1

JusThat

เช่าบ้าน เช่าคอนโด แอร์เสีย ท่อน้ำแตก หลอดไฟขาด ใครต้องเป็นคนซ่อม

ปัญหาเช่าบ้าน เช่าคอนโด แล้วมีของชำรุดเสียหาย เสื่อมสภาพตามการใช้งาน เช่น หลอดไฟขาด ท่อน้ำแตก ฝ้าเพดานถล่ม ผนังร้าวจนน้ำซึมเข้า แอร์เสีย มุ้งลวดพัง กระจกแตก และบรรดาความเสียหายอื่น ๆ อีกมากมายที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างที่ผู้เช่าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่เช่าอยู่

โดยปกติแล้วผู้เช่าก็คงแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบ เพื่อให้ผู้ให้เช่าเข้าทำการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายให้อยู่ในสภาพดีและใช้ประโยชน์ได้ตามเดิม แต่บางทีผู้ให้เช่าก็ไม่ยอมรับผิดชอบซ่อมแซมให้ จนกลายเป็นที่มาของปัญหาระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า เกิดการโต้เถียงกันว่าใครกันแน่ที่ต้องรับผิดชอบซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดเสียหายนั้น และในมุมมองของกฎหมายมีการวางหลักไว้อย่างไร เดี๋ยว JusThat จะเล่าให้อ่าน

ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ในการบํารุงรักษาและซ่อมแซมทรัพย์สินในระหว่างเช่า

  • ซ่อมท่อน้ำแตกที่ฝังอยู่ในตัวอาคาร
  • ซ่อมแอร์เสีย
  • ซ่อมฝ้าเพดาน
  • ซ่อมรอยร้าวบนตัวอาคาร 
  • ซ่อมกระจกที่ระเบิดแตกเอง
  • ซ่อมหลังคารั่ว
  • ซ่อมหลังคาถล่ม

การซ่อมแซมที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนั้นเป็นการซ่อมใหญ่ และต้องเป็นความชำรุดเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากตัวผู้เช่าและบริวารด้วย ผู้ให้เช่าจึงจะมีหน้าที่ต้องซ่อมแซมและบำรุงรักษาให้

หรือผู้เช่าจะทำการซ่อมแซมเองก็ได้ โดยแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบถึงความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น มีท่อน้ำต่อเข้าห้องน้ำชั้น 2 แตก และมีน้ำรั่วซึมออกมาตามเพดานและผนัง ถ้าปล่อยไว้ผู้เช่าก็ต้องแบกรับค่าน้ำที่เพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้ผู้เช่าไม่สามารถใช้น้ำได้อย่างสะดวกเต็มที่ แบบนี้ผู้เช่าก็สามารถบอกกล่าวให้ผู้ให้เช่ามาซ่อมแซมได้ หรือบอกกล่าวแล้วซ่อมแซมเองและออกค่าใช้จ่ายเองไปก่อนแบบนี้ก็ได้ จากนั้นจึงไปเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายที่เสียไปจากผู้ให้เช่าอีกที

     มาตรา 550 ผู้ให้เช่าย่อมต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่า และผู้ให้เช่าต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างบรรดาซึ่งเป็นการจำเป็นขึ้น เว้นแต่การซ่อมแซมชนิดซึ่งมีกฎหมายหรือจารีตประเพณีว่าผู้เช่าจะพึงต้องทำเอง

     มาตรา 547  ผู้เช่าต้องเสียค่าใช้จ่ายไปโดยความจำเป็นและสมควรเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นเท่าใด ผู้ให้เช่าจำต้องชดใช้ให้แก่ผู้เช่า เว้นแต่ค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาตามปกติและเพื่อซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย

Facebook
Twitter
LinkedIn

ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องดูแล บํารุงรักษาทรัพย์สิน และทําการซ่อมแซมเล็กน้อย

ส่วนที่เป็นความรับผิดชอบของผู้เช่าจะเป็นการสงวน ดูแล รักษาทรัพย์สินที่เช่าให้เหมือนกับว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตัวเองในระดับที่คนทั่วไปปฏิบัติกัน เช่น ปัดกวาด เช็ด ถู รักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพดีเหมือนเดิม ไม่ทุบทิ้ง ไม่ทำลายทรัพย์สินที่ได้เช่า เป็นต้น

และผู้เช่าจะต้องทำการซ่อมแซมเล็กน้อยตามสภาพการใช้งาน เช่น

  • เปลี่ยนหลอดไฟขาด
  • น็อตประตูหลุด 
  • สายชำระพัง
  • ฝักบัวเสีย

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้เช่าสามารถซ่อมแซมเองได้ และกฎหมายได้ยกเว้นไม่ให้ผู้ให้เช่าต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่าเสียไปด้วย แปลว่า ถ้าเป็นการซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย แบบนี้ผู้เช่าต้องเป็นผู้ซ่อมและออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั่นเอง

     มาตรา 553 ผู้เช่าจำต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่านั้นเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง และต้องบำรุงรักษาทั้งทำการซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »