รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
อยากกู้ยืมเงินกัน มีฝ่ายเสนอ อีกฝ่ายรับสนองก็เกิดเป็นสัญญากู้ยืมเงินผูกพันกันทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้ บางคนอาจให้กู้ยืมเงินโดยไม่เรียกดอกเบี้ย บางคนก็เรียกบ้างแต่ยังอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด แต่บางคนก็เรียกโหดเหมือนโกรธลูกหนี้ คิดอัตราดอกเบี้ยต่อปีแล้วบางคนอาจเรียกสูงถึง 30% ต่อปีเลยทีเดียว
และแน่นอนว่าการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา 15% ต่อปี ทำให้ลูกหนี้ติดอยู่ในวังวนหนี้อย่างไม่จบไม่สิ้น หาเงินได้ก็เพียงพอจะส่งได้แค่ดอกเบี้ย บางคนอาจส่งดอกนาน 5 – 6 ปี โดยไม่รู้ว่าหนี้ของตัวเองหมดไปแล้ว และเจ้าหนี้ก็ไม่ยอมบอกยังเก็บดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ โดยอ้างว่าลูกหนี้ยังคืนเงินต้นไม่ครบ
การคิดดอกเบี้ยเกิน 15% ต่อปี จะทำได้ในกรณีที่กำหนดให้ดอกเบี้ยที่คิดเกินเป็นเบี้ยปรับ แต่หากกำหนดให้เป็นดอกเบี้ยของต้นเงินที่ยืมกันจะคิดได้สูงสุดแค่ 15% ต่อปีเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ที่ระบุว่า “ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี”
ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ตราพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้มีการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เพราะดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 เป็นดอกเบี้ยของการยืมใช้สิ้นเปลือง ไม่ได้เฉพาะเจาะจงลงไปที่การกู้ยืมเงิน ทำให้มีคนใช้ช่องโหว่ของกฎหมายคิดดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ 15 ต่อปี
ซึ่งมีการประกาศพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2475 โดยกำหนดโทษไว้ในมาตรา 3 ในความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่
พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มีผลบังคับใช้เรื่อยมาเกือบ 100 ปี จนกระทั่งปีพ.ศ. 2560 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 เมื่อ 14 มกราคม พ.ศ.2560 และให้มีการยกเลิกพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 เพราะไม่สอดคล้องกับสถาณการณ์ปัจจุบันแล้ว และการเรียกรับประโยชน์อื่นนอกจากดอกเบี้ยก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีการปรับปรุงกฎหมายขึ้นมาใหม่
โดยมีการกำหนดโทษไว้ในมาตรา 4 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่ทำสิ่งต่อไปนี้
ดังนั้นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราจึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและมีโทษทางอาญา ดอกเบี้ยที่เรียกจึงตกเป็นโมฆะทั้งหมด ไม่ใช่ตกเป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยที่เรียกเกินเท่านั้น
นางสาว A เป็นเจ้าแม่ปล่อยเงินกู้ มีนางสาว B มาขอกู้ยืมเงิน 100,000 บาท นางสาว A คิดดอกเบี้ย 20% ต่อเดือน โดยให้เหตุผลว่าดอกเบี้ยที่คิดน้อยกว่าที่อื่นแล้วนะที่อื่นคิดเป็นวัน นางสาว B ก็หาเงินได้พอส่งแค่ดอกเบี้ยเดือนละ 20,000 บาท ส่งมานานเป็นปีหนี้ก็ไม่หมดเพราะนางสาว A บอกว่าที่ส่งมาเป็นแค่ดอกเบี้ยเงินต้นยังอยู่ครบ นางสาว B เลยทำงานหาเงินส่งดอกเบี้ยต่อไป
หากคำนวณแล้วนางสาว B จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน เดือนละ 20,000 บาท เป็นเวลา 1 ปี คิดเป็นเงินทั้งหมด 240,000 บาท เท่ากับว่านางสาว A ได้เงินไปเกินกว่ายอดหนี้แล้ว เมื่อดอกเบี้ยทั้งหมดตกเป็นโมฆะ เท่ากับว่าดอกเบี้ยที่เรียกไปไม่มีผลบังคับตั้งแต่แรก นางสาว A จะไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เลยแม้แต่บาทเดียว จึงต้องนำเงินที่ได้รับจำนวน 240,000 บาท หักลบกับเงินต้น 100,000 บาท เท่ากับว่าหนี้ของนางสาว B หมดลงแล้ว และเงินที่ได้รับมาก็เกินยอดหนี้อีกด้วย
แต่นางสาว B ก็ฟ้องเรียกเงินคืนไม่ได้หรือดำเนินคดีอาญากับนางสาว A ไม่ได้ เพราะนางสาว B ไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ตามมาตรา2(4)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากนางสาว B ก็มีส่วนในการทำความผิด เพราะยินยอมในการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา และถือว่าเป็นการชําระหนี้ตามอําเภอใจ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 ที่ระบุว่า “บุคคลใดได้กระทำการอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ท่านว่าบุคคลผู้นั้นหามีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์ไม่” ทำให้นางสาว B เรียกเงินคืนไม่ได้
ถึงแม้นางสาว B จะดำเนินคดีกับนางสาว A ไม่ได้ แต่การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราถือเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน นางสาว B จึงสามารถกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนได้ พนักงานสอบสวนก็จะสามารถดำเนินคดีกับนางสาว A ในความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดได้นั่นเอง
ดอกเบี้ยกู้ยืมเงินที่คิดจากเงินต้นในระหว่างที่ยังไม่ผิดนัดกับดอกเบี้ยผิดนัดเป็นเงินคนส่วนกัน ถึงแม้ดอกเบี้ยที่กำหนดจะตกเป็นโมฆะทั้งหมด แต่หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ยอมจ่ายหนี้ให้ครบ เจ้าหนี้ก็สามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัดจากเงินต้นที่เหลืออยู่ได้
เช่น นาย F ให้นาย P กู้ยืมเงินจำนวน 20,000 บาท คิดดอกเบี้ย 20% ต่อปี ระยะเวลากู้ยืมเงิน 2 ปี ปีแรกนาย P จ่ายดอกเบี้ยให้จำนวน 4,000 บาท เท่ากับว่ามีเงินต้นคงเหลือ 16,000 บาท เพราะนาย F ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยและต้องนำเงินที่ได้รับมาหักลบกับเงินต้น แต่พอถึงกำหนดจ่ายเงินคืน นาย P กลับไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย นาย F ก็จะสามารถเรียกดอกเบี้ยผิดได้ 5% ต่อปี จากเงินต้น 16,000 บาท ได้ดอกเบี้ยผิดนัด 800 บาทต่อปีนั่นเอง
รู้แบบนี้แล้วจะให้ใครกู้ยืมเงิน หรือจะไปกู้ยืมเงินใครก็เช็คอัตราดอกเบี้ยให้ดี เพราะหากเรียกเกินไปดอกเบี้ยที่จะได้ก็เท่ากับศูนย์ หรือยอมจ่ายเกินไปก็เรียกเงินคืนกลับมาไม่ได้นะ
รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp