1

JusThat

3 ข้อดีของการดำเนินคดีแบบกลุ่ม

ผู้เสียหายรายย่อยมีโอกาสได้รับการเยียวยาจากการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น ลองนึกภาพถ้าหากไม่มีการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ทุกคนจะต้องไปฟ้องคดีต่อศาลเองเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม ถ้าใครไม่มีเงินจ้างทนายความ หรือไม่สามารถดำเนินการเองได้ทุกขั้นตอน หรือคำนวนแล้วว่าฟ้องไปก็ไม่คุ้มก็เลยไม่รู้จะฟ้องไปทำไม สุดท้ายก็ปล่อยคนรับผิดลอยนวลไปพร้อมกับค่าเสียหาย ทำให้ผู้ให้บริการ หรือทุนรายใหญ่ในตลาดกล้าทำผิดฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะคิดว่าคนส่วนใหญ่ไม่คิดจะฟ้อง

ประหยัดค่าใช้จ่าย การดำเนินคดีแบบกลุ่มจะมีตัวแทนผู้เสียหายเป็นโจทก์ ทำให้ผู้เสียหายไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลเองทุกคน โดยโจทก์และทนายความจะเป็นผู้รักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม และไม่ว่าผลจะออกมาเป็นยังไง ก็จะใช้บังคับได้กับสมาชิกกลุ่มทุกคน 

เพิ่มอำนาจต่อรอง การดำเนินคดีแบบกลุ่มจะมีการประกาศออกไปแบบสาธารณะให้ทุกคนรับรับรู้ และแน่นอนว่าประชาชนทั่วไปจะรู้ได้ว่าใครเป็นโจทก์ และใครเป็นจำเลย โดนฟ้องเรื่องอะไร ทำให้จำเลยมีการรีบเจรจาต่อรองเพื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้เร็วขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการดำเนินคดีแบบกลุ่มที่อาจทำให้ภาพลักษณ์ของจำเลยเสียหาย

คดีแบบไหนที่ใช้การดำเนินคดีแบบกลุ่มได้

  • คดีละเมิด
  • คดีผิดสัญญา
  • คดีเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภคแรงงาน หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ การแข่งขันทางการค้า

ที่มีผู้เสียหาย 2 คนขึ้นไป และได้รับความเสียหายอย่างเดียวกัน เกิดเหตุการณ์ขึ้นแบบเดียวกัน มีมูลคดีร่วมกัน ภายใต้ข้อสัญญา ข้อกฎหมายเดียวกัน

ทั้งนี้ การดำเนินคดีแบบกลุ่มเน้นไปที่การไกล่เกลี่ย หรือใช้วิธีอนุญาโตตุลาการ เพื่อประนอมข้อพิพาท หาทางออกร่วมกัน และลดขั้นตอนในการพิจารณาคดี โดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ

รู้หรือไม่ การประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจและการผ่อนผันของทั้ง 2 ฝ่าย และต้องมีการทำหลักฐานการประนีประนอมยอมความเป็นหนังสือ

Facebook
Twitter
LinkedIn

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »