1

JusThat

รับรองสำเนาถูกต้องยังไงให้ปลอดภัย

ในบทความนี้ JusThat จะเขียนถึงวิธีการเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องยังไงให้ปลอดภัย แม้จะไม่สามารถป้องกันมิจฉาชีพได้ 100% แต่อย่างน้อยก็สร้างความลำบากให้มิจฉาชีพในการแอบนำสำเนาของเราไปใช้ได้

ปัจจุบันได้มีการนำเครื่องอ่านข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชนมาใช้ในหน่วยงานราชการแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อประชาชนไปใช้บริการที่ศูนย์ให้บริการประชาชน เช่น สถานีตำรวจ ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต ศาล หรือหน่วยงานอื่น ๆ แค่พกบัตรประจำตัวประชาชนไปก็สามารถใช้บริการได้เลย ไม่เว้นแม้กระทั่งองค์กรเอกชนที่มีการนำเครื่องอ่านบัตรประจำตัวประชาชนด้วย เช่น ศูนย์ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ 

แต่ในการทำทุรกรรมหรือนิติกรรม เช่น การทำสัญญาเช่าบ้าน เช่าคอนโด การส่งเอกสารรับเงิน การสมัครงาน การลงทะเบียนในหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น ก็ยังมีการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบางกรณีอาจมีการใช้สำเนาทะเบียนบ้านด้วย JusThat จึงมาแชร์วิธีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จะมีอะไรบ้าง อ่านต่อด้านล่างได้เลย

6 ข้อสำคัญ เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องให้ปลอดภัย

  1. ขีดเส้นคร่อมบนตัวสำเนาในส่วนที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของเอกสาร เจ้าของเอกสารจะขีดเส้นคร่อมบนตัวสำเนาหรือไม่ก็ได้ เพราะไม่มีกฎหมายกำหนดเอาไว้ว่าต้องขีดหรือห้ามขีดเส้นคร่อม การขีดเส้นคอมนี้จะต้องเป็นการขีดเส้นยาวคร่อมไปบนตัวสำเนา ต้องไม่ใช่การขีดฆ่าเฉพาะบางส่วน และห้ามขีดเป็นลักษณะกากบาทในลักษณะที่เป็นการขีดฆ่าเอกสารทิ้ง เพราะไม่อย่างนั้นเอกสารที่มีการขีดไปจะไม่สามารถนำไปใช้ได้นั่นเอง
  2. เขียนรายละเอียดกำกับว่าใช้เอกสารนั้นสำหรับทำอะไร เช่น ใช้สำหรับสมัครงานกับบริษัท เอ จำกัด เท่านั้น ใช้สำหรับรับเงินค่าจ้างจากนายบีเท่านั้น ใช้สำหรับเป็นเอกสารยืนยันการเช่าบ้านระหว่าง……..เท่านั้น เป็นต้น เพื่อยืนยันว่าสำเนาฉบับนั้นมีไว้ใช้ทำอะไร หากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ที่เจ้าของเอกสารเขียนกำกับไว้เอกสารนั้นก็จะใช้ไม่ได้
  3. เขียนวันที่ เดือน ปี กำกับไว้เสมอ การเขียนวันที่กำกับไว้บนสำเนาจะช่วยให้รู้ว่าสำเนานั้นถูกนำมาใช้เมื่อไหร่
  4. อย่าลืมคำว่าสำเนาถูกต้องและลงลายมือชื่อ หลังจากเขียนข้อ 1-3 เสร็จเรียบร้อยแล้วอย่าลืมส่วนที่สำคัญที่สุดไปนะ เพราะไม่อย่างนั้นการรับรองสำเนาก็จะไม่สมบูรณ์
  5. เขียนข้อความข้อ 1-4 บนสำเนาบริเวณที่เป็นบัตรประจำตัวประชาชนหรือทะเบียนบ้าน เพื่อให้ยากต่อการปลอมแปลงเอกสาร ถ้ามิจฉาชีพจะนำไปลบข้อความออกก็ต้องเหนื่อยหน่อยเพราะเจ้าของเอกสารเซ็นทับไปแล้ว
  6. ใช้ปากกาหมึกสีดำเซ็นบนสำเนาเอกสาร ส่วนมากผู้คนจะนิยมใช้การถ่ายเอกสารเป็นสีขาวดำ เพราะราคาถูกกว่าและประหยัดกว่า การใช้หมึกสีดำเซ็นบนสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน จึงเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าการใช้ปากกาหมึกสีน้ำเงิน

อย่างไรก็ตามวิธีที่เรานำเสนอไปเป็นเพียงวิธีการป้องกันในเบื้องต้น สิ่งสำคัญที่สุดในการทำทุรกรรมหรือนิติกรรมกับบุคคลใดก็แล้วแต่ ทุกท่านควรตรวจสอบตัวตนของอีกฝ่ายให้ดีก่อนทำทุรกรรมหรือนิติกรรมกัน ต้องถือคติที่ว่า เสียเวลาตรวจสอบ ดีกว่าเสียเวลาตามแก้ เพราะไม่อย่างนั้นก็อาจจะเข้าตำราเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

สุดท้ายนี้ JusThat ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านบทความของเราจนจบ หากท่านชอบบทความนี้ก็สามารถกดแชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานได้นะคะ

Facebook
Twitter
LinkedIn

รู้หรือไม่?! ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »

3 สิ่งต้องรู้ ก่อนหมดตัวเพราะค้ำประกันให้คนอื่น

3 สิ่งต้องรู้ ก่อนหมดตัวเพราะไปค้ำประกันให้คนอื่น ว่าด้วยเรื่องการค้ำประกัน เป็นปกติที่เจ้าหนี้ต้องการให้มีคนค้ำประกัน กรณีลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินที่มีม

Read More »
ให้โดยเสน่หาจะเรียกคืนได้ไหมถ้าผู้รับประพฤติเนรคุณต่อผู้ให้

3 เหตุผล ถอนคืนการให้โดยเสน่หา มีอะไรบ้าง

3 เหตุผล เพิกถอนคืนการให้โดยเสน่หา มีอะไรบ้าง มาอ่านกัน มีใครเคยสงสัยกันไหมว่า ถ้าเราให้ทรัพย์สินกับคนอื่นโดยเสน่หา แล้วต่อมาอยากจะเรียกคืน เราจะสามาร

Read More »