1

JusThat

รอลงอาญาแล้วทำผิดอีก จากรอดอาจกลายเป็นร่วง

คนทุกคนล้วนมีความผิดพลาดเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความผิดเล็กน้อย หรือความผิดที่สร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวง หากทำผิดแล้วยอมรับ แก้ไข ปรับปรุง และไม่ทำผิดซ้ำอีก คนคนนั้นก็ควรได้รับโอกาสในการปรับปรุงตัว แต่สำหรับบางคนการได้รอลงอาญา ก็เหมือนการได้รับอนุญาตให้ทำความผิดซ้ำอีก เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะพร้อมกลับตัวกลับใจหลังได้รับการรอลงอาญา

สำหรับบทความนี้ JusThat  จะอธิบายรายละเอียดของกรณีต่าง ๆ ที่เป็นไปได้โดยอ้างอิงตัวบทกฎหมาย หากมีการทำผิดและถูกศาลพิพากษาในระหว่างรอลงอาญา ผลจะเป็นอย่างไร คนทำผิดจะได้เข้าไปอยู่ในคุกเลยไหม หรือจะได้รอลงอาญาซ้ำอีก 

Facebook
Twitter
LinkedIn
รอลงอาญา แล้วทำผิดอีก

รอลงอาญา คืออะไร

รอลงอาญาหรือรอการลงโทษ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า suspended sentence คือ การที่ศาลพิพากษาลงโทษคนทำผิดให้จำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี แต่ศาลเห็นว่าคนที่ถูกตัดสินลงโทษควรได้รับโอกาสในการกลับตัว จึงกำหนดระยะเวลารอลงอาญาเอาไว้ก่อน แต่ระยะเวลาที่กำหนดต้องไม่เกิน 5 ปี คนทำผิดก็จะยังไม่ต้องรับโทษตามคำพิพากษา และศาลอาจกำหนดเงื่อนไขให้ทำตามในระหว่างที่ถูกรอลงอาญาด้วยก็ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ซึ่งจะได้รับการรอลงอาญาไว้ก่อนกี่คดีก็ได้

ว่ากันง่าย ๆ ก็คือ ศาลพิจารณาแล้วว่าจำเลยไม่ใช่คนเลวโดยกมลสันดาน  การเข้าไปอยู่ในคุกระยะสั้นก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น เพราะอยู่ข้างนอกเขาก็สามารถกลับตัวได้ และการถูกจำคุกยังทำให้เสียประวัติ พ้นโทษออกมาก็อาจไม่มีใครให้โอกาสในการประกอบอาชีพ ศาลจึงยังให้โอกาสใช้ชีวิตนอกคุกได้ 

สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อทำผิดและถูกศาลพิพากษาจำคุกระหว่างรอลงอาญา

1. ถูกพิพากษาจำคุกโดยไม่รอลงอาญา

หากมีการทำความผิดและถูกศาลพิพากษาจำคุกโดยไม่รอลงอาญาในระหว่างได้รับการรอลงอาญา โทษที่ถูกรอลงอาญาไว้จะถูกนำมานับรวมเข้ากับโทษในคดีหลังที่ถูกพิพากษาจำคุกด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคหนึ่ง 

ยกตัวอย่างเช่น พิพากษาจำคุก 3 ปี รอลงอาญา 3 ปี และในระหว่าง 3 ปีนั้นถูกศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี ในคดีอื่นโดยไม่รอลงอาญา โทษที่ได้รับคือ 3 ปี บวกด้วย 4 ปี เป็นจำคุกทั้งหมด 7 ปี 

2. ถูกพิพากษาจำคุกโดยให้รอลงอาญา

แต่บางกรณีศาลก็จะให้รอลงอาญาซ้ำได้อีก หากเข้าหลักเกณฑ์ตามประมาลกฎหมายอาญา มาตรา 56 โดยจะรอลงอาญาไว้กี่คดีก็ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รอลงอาญาซ้ำ เพราะศาลจะพิจารณาโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม และลักษณะของบุคคลนั้น ๆ ว่าสมควรได้รับการรอลงอาญาไว้หรือไม่ หากมีการทำความผิดอยู่เป็นประจำ รอลงอาญามาแล้วหลายคดีแต่ไม่ยอมกลับตัวกลับใจ ไปทำความผิดอื่นที่ร้ายแรงกว่าเดิมขึ้นเรื่อย ๆ แบบนี้ศาลก็อาจพิพากษาจำคุกโดยไม่รอลงอาญาเลยก็ได้

ประมวลกฎหมายอาญา

     มาตรา 58 เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามมาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทำความผิดอันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกำหนดโทษที่รอการกำหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง หรือบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง แล้วแต่กรณี

     แต่ถ้าภายในเวลาที่ศาลได้กำหนดตามมาตรา 56 ผู้นั้นมิได้กระทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคแรก ให้ผู้นั้นพ้นจากการที่จะถูกกำหนดโทษ หรือถูกลงโทษในคดีนั้น แล้วแต่กรณี

รู้หรือไม่?! ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

ดราม่า ปังชา ว่าด้วยเรื่อง เครื่องหมายการค้า

“ปังชา” คำนี้ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ ดราม่า #ปังชา ว่าด้วยเรื่อง เครื่องหมายการค้า กลายเป็นประเด็นร้อนในโซเชี่ยลเพียงชั่วข้ามคืนกับ #ปังชา ว่าด้ว

Read More »
สิ่งที่ลูกจ้างรายวันต้องรู้และนายจ้างต้องเข้าใจ

กฎหมายแรงงาน ลูกจ้างรายวันต้องรู้ นายจ้างต้องเข้าใจ

กฎหมายแรงงาน ลูกจ้างรายวันต้องรู้ นายจ้างต้องเข้าใจ เป็นลูกจ้างรายวันลาป่วยไม่ได้เงิน ลูกจ้างรายวันทำงานวันไหนก็ได้เงินแค่วันนั้น ลูกจ้างรายวันไม่ใช่พ

Read More »