1

JusThat

3 เหตุผล เพิกถอนคืนการให้โดยเสน่หา มีอะไรบ้าง มาอ่านกัน

มีใครเคยสงสัยกันไหมว่า ถ้าเราให้ทรัพย์สินกับคนอื่นโดยเสน่หา แล้วต่อมาอยากจะเรียกคืน เราจะสามารถฟ้องคดีแพ่งต่อศาลศาลเพื่อเรียกทรัพย์สินที่ว่านั้นคืนมาจากผู้รับได้หรือไม่ อย่างไร ถ้าคุณกำลังสงสัย บทความนี้ JusThat มีคำตอบ

การให้โดยเสน่หา คือ การมอบทรัพย์สินที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้แก่ผู้รับ โดยเป็นการให้เปล่า ไม่มีค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการให้ที่ผู้ให้ไม่ได้มีหน้าที่จะต้องให้ แต่อยากให้เพราะรัก ให้เพราะความผูกพัน ให้ด้วยความเมตตา เอื้ออาทร ซึ่งการให้โดยเสน่หาเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง คือ สัญญาที่ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนเองให้แก่ผู้รับโดยเสน่หา และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้ ซึ่งจะถอนคืนการให้ไม่ได้ เว้นแต่เข้าข้อกำหนดของกฎหมาย 3 ข้อ นี้

3 เหตุผล ผู้ให้สามารถเรียกคืนการให้ได้ หากผู้รับประพฤติเนรคุณ

  1. ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา หรือ
  2. ผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ
  3. ผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้

      มาตรา 531 อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น ท่านว่าอาจจะเรียกได้แต่เพียงในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้
     (1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาชญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายลักษณะอาชญา หรือ
     (2) ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ
     (3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้

Facebook
Twitter
LinkedIn

ทรัพย์สินที่ให้กันโดยเสน่หา จะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ก็ได้

  1. ให้อสังหาริมทรัพย์โดยเสน่หา เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด อาคารพาณิชย์ สวนผลไม้ เป็นต้น ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
  2. ให้ที่ดินมือเปล่าโดยเสน่หา กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือและไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพียงแค่ส่งมอบสัญญาก็สมบูรณ์ เพราะผู้ให้มีเจตนาสละการครอบครองที่ดินแล้ว
  3. อุทิศที่ดินส่วนตัวให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เช่น ให้ที่ดินทำทางเดินสำหรับเข้าวัด ให้ที่ดินสำหรับทำทางสาธารณะ ถวายที่ดินให้วัด กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เช่นกัน เพราะการให้ย่อมสมบูรณ์ตามเจตนาของผู้อุทิศในทันที

รู้หรือไม่ จะฟ้องขอเพิกถอนคืนการให้ไม่ได้ถ้ามีเหตุ 7 ข้อนี้

  1. ถ้าผู้ให้ได้ให้อภัยผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณแล้ว ผู้ให้จะไม่สามารถเพิกถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณนั้นได้อีก
  2. ผู้ให้ไม่ได้ฟ้องคดีไว้ก่อนตาย ทายาทก็จะฟ้องคดีเพื่อเพิกถอนคืนการให้เองไม่ได้ แต่ถ้าผู้รับฆ่าผู้ให้ตายโดยเจตนาและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือได้กีดกันผู้ให้ไม่ให้ถอนคืนการให้ กรณีนี้ทายาทสามารถฟ้องเพิกถอนคืนการให้ได้ 
  3. เลยกำหนดอายุความ คือ เกิน 6 เดือนนับตั้งแต่ทราบเหตุเนรคุณ หรือเกิน 10 ปีนับตั้งแต่เกิดเหตุเนรคุณนั้นขึ้น 
  4. เป็นการให้เพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงาน (ให้เพื่อเป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้)
  5. ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน
  6. ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ให้ตามหน้าที่ศีลธรรม
  7. ให้ในการสมรส

      มาตรา 532 ทายาทของผู้ให้อาจเรียกให้ถอนคืนการให้ได้แต่เฉพาะในเหตุที่ผู้รับได้ฆ่าผู้ให้ตายโดยเจตนาและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือได้กีดกันผู้ให้ไว้มิให้ถอนคืนการให้
     แต่ว่าผู้ให้ได้ฟ้องคดีไว้แล้วอย่างใดโดยชอบ ทายาทของผู้ให้จะว่าคดีอันนั้นต่อไปก็ได้

     มาตรา 533 เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้นแล้วก็ดี หรือเมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้วหกเดือนนับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้นก็ดี ท่านว่าหาอาจจะถอนคืนการให้ได้ไม่
     อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้น

      มาตรา 535 การให้อันจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าจะถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ คือ
     (1) ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้
     (2) ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน
     (3) ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
     (4) ให้ในการสมรส

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »