1

JusThat

เอกสารปลอม คืออะไร ทำแบบไหนเข้าข่ายความผิดฐานปลอมเอกสาร

ข่าวใช้เอกสารปลอมมีมาให้เห็นได้เรื่อย ๆ ถ้าลองค้นหาดูแล้วก็จะเห็นเว็บไซต์รับทำเอกสารปลอมขึ้นหน้าแรกมามากหน้าหลายตา มีทั้งบริการปลอมเอกสารสิทธิ ปลอมเอกสารราชการ ปลอมวุฒิการศึกษา ปลอมทะเบียนสมรส ปลอมบัตรประจำตัวประชาชน ปลอมเอกสารเบิกจ่ายเงิน ปลอมใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น หรือปลอมพินัยกรรมแย่งมรดกกัน

แล้วเอกสารปลอมคืออะไร ทำแบบไหนจึงจะเรียกว่าปลอมเอกสาร คนทำความผิดฐานปลอมเอกสารจะได้รับโทษอย่างไร อ่านบทความนี้ของ JusThat  แล้วคุณจะได้คำตอบ

เอกสารปลอม คืออะไร

เอกสารปลอม คือ เอกสารที่ถูกทำขึ้นโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจทำ อาจทำโดยการอ้างเป็นผู้มีอำนาจทำแต่ผู้มีอำนาจไม่ได้ทำเอกสารนั้นจริง หรือทำโดยอ้างว่าตัวเองมีอำนาจทำแต่ความจริงแล้วตัวเองไม่มีอำนาจทำ

ตัวอย่าง
A ลงลายมือชื่อของพนักงานบนเอกสารเบิกจ่ายเงินค่าจ้างพนักงาน โดยที่ข้อความบนเอกสารนั้นตรงกับความจริงทุกอย่าง แต่พนักงานคนนั้นไม่ได้เป็นคนลงลายมือชื่อเอง เอกสารที่ A ทำขึ้นจึงเป็นเอกสารปลอม เพราะ A ไม่มีอำนาจเซ็นชื่อของพนักงานและ A แอบอ้างว่าพนักงานคนนั้นเป็นคนเซ็นชื่อเอง 

B ลงลายมือชื่อตัวเองบนใบรับรองการศึกษาของนักเรียน โดยที่ B ไม่ได้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนผู้มีอำนาจลงนาม

หรือ C ไปขอใบเสร็จเปล่าจากโรงแรมมาเขียนเอง โดยเซ็นชื่อพนักงานโรงแรมลงบนใบเสร็จและใส่ยอดชำระเกินกว่าที่จ่ายจริง

เราจะเห็นว่า ความจริงหรือเท็จของข้อความบนเอกสารไม่ใช่สาระสำคัญของเอกสารปลอม ดังนั้นเอกสารปลอมจึงมีได้ทั้ง “เอกสารปลอมแต่จริง” และ “เอกสารปลอมและเท็จ”

สรุปได้ว่าการทำเอกสารปลอมเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ

  • หลอกว่าผู้ทำเอกสารคือคนมีอำนาจทำ โดยที่คนคนนั้นไม่ได้ทำเอกสารนั้นขึ้นมาและไม่ได้มอบอำนาจให้คนอื่นทำ
  • หลอกว่าผู้ทำเอกสารมีอำนาจทำ ทั้ง ๆ ที่ผู้ทำไม่มีอำนาจทำเอกสารนั้น

ในทางกลับกันถ้าคนที่ทำเอกสารขึ้นมามีอำนาจทำเอกสารนั้นจริง ๆ เช่น เจ้าของร้านค้าเขียนใบเสร็จที่มียอดชำระไม่ตรงกับความจริงให้ลูกค้า เอกสารนั้นจะไม่ใช่เอกสารปลอมเพราะเจ้าของร้านค้ามีอำนาจเขียนใบเสร็จ แต่ใบเสร็จนั้นจะเป็นเอกสารเท็จเพราะข้อความที่อยู่บนเอกสารไม่ใช่ความจริง

Facebook
Twitter
LinkedIn

ทำเอกสารปลอม มีโทษอย่างไร

การทำเอกสารปลอม ( Forge a Document )ไม่จำเป็นต้องทำขึ้นมาทั้งฉบับ แค่ปลอมส่วนใดส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือเติมข้อความ ตัดทอนข้อความออก แก้ไขสิ่งที่อยู่บนเอกสารจริง เอกสารนั้นก็กลายเป็นเอกสารปลอมได้ และการประทับตราปลอม ลงลายมือชื่อปลอมก็เป็นการทำเอกสารปลอมด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่ถ้าปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่หนึ่ง 1,000 บาทถึง 10,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265

และโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท สำหรับการปลอมเอกสารตามมาตรา 266 ได้แก่

  1. เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
  2. พินัยกรรม
  3. ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบสำคัญของใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้
  4. ตั๋วเงิน คือ ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) เช็ค (Cheque)
  5. บัตรเงินฝาก

โทษของการใช้เอกสารปลอม

บางคนอาจมองว่าการปลอมเอกสารเป็นเรื่องเล็กน้อย ปลอมนิด ๆ หน่อย ๆ จะเป็นอะไรไป เพราะใคร ๆ เขาก็ทำกัน หรือบางคนอาจคิดปลอมเอกสารเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในเรื่องต่าง ๆ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ทำให้การปลอมเอกสารเป็นสิ่งที่ถูกต้องขึ้นมาได้ และการใช้เอกสารปลอมก็มีโทษทางอาญาด้วย โดยมีบัญญัติไว้ในมาตรา 268 ซึ่งผู้ที่นำเอกสารปลอมตามมาตราใดไปใช้จะต้องรับโทษตามที่ระบุไว้ในมาตรานั้น 

เช่น A นำบัตรเงินฝากปลอมไปใช้ A จะต้องรับโทษตามมาตรา 266 จำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท ซึ่งจะได้รับโทษมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ A ทำและคำพิพากษาของศาล

เอกสารปลอม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายอาญา

     มาตรา 264  ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดเติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริงหรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

     มาตรา 265  ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

     มาตรา 266 ผู้ใดปลอมเอกสารดังต่อไปนี้
     (1) เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
     (2) พินัยกรรม
     (3) ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบสำคัญของใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้
     (4) ตั๋วเงิน หรือ
     (5) บัตรเงินฝาก
     ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

     มาตรา 268  ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือมาตรา 267 ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ

     ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น หรือเป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความนั้นเอง ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

ดราม่า ปังชา ว่าด้วยเรื่อง เครื่องหมายการค้า

“ปังชา” คำนี้ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ ดราม่า #ปังชา ว่าด้วยเรื่อง เครื่องหมายการค้า กลายเป็นประเด็นร้อนในโซเชี่ยลเพียงชั่วข้ามคืนกับ #ปังชา ว่าด้ว

Read More »
สิ่งที่ลูกจ้างรายวันต้องรู้และนายจ้างต้องเข้าใจ

กฎหมายแรงงาน ลูกจ้างรายวันต้องรู้ นายจ้างต้องเข้าใจ

กฎหมายแรงงาน ลูกจ้างรายวันต้องรู้ นายจ้างต้องเข้าใจ เป็นลูกจ้างรายวันลาป่วยไม่ได้เงิน ลูกจ้างรายวันทำงานวันไหนก็ได้เงินแค่วันนั้น ลูกจ้างรายวันไม่ใช่พ

Read More »