1

JusThat

วิธีการนับดอกเบี้ยผิดนัดในคดีแรงงาน

มีใครเคยเจอเหตุการณ์นายจ้างไม่ยอมจ่ายเงินตามสิทธิ์ที่ลูกจ้างควรได้รับบ้าง รอแล้วรอเล่าทำยังไงนายจ้างก็ไม่ยอมจ่ายเงินให้ ถ้าเจอเหตุการณ์นี้ลูกจ้างจะนับดอกเบี้ยผิดนัดได้ตั้งแต่วันไหน อย่างไร บทความนี้ JusThat มีคำตอบ

ลูกจ้างจะนับดอกเบี้ยผิดนัดได้ตั้งแต่วันไหน

ดอกเบี้ยผิดนัด คือ ดอกเบี้ยจากเงินต้นที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่นายจ้างผิดนัดจ่ายเงิน แปลว่า ลูกจ้างจะสามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้ต่อเมื่อนายจ้างผิดนัดแล้วเท่านั้น

ตัวอย่าง A เป็นลูกจ้างบริษัท B กำหนดค่าจ้างเดือนละ 20,000 บาท จ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน แต่พอถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 B กลับจ่ายค่าจ้างให้ A แค่ 15,000 บาท และหักเงินค่าจ้างของ A ไว้ 5,000 บาท และอ้างว่า A ทำให้บริษัท B เสียหาย โดยที่ A ไม่ได้เซ็นหนังสือยินยอมให้หักค่าจ้าง 

ซึ่งตามกฎหมายแล้ว B ไม่มีสิทธิ์หักค่าจ้างจำนวน 5,000 บาทของ A เนื่องจากการหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 อนุมาตรา 4 นั้น นายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน และนายจ้างต้องทำหนังสือยินยอมให้หักค่าจ้างโดยเฉพาะ และให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อไว้ด้วยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 77 

ดังนั้น B จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินส่วนที่เหลือ 5000 บาทให้ A ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ถ้า B ไม่ยอมจ่ายเงินให้ A ภายในวันดังกล่าว จะถือว่า B ผิดนัดในวันที่ 1 กันยายน 2565 ทำให้ A สามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัด 15% ต่อปีของเงินจำนวน 5000 บาทจาก B ได้ทันทีนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2565 เป็นต้นไป คิดเป็นเงินดอกเบี้ยผิดนัดต่อปีจำนวน 750 บาท หรือวันละ 2.05 บาท (หาร 365 วัน)

Facebook
Twitter
LinkedIn

ตัวอย่าง A ถูก B ไล่ออกโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566 และไม่จ่ายเงินค่าจ้าง ค่าโอที ค่าทำงานในวันหยุดของเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 รวมถึงไม่จ่ายเงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้ A ด้วย

ซึ่ง B มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าโอที ค่าทำงานในวันหยุดให้ A ภายในวันที่ 13 มกราคมพ.ศ. 2566 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 70 วรรคสอง และต้องจ่ายเงินค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ A ภายในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17/1

ถ้า B ไม่ยอมจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าโอที ค่าทำงานในวันหยุด และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ A ภายในกำหนดดังกล่าว A จะสามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัดของเงินค่าจ้าง ค่าโอที และค่าทำงานในวันหยุดจาก B ในอัตรา 15% ต่อปีได้ทันทีนับตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป และเรียกดอกเบี้ยผิดนัดของค่าบอกกล่าวล่วงหน้าในอัตรา 15% ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป

การนับดอกเบี้ยผิดนัดจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่

การนับดอกเบี้ยผิดนัดจะสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างจ่ายเงินให้ลูกหนี้ เช่น นายจ้างผิดนัดในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 และจ่ายเงินที่ค้างอยู่ให้ลูกจ้างในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2566 แบบนี้ลูกจ้างจะสามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2566 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ซึ่งเป็นวันที่นายจ้างจ่ายเงิน 

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »