1

JusThat

จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไม่ยาก แต่ต้องเตรียมตัวให้พร้อม

การรับบุตรบุญธรรมเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนมีลูกยาก หรืออยากมีลูกเพิ่มแต่ไม่สามารถมีลูกได้อีก อยากอุปการะเด็กเพื่อให้เด็กมีอนาคตที่ดี หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ ตามแต่ละบุคคลไป และในบทความนี้ JusThat ได้รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการรับบุตรบุญธรรมมาไว้ให้แล้ว ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีคุณสมบัติยังไง ขั้นตอนการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเป็นยังไง อ่านรายละเอียดได้ในบทความนี้เลย

จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ต้องมีคุณสมบัติยังไง

ก่อนรับบุตรบุญธรรมต้องเช็กตัวเองให้ชัวร์ก่อนว่า มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เพราะถ้าคุณสมบัติไม่ครบ คุณก็จะไม่สามารถจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้นั่นเอง

คุณสมบัติของผู้รับบุตรบุญธรรม

  1. อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
  2. มีอายุมากกว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 25 ปี เช่น 25 ปี กับ 10 ปี หรือ 30 ปี กับ 15 ปี
  3. ได้รับความยินยอมจากผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุ 15 ปีขึ้นไป
  4. ได้รับความยินยอมจากพ่อ แม่ หรือผู้ปกครองของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์
  5. ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม กรณีผู้รับบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส
  6. ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส
  7. ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1587

 

     มาตรา 1587 บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วอาจถูกตั้งเป็นผู้ปกครองได้ เว้นแต่

     (1) ผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

     (2) ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย

     (3) ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์

     (4) ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดากับผู้เยาว์

     (5) ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง

Facebook
Twitter
LinkedIn

จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์มีขั้นตอนต่างจากการรับผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วเป็นบุตรบุญธรรม ตรงที่การจดทะเบียนรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม ต้องผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน

ขั้นตอนจดทะเบียนรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม

  1. ผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือต่างประเทศ สามารถยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอมได้ที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมประชาสงเคราะห์
  2. ผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด สามารถยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอมได้ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด

    หลังจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอนุมัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ผู้รับบุตรบุญธรรมสามารถนำหนังสือแจ้งคำอนุมัติของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมไปร้องขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต่อนายทะเบียนได้ 

ขั้นตอนจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว

  1. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมสามารถยื่นคำร้องจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต่อนายทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนเขตได้เลย
  2. กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอมด้วย 

สุดท้าย JusThat ขอฝากคุณผู้อ่านที่ต้องการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรม หรือจะเป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่นว่า การรับบุตรบุญธรรมให้มีผลรับรองตามกฎหมายต้องมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมด้วย ถ้าเป็นการรับเลี้ยงเฉย ๆ โดยไม่ได้จดทะเบียน การรับบุตรบุญธรรมนั้นจะไม่สมบูรณ์ ทำให้คนที่เป็นบุตรบุญธรรมไม่ได้รับสิทธิของบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย เช่น สิทธิรับมรดกของพ่อบุญธรรมหรือแม่บุญธรรม เป็นต้น

     มาตรา 1598/27 การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน

คดีมีความซับซ้อน เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »
การจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย การจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้นจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1495 ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียสามารถยกขึ้นกล่าวอ้างว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะ หรือยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1497 เมื่อศาลได้พิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะแล้ว ความเป็นโมฆะนั้นก็จะมีผลย้อนกลับไปนับตั้งแต่มีการจดทะเบียนสมรสนั้น จึงเท่ากับว่า การสมรสซ้อนไม่มีผลมาตั้งแต่แรกนั่นเอง

จดทะเบียนสมรสซ้อน มีผลเท่ากับ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

จดทะเบียนสมรสซ้อน มีผลเท่ากับ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส นี่ก็ปี 2023 แล้ว ยังจะมีใครไปจดทะเบียนสมรสซ้อนกันได้อีกเหรอ ในปัจจุบันการจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นสิ่งท

Read More »
ยื่นคำยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกออนไลน์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ขอตั้งผู้จัดการมรดกออนไลน์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกออนไลน์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง การยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) เป็นทางเลือกหนึ่งที่คู่คว

Read More »