50,000 บาท รวมเป็น 300,000 บาท A เห็นว่า C จ่ายเงินมาเยอะแล้วเลยทำหนังสือปลดหนี้ให้ C
เนื่องจากการค้ำประกันของ D เป็นการค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันกับ C ทำให้ D มีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ C ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรค 2
มาตรา 682 ท่านว่าบุคคลจะยอมเข้าเป็นผู้รับเรือน คือเป็นประกันของผู้ค้ำประกันอีกชั้นหนึ่ง ก็เป็นได้
ถ้าบุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันไซร้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้นมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่าจะมิได้เข้ารับค้ำประกันรวมกัน
เมื่อ C ได้รับการปลดหนี้ D ที่เป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ C ก็ได้รับการปลดหนี้ไปด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 340 และมาตรา 293 ทำให้ A ไม่สามารถฟ้องคดีแพ่งให้ D ชำระหนี้ได้
มาตรา 340 ถ้าเจ้าหนี้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป
ถ้าหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย หรือต้องเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ให้แก่ลูกหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย
มาตรา 293 การปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่น ๆ เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ได้ปลดให้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น
แต่ถึง A จะฟ้อง D ไม่ได้ A ก็ยังสามารถฟ้องคดีแพ่งให้ B ที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นชำระหนี้ส่วนที่ยังไม่ได้รับชำระจำนวน 700,000 บาท ได้ เพราะ B ยังมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้ A ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685
มาตรา 685 ถ้าเมื่อบังคับตามสัญญาค้ำประกันนั้น ผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้ รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน และอุปกรณ์ด้วยไซร้ หนี้ยังเหลืออยู่เท่าใด ท่านว่าลูกหนี้ยังคงรับผิดต่อเจ้าหนี้ในส่วนที่เหลือนั้น
ส่วน C และ D ที่จ่ายหนี้แทนไปจำนวน 250,000 บาท และ 50,000 บาท ก็มีสิทธิไล่เบี้ยให้ B จ่ายหนี้ตัวเองตามที่จ่ายไปก่อนหน้าได้ด้วย เพราะ C และ D ได้รับเอาช่วงสิทธิของ A มาแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693 ถ้า B ไม่ยอมจ่ายหนี้ให้ C และ D ก็มีสิทธิฟ้องศาลเพื่อให้ B จ่ายหนี้ให้ได้เช่นกัน
มาตรา 693 ผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้ว ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น
อนึ่ง ผู้ค้ำประกันย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือลูกหนี้ด้วย
แต่ถ้า C หรือ D มีการทำสัญญากู้ยืมเงินกับ B ขึ้นมาใหม่ เช่น C ทำสัญญาให้ B กู้ยืมเงิน 250,000 บาท หรือ D ทำสัญญาให้ B กู้ยืมเงิน 50,000 บาท กรณีนี้จะเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 วรรค 1 เพราะสาระสำคัญของหนี้ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว สิทธิในการไล่เบี้ยก็จะหมดไปด้วย ดังนั้น C หรือ D ที่ทำสัญญาขึ้นใหม่จะต้องไปฟ้องให้ B จ่ายหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่ทำขึ้นใหม่ จะฟ้องโดยการใช้สิทธิไล่เบี้ยไม่ได้นะ
มาตรา 349 เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ไซร้ ท่านว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่
ถ้าทำหนี้มีเงื่อนไขให้กลายเป็นหนี้ปราศจากเงื่อนไขก็ดี เพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไขก็ดี เปลี่ยนเงื่อนไขก็ดี ท่านถือว่าเป็นอันเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้นั้น
ถ้าแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้อง
จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp