รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
มีใครเคยเจอเหตุการณ์นายจ้างไม่ยอมจ่ายเงินตามสิทธิ์ที่ลูกจ้างควรได้รับบ้าง รอแล้วรอเล่าทำยังไงนายจ้างก็ไม่ยอมจ่ายเงินให้ ถ้าเจอเหตุการณ์นี้ลูกจ้างจะนับดอกเบี้ยผิดนัดได้ตั้งแต่วันไหน อย่างไร บทความนี้ JusThat มีคำตอบ
ดอกเบี้ยผิดนัด คือ ดอกเบี้ยจากเงินต้นที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่นายจ้างผิดนัดจ่ายเงิน แปลว่า ลูกจ้างจะสามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้ต่อเมื่อนายจ้างผิดนัดแล้วเท่านั้น
ตัวอย่าง A เป็นลูกจ้างบริษัท B กำหนดค่าจ้างเดือนละ 20,000 บาท จ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน แต่พอถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 B กลับจ่ายค่าจ้างให้ A แค่ 15,000 บาท และหักเงินค่าจ้างของ A ไว้ 5,000 บาท และอ้างว่า A ทำให้บริษัท B เสียหาย โดยที่ A ไม่ได้เซ็นหนังสือยินยอมให้หักค่าจ้าง
ซึ่งตามกฎหมายแล้ว B ไม่มีสิทธิ์หักค่าจ้างจำนวน 5,000 บาทของ A เนื่องจากการหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 อนุมาตรา 4 นั้น นายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน และนายจ้างต้องทำหนังสือยินยอมให้หักค่าจ้างโดยเฉพาะ และให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อไว้ด้วยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 77
ดังนั้น B จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินส่วนที่เหลือ 5000 บาทให้ A ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ถ้า B ไม่ยอมจ่ายเงินให้ A ภายในวันดังกล่าว จะถือว่า B ผิดนัดในวันที่ 1 กันยายน 2565 ทำให้ A สามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัด 15% ต่อปีของเงินจำนวน 5000 บาทจาก B ได้ทันทีนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2565 เป็นต้นไป คิดเป็นเงินดอกเบี้ยผิดนัดต่อปีจำนวน 750 บาท หรือวันละ 2.05 บาท (หาร 365 วัน)
ตัวอย่าง A ถูก B ไล่ออกโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566 และไม่จ่ายเงินค่าจ้าง ค่าโอที ค่าทำงานในวันหยุดของเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 รวมถึงไม่จ่ายเงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้ A ด้วย
ซึ่ง B มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าโอที ค่าทำงานในวันหยุดให้ A ภายในวันที่ 13 มกราคมพ.ศ. 2566 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 70 วรรคสอง และต้องจ่ายเงินค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ A ภายในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17/1
ถ้า B ไม่ยอมจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าโอที ค่าทำงานในวันหยุด และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ A ภายในกำหนดดังกล่าว A จะสามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัดของเงินค่าจ้าง ค่าโอที และค่าทำงานในวันหยุดจาก B ในอัตรา 15% ต่อปีได้ทันทีนับตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป และเรียกดอกเบี้ยผิดนัดของค่าบอกกล่าวล่วงหน้าในอัตรา 15% ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป
การนับดอกเบี้ยผิดนัดจะสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างจ่ายเงินให้ลูกหนี้ เช่น นายจ้างผิดนัดในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 และจ่ายเงินที่ค้างอยู่ให้ลูกจ้างในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2566 แบบนี้ลูกจ้างจะสามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2566 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ซึ่งเป็นวันที่นายจ้างจ่ายเงิน
รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp