1

JusThat

ผู้ค้ำประกันใช้หนี้แทน แล้วทำไมลูกหนี้ยังต้องรับผิดชดใช้หนี้ที่มีอยู่

เป็นหนี้อย่าหนี ต้องจ่าย แม้จะมีผู้ค้ำประกันจ่ายหนี้แทนไปแล้ว ลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดชดใช้หนี้ที่มีอยู่เต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ย อ่านแล้วอาจงงและเกิดคำถามว่า ก็ผู้ค้ำจ่ายแทนไปแล้ว แล้วแบบนี้ลูกหนี้ยังต้องชดใช้หนี้อะไรอีกละ ถ้าคุณกำลังสงสัยเดี๋ยว JusThat จะเล่าให้อ่าน

ผู้ค้ำประกันจ่ายหนี้แทนไปแล้ว แบบนี้ลูกหนี้ยังต้องชดใช้หนี้อะไรอีก

สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกัน เพื่อรับประกันแทนลูกหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ กรณีเจ้าหนี้ตามทวง ไล่บี้เอากับลูกหนี้แล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีเงินมาชำระหนี้ ซึ่งสัญญาค้ำประกันนี้ถูกจัดอยู่ในส่วนของสัญญาอุปกรณ์ คือ ต้องมีสัญญาหลักก่อน สัญญาค้ำประกันจึงจะเกิดขึ้นได้

สัญญาประธาน เป็นสัญญาหลักที่ทำขึ้นระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ อาจเป็นสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาว่าจ้างต่าง ๆ และเมื่อทำสัญญากันแล้วจะก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต้องชำระหนี้ต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ 

ตัวอย่าง A กู้ยืมเงิน B จำนวน 200,000 บาท มีการทำสัญญากู้ยืมเงินไว้เป็นหลักฐาน สัญญาส่วนนี้เป็นสัญญาที่ผูกพัน A กับ B เท่านั้น ต่อมา C ได้เข้ามาเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ให้ A โดยทำสัญญาค้ำประกันระหว่าง B และ C ขึ้นมา สัญญาค้ำประกันนี้ก็จะผูกพัน B กับ C เท่านั้น

เวลาผ่านไปเรื่อย ๆ จนถึงกำหนดชำระหนี้ B ก็รอว่าเมื่อไหร่ A จะนำเงินมาคืนตามที่ตกลงกัน แต่รอแล้วรอเล่า A ก็ไม่โผล่มา ส่งโนติสทวงถามไปแล้วก็เงียบ B จึงส่งโนติสไปบอกกล่าวทวงถามให้ C ชำระหนี้แทน A 

ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้ทั้งหมด

  • หนี้ระหว่างเจ้าหนี้-ลูกหนี้ หมดไป
  • ผู้ค้ำประกันรับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ ฟ้องไล่เบี้ยเรียกเงินที่จ่ายไปทั้งหมดจากลูกหนี้ได้เต็มจำนวน
แปลว่า หนี้ของลูกหนี้ไม่ได้หายไปไหน แค่เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากคนหนึ่งมาเป็นอีกคนหนึ่งแทนเท่านั้นเอง

ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้บางส่วน

  • หนี้ระหว่างเจ้าหนี้-ลูกหนี้ เหลืออยู่เท่าส่วนที่ยังไม่ได้รับชำระ
  • ผู้ค้ำประกันรับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ ฟ้องไล่เบี้ยเรียกเงินที่จ่ายไปทั้งหมดจากลูกหนี้ได้เต็มจำนวน
  • เจ้าหนี้ยังมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลืออยู่ได้

จากข้อมูลที่ JusThat ได้อธิบายไปแล้ว ไม่มีทางไหนเลยที่หนี้ของลูกหนี้จะหายไป นอกจากการที่ลูกหนี้จะชำระหนี้ทั้งหมดด้วยตัวเอง เว้นแต่ว่าเจ้าหนี้จะยกหนี้(ปลดหนี้)ให้กับลูกหนี้ ก็คือ ฉันไม่เอา ไม่ทวงแล้ว ยก ๆ ให้ไปเถอะ พร้อมทำลายหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือนั้นทิ้งไป หรือเจ้าหนี้ยินยอมรับชำระหนี้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือไม่เอาแล้วก็ได้ แบบนี้ก็จะถือได้ว่าหนี้ระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้หมดไปเช่นเดียวกัน

และในส่วนของผู้ค้ำประกัน เนื่องจากตัวผู้ค้ำประกันเองก็ไม่ใช่ลูกหนี้โดยตรง ดังนั้น ถ้ามีการจ่ายหนี้แทนไปแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยังสามารถรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยทวงหนี้จากลูกหนี้ได้อยู่ดีนั่นเอง 

Facebook
Twitter
LinkedIn

ค้ำประกัน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ป.พ.พ.มาตรา 682 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกัน

     มาตรา 682 ท่านว่าบุคคลจะยอมเข้าเป็นผู้รับเรือน คือเป็นประกันของผู้ค้ำประกันอีกชั้นหนึ่ง ก็เป็นได้

     ถ้าบุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันไซร้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้นมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่าจะมิได้เข้ารับค้ำประกันรวมกัน

ป.พ.พ.มาตรา 693 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ ให้สิทธิผู้ค้ำประกันไล่เบี้ยลูกหนี้ได้

         มาตรา 693 ผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้วย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น อนึ่ง ผู้ค้ำประกันย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือลูกหนี้ด้วย

ป.พ.พ.มาตรา 685 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ กรณีผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้เพียงบางส่วน

     มาตรา 685 ถ้าเมื่อบังคับตามสัญญาค้ำประกันนั้น ผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนและอุปกรณ์ด้วยไซร้หนี้ยังเหลืออยู่เท่าใด ท่านว่าลูกหนี้ยังคงรับผิดต่อเจ้าหนี้ในส่วนที่เหลือนั้น

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »