1

JusThat

ปล่อยเช่า เช่าอยู่
ไม่มีหนังสือสัญญา
ไม่เท่ากับ ไม่มีสัญญา

การปล่อยเช่าบ้าน ให้เช่าคอนโด ปล่อยเช่าที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่เลือกวิธีเช่าอยู่มากกว่าซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นของตัวเอง อาจเพราะไม่อยากผูกพันกับหนี้ระยะยาว ยังไม่อยากปักหลักที่ไหนเป็นที่แน่นอน ในอนาคตอาจย้ายที่อยู่และไม่ต้องการมีภาระผูกพัน หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งเลือกเช่าอยู่มากกว่าการซื้อบ้าน ซื้อคอนโดเป็นของตัวเอง

และในบทความนี้เป็นเรื่องของการทำสัญญาเช่าที่หลายคนอาจจะยังมีความสับสนอยู่ว่า การปล่อยเช่า เช่าอยู่ ถ้าไม่มีหนังสือสัญญาก็เท่ากับไม่มีสัญญา เมื่อไม่มีสัญญาต่อกันก็ไปฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากหลักกฎหมายพอสมควร แล้วตามหลักกฎหมายต้องเป็นอย่างไร เดี๋ยว JusThat จะเล่าให้อ่าน

สัญญาเช่า ไม่มีแบบ แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็ไม่เป็นโมฆะ

อย่างแรกที่เราต้องรู้เลยก็คือ สัญญาเช่าเป็นสัญญาไม่มีแบบ หมายความว่า กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบเอาไว้ว่าต้องทำสัญญาเช่ากันแบบไหน ทำให้คู่สัญญาจะทำสัญญากันแบบปากเปล่า ทำเป็นหนังสือสัญญา ตกลงกันผ่านแชท ตกลงเช่าผ่านจดหมายก็ได้ทั้งหมด ถ้าผู้เช่าตกลงเช่า ผู้ให้เช่าตกลงให้เช่า ตกลงผลตอบแทนกันได้ เห็นด้วยต้องกันทุกประการ เท่ากับสัญญาเช่าได้เกิดขึ้นแล้ว และมีผลใช้บังคับกับคู่สัญญาอีกฝ่ายได้ทันที

Facebook
Twitter
LinkedIn

ถ้าจะฟ้องร้องบังคับคดี ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด

กรณีปล่อยเช่า เช่าอยู่ไปแล้ว อีกฝ่ายผิดสัญญา เช่น ไม่จ่ายค่าเช่า ไม่ซ่อมแซมบ้านตามที่ตกลง แล้วอีกฝ่ายจะไปฟ้องคดีแพ่งต่อศาล แบบนี้จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของอีกฝ่ายก่อน จึงจะไปฟ้องให้เขาเป็นจำเลยและรับผิดได้

ตัวอย่าง A ผู้เช่า B ผู้ให้เช่า 

B ตกลงให้ A เช่าบ้านพร้อมที่ดินเป็นระยะเวลานาน 1 ปี ตกลงค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท โดยตกลงทำสัญญากันปากเปล่า สัญญาเช่าที่เกิดขึ้นระหว่าง A และ B มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกับคู่สัญญาได้ตามกฎหมาย เพราะสัญญาเช่าเป็นสัญญาไม่มีแบบ ซึ่งคู่สัญญาจะทำสัญญากันขึ้นมาในรูปแบบไหนก็ได้ 

ในระหว่างการเช่า B ก็ได้ออกใบเสร็จการชำระเงินค่าเช่าที่มีลายเซ็นของ B ให้กับ A ทุกครั้งที่ได้รับเงินค่าเช่าจาก A เท่ากับว่า A มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเก็บไว้กับตัวแล้ว 

แต่ต่อมา A ก็ได้ค้างชำระค่าเช่าเป็นเวลา 2 เดือน จำนวน 20,000 บาท โดย B ทวงถามแล้ว แต่ A ก็ไม่ยอมจ่าย B จึงใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญาเช่าและจะไปฟ้องคดีแพ่งต่อศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาให้ A จ่ายค่าเช่า แต่ติดปัญหาที่ว่า B ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกับ A ได้ เพราะ B ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่มีลายมือชื่อของ A 

อย่างไรก็ตาม มีทางเข้าก็ต้องมีทางออกจากปัญหา เพราะกฎหมายไม่ได้ปิดช่องว่า ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดในวันทำสัญญาเท่านั้น แปลว่า คู่สัญญาจะทำหลักฐานเป็นหนังสือที่มีลายมือชื่อของฝ่ายที่ต้องรับผิดขึ้นตอนไหนก็ได้ แต่ต้องทำขึ้นก่อนวันฟ้อง จึงจะนำหลักฐานที่ว่านั้นไปฟ้องร้องบังคับคดีต่อศาลได้

ดังนั้น B และ A ก็ยังสามารถทำหนังสือสัญญาเช่าขึ้นมาภายหลังที่มีการเช่าไปแล้วได้ หรือ B จะออกใบเสร็จที่มีทั้งลายมือชื่อผู้รับเงิน (B) และลายมือชื่อของผู้ชำระเงิน (A) ก็ได้เหมือนกัน แต่ข้อสำคัญ คือ ห้ามปลอมลายเซ็นของคู่สัญญาอีกฝ่ายเด็ดขาด 

เมื่อ B มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของ A เช่น ใบเสร็จรับเงินที่มีลายเซ็นของ A เป็นผู้ชำระเงิน หรือสัญญาเช่าที่มีลายเซ็นของ A ผู้เช่า เป็นต้น B ก็จะสามารถใช้หลักฐานที่ว่านี้ไปฟ้องร้องบังคับคดี เพื่อให้ A จ่ายเงินค่าเช่าที่ค้างอยู่ จำนวน 20,000 บาท ได้นั่นเอง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

     มาตรา 538 เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไป หรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าไซร้ หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปี

สรุปได้ว่า สัญญาเช่าจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเสนอ และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตอบรับคำสนอง เมื่อทั้งสองฝ่ายมีเจตนาถูกต้องตรงกัน แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือสัญญาเช่า สัญญาที่เกิดขึ้นก็สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย 

แต่ถ้าจะไปฟ้องร้องบังคับคดีกัน ฝ่ายที่จะฟ้อง(โจทก์)ต้องมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด(จำเลย)เป็นสำคัญ โดยหลักฐานที่ว่านี้จะต้องมีขึ้นก่อนวันฟ้องเท่านั้น จึงจะไปฟ้องร้องบังคับคดีกันได้นั่นเอง

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »