1

JusThat

รู้หรือไม่ นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้ลูกจ้างทำงานจากที่บ้านได้

ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2566 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา มีการเพิ่มเติมมาตรา 23/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เข้าไป โดยให้สิทธินายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกันให้ลูกจ้างนำงานกลับไปทำที่บ้านได้ และรับรองสิทธิของลูกจ้างที่จะปฏิเสธการติดต่อกับนายจ้าง หัวหน้างาน หรือผู้ตรวจงาน หลังเลิกงาน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2566

บทความนี้ JusThat  ชวนทุกคนมาอ่านสาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ มีอะไรบ้าง อ่านต่อด้านล่างได้เลย 

นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกันให้ลูกจ้างนำงานกลับไปทำที่บ้านได้ และรับรองสิทธิของลูกจ้างที่จะปฏิเสธการติดต่อกับนายจ้าง หัวหน้างาน หรือผู้ตรวจงาน หลังเลิกงาน มีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2566

สิทธิของลูกจ้างที่สามารถตกลงกับนายจ้างให้ทำงานจากที่บ้าน ที่พักอาศัย หรือที่อื่นได้

มาตรา 23/1 วรรค 1 เป็นการกำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้ลูกจ้างนำงานกลับไปทำที่บ้าน หรือที่พักอาศัย หรือทำงานผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศจากที่ไหนก็ได้ ( Right to work from home )โดยงานนั้นต้องเป็นงานที่สามารถทำนอกสำนักงาน หรือนอกสถานประกอบกิจการของนายจ้างได้

แต่ถ้าเป็นงานที่จำเป็นต้องทำในสำนักงาน หรือสถานประกอบการเท่านั้น เช่น งานด้านการผลิตอาหาร พนักงานเสิร์ฟ พนักงานทำความสะอาด พนักงานต้อนรับ แคชเชียร์ งานโรงงาน จะไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรานี้ แปลว่า นายจ้างยังสามารถกำหนดสถานที่ทำงานให้ลูกจ้างไปทำงานในสำนักงาน หรือสถานประกอบกิจการได้

สำหรับการตกลงกันให้ลูกจ้างนำงานกลับไปทำที่บ้าน ที่พักอาศัย หรือสถานที่อื่นใด นายจ้างจะต้องเป็นผู้ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ(ทำเป็นเอกสารบนกระดาษ) หรือทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ลูกจ้างและนายจ้างสามารถเข้าถึงได้ และนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายของเนื้อหาไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ทำเป็นเอกสารไฟล์ PDF. และอัปโหลดไว้บนคลาวด์ของที่ทำงาน หรือส่งผ่านอีเมล ผ่านไลน์ให้อีกฝ่าย เป็นต้น (มาตรา 23/1 วรรค 2)

ซึ่งข้อตกลงที่ทำขึ้น อาจมีรายละเอียดตามนี้

  1. ช่วงระยะเวลาเร่ิมต้นและสิ้นสุดการตกลง
  2. วัน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก และการทำงานล่วงเวลา
  3. หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด และการลาประเภทต่าง ๆ
  4. ขอบเขตหน้าที่การทำงานของลูกจ้าง และการควบคุมหรือกำกับการทำงานของนายจ้าง
  5. ภาระหน้าที่เก่ียวกับการจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์การทำงาน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดจากการทำงาน
Facebook
Twitter
LinkedIn

สิทธิของลูกจ้างในการปฏิเสธการติดต่อกับที่ทำงานหลังเลิกงาน

และนอกจากสิทธิที่ลูกจ้างสามารถทำงานจากที่บ้านได้แล้ว การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 23/1 นี้ยังกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิที่จะปฏิเสธการติดต่อกับนายจ้าง หัวหน้างาน หรือผู้ตรวจงาน หลังจากเลิกงานแล้วด้วย ( Right to disconnect )

ซึ่งโดยปกติก็ไม่ควรมีการคุยเรื่องงาน สั่งงานเพิ่มเติมหลังเลิกงานแล้ว เพราะนายจ้างจ่ายเงินเพื่อซื้อเวลา แรงงาน และความสามารถของลูกจ้างในเวลางานเท่านั้น นอกเวลางานจึงเป็นเวลาส่วนตัวที่ลูกจ้างจะไปทำอะไรก็ได้ตามความต้องการของตนเอง แต่ในกรณีที่มีการทำงานจากที่บ้าน หรือที่อื่น ๆ อาจทำให้นายจ้างบางส่วนไม่เคารพเวลาของลูกจ้างแล้วสั่งงาน ตามงาน คุยเรื่องงานนอกเวลา ซึ่งอาจเป็นการไปรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันของลูกจ้างได้

ในมาตรา 23/1 วรรค 3 จึงกำหนดให้ลูกจ้างสามารถปฏิเสธการติดต่อกับที่ทำงานหลังเลิกงานได้ เรียกได้ว่า ถ้าไม่เคารพเวลากันก็ต้องมีกฎหมายออกมาควบคุม แต่ถ้าลูกจ้างได้เซ็นหนังสือยินยอมให้นายจ้างติดต่อหลังเลิกงานได้ กรณีนี้ลูกจ้างจะอ้างสิทธิห้ามไม่ให้นายจ้างติดต่อหลังเลิกงานไม่ได้นะ

สิทธิของลูกจ้างทุกคนต้องเหมือนกัน ไม่ว่าจะทำงานจากที่บ้าน หรือที่ไหน

และสุดท้ายในมาตรา 23/1 วรรค 4 มีการกำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงานจากที่บ้าน ที่พักอาศัย หรือทำงานผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศจากที่อื่น ๆ มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างที่ทำงานในสำนักงาน หรือในสถานประกอบกิจการของนายจ้าง

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »