พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
สุนัขใครใครก็รัก ทรัพย์สินใครใครก็หวง กรณีสุนัขเข้าไปกัดสุนัขในบ้านของเรา สุนัขของคนอื่นเข้าไปกัดไก่ หรือเข้าไปทำลายทรัพย์สินในบริเวณบ้าน แล้วเจ้าของบ้านยิงสุนัขตายในเขตบ้านตัวเอง เจ้าของบ้านจะมีความผิดหรือไม่ ถ้ามีความผิดจะต้องรับโทษยังไง JusThat ชวนทุกคนไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
ตามกฎหมายแล้วเราทุกคนสามารถใช้กำลัง หรืออาวุธป้องกันตัวจากภัยอันตรายที่กำลังเกิดขึ้นต่อหน้าได้ หรือใกล้เข้ามาจนอาจเกิดอันตรายได้ ซึ่งการป้องกันตัวในที่นี้คือ ป้องกันตัวเอง ทรัพย์สิน หรือบุคคลอื่นให้พ้นไปจากภัยอันตรายที่กำลังเกิดขึ้น เป็นการป้องกันในทันทีทันใดในขณะที่เกิดเหตุ ว่าง่าย ๆ ก็คือ ต้องไม่มีการไตร่ตรองไว้ก่อน หรือไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า และการป้องกันนั้นจะต้องไม่เกินกว่าเหตุ จึงจะเข้าข้อยกเว้นไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68
มาตรา 68 ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด
ดังนั้นการที่สุนัขของคนอื่นเข้ามากัดเรา ข้ามรั้วเข้ามากัดไก่ หรือเข้ามาทำร้ายสุนัขหรือแมวของเราที่อยู่ในบ้าน ถ้าในตอนนั้นเราไม่มีทางอื่นที่จะป้องกันตัวเอง หรือป้องกันสัตว์เลี้ยงของเราจากสุนัขตัวนั้นได้เลย เช่น พยายามแยกแล้วแต่สุนัขก็ยังไม่ยอมปล่อย หรือสุนัขกำลังกัดสุนัขของเราอยู่จนสุนัขของเราได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือสุนัขกระโจนเข้ามาเพื่อจะกัดเรา และเราไม่สามารถหลบเลี่ยงจากอันตรายได้ การหยิบอาวุธขึ้นมาป้องกันเพื่อให้อันตรายพ้นไป จึงเป็นข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 21 อนุมาตรา 6
แต่ถ้าเจอสุนัขยืนอยู่นอกรั้วบ้านไม่ได้เข้ามาในรั้วแล้วเอาปืนไปยิงสุนัขตาย หรือยิงสุนัขตายเพื่อความสะใจของตัวเอง ยิงรัว 10 นัดหวังให้ตายอย่างเดียว แบบนี้จะไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฏหมาย เพราะไม่ใช่สถานการณ์ที่จวนตัวจนจำเป็นต้องยิงสุนัขตายเพื่อป้องกันภัยอันตราย การยิงสุนัขตายในกรณีนี้จึงเป็นการทำเกินกว่าเหตุ ซึ่งผู้ที่ยิงสุนัขตายจะต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้
มาตรา 21 การกระทําดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา 20
(1) การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ เฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร
(2) การฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจําหน่ายเนื้อสัตว์
(3) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
(4) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่สามารถเยียวยา หรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน
(5) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา
(6) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน
(7) การกระทําใด ๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์หรือผู้ซึ่งได้รับยกเว้นให้กระทําได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภาตามกฎหมายวา่ ด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์
(8) การตัด หู หาง ขน เขา หรืองาโดยมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ หรือการดํารงชีวิตของสัตว์
(9) การจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น
(10) การกระทําอื่นใดที่มีกฎหมายกําหนดให้สามารถกระทําได้เป็นการเฉพาะ
(11) การกระทําอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ตาม พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 20 มีการกำหนดห้ามไม่ให้บุคคล ทำการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งเหตุอันสมควรนั้นก็จะต้องไปดูตามมาตรา 21 แปลว่าถ้ามีการยิงสุนัขตายโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น อยากกลั่นแกล้งสุนัขจึงเอาปืนไปยิงจนตาย รู้สึกไม่ชอบหน้าเพื่อนบ้านเลยยิงสุนัขของเพื่อนบ้านตาย ไม่ชอบเสียงเห่าหรือหอนของสุนัขจึงเอาปืนไปยิงให้ตาย เห็นสุนัขจรจัดแล้วไม่ชอบจึงยิงสุนัขตาย เป็นต้น การกระทำเหล่านี้ไม่ได้เป็นไปตามข้อยกเว้นในมาตรา 21 ดังนั้นคนทำจึงต้องรับโทษตามมาตรา 31 ที่มีการกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 20 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทําการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร
มาตรา 31 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 20 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
อย่างไรก็ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดโทษเอาไว้สำหรับผู้ที่กระทำทารุณกรรมสัตว์เท่านั้น เพราะกฎหมายยังกำหนดให้เจ้าของสัตว์ดูแลควบคุมสัตว์ของตัวเอง คือ ห้ามปล่อย ละทิ้ง หรือทำอะไรก็แล้วแต่ให้สัตว์ของตัวเองอยู่นอกการดูแล โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น เปิดประตูรั้วทิ้งไว้ทุกวันให้สุนัขของตัวเองออกไปวิ่งนอกบ้าน โดยไม่มีเจ้าของคอยดูแล เป็นต้น ซึ่งมีโทษปรับสูงสุดถึง 40,000 บาท
มาตรา 23 ห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้ง หรือกระทําการใด ๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแล ของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร
การกระทําตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองให้แก่ผู้ซึ่งประสงค์ จะนําสัตว์ไปดูแลแทน
มาตรา 32 เจ้าของสัตว์หรือผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรี ประกาศกําหนดตามมาตรา 22 มาตรา 24 หรือฝ่าฝืนมาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
“ปังชา” คำนี้ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ ดราม่า #ปังชา ว่าด้วยเรื่อง เครื่องหมายการค้า กลายเป็นประเด็นร้อนในโซเชี่ยลเพียงชั่วข้ามคืนกับ #ปังชา ว่าด้ว
กฎหมายแรงงาน ลูกจ้างรายวันต้องรู้ นายจ้างต้องเข้าใจ เป็นลูกจ้างรายวันลาป่วยไม่ได้เงิน ลูกจ้างรายวันทำงานวันไหนก็ได้เงินแค่วันนั้น ลูกจ้างรายวันไม่ใช่พ
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp