1

JusThat

จดทะเบียนสมรสซ้อน มีผลเท่ากับ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

นี่ก็ปี 2023 แล้ว ยังจะมีใครไปจดทะเบียนสมรสซ้อนกันได้อีกเหรอ ในปัจจุบันการจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากมาก ๆ ถึงมากที่สุด เพราะข้อมูลการจดทะเบียนสมรสของคนไทยย้ายจากแบบออฟไลน์ไปอยู่บนระบบออนไลน์เรียบร้อยแล้ว ทำให้นายทะเบียนสามารถดูข้อมูลได้เลยว่า ผู้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนมีการสมรสกับบุคคลอื่นอยู่แล้วหรือยัง 

ถึงแม้การจดทะเบียนสมรสซ้อนจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้แค่ 0.00001% ก็ตาม แต่เราก็ควรได้รู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของการจดทะเบียนสมรสซ้อนกันไว้ จดทะเบียนสมรสซ้อน คืออะไร หรือจะทำยังไงได้บ้าง ถ้าพบว่าคู่สมรสไปจดทะเบียนสมรสซ้อนกับบุคคลอื่น ตามไปอ่านต่อกับ JusThat ที่ด้านล่างได้เลย

จดทะเบียนสมรสซ้อน คืออะไร

การจดทะเบียนสมรสซ้อน คือ การที่ชายหรือหญิงที่มีคู่สมรสตามกฎหมายอยู่แล้ว ไปจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอื่น ซึ่งก็คือการที่ชายหรือหญิงไปจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอื่น ทั้ง ๆ ที่ตนเองมีคู่สมรสตามกฎหมายอยู่แล้วนั่นเอง 

เช่น A จดทะเบียนสมรสกับ B ในปี พ.ศ.2546 และแยกกันอยู่ในปี พ.ศ.2557 โดยไม่ได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย ในขณะที่แยกกันอยู่ A ก็ไปจดทะเบียนสมรสกับ C ในปี พ.ศ.2559 โดยที่ C ก็ไม่รู้ว่า A มีคู่สมรสตามกฎหมายอยู่แล้ว การสมรสกันระหว่าง A กับ C เป็นการสมรสซ้อน เพราะ A กับ B ยังเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายอยู่นั่นเอง

Facebook
Twitter
LinkedIn

ผลของการจดทะเบียนสมรสซ้อน

การจดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ที่บัญญัติไว้ว่า  “ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้” ทำให้การสมรสนั้นตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495

     มาตรา  1495 การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 มาตรา 1452 และมาตรา 1458 เป็นโมฆะ

แต่ถ้าไม่มีผู้มีส่วนได้เสียกล่าวอ้างว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะ หรือมีคำพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะ ก็ยังถือว่าชายและหญิงที่ทำการสมรสซ้อนนั้นเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมาย

จะทำยังไง ถ้าพบว่าคู่สมรสไปจดทะเบียนสมรสซ้อนกับบุคคลอื่น

ถ้าคุณพบว่าคู่สมรสของตนเองไปจดทะเบียนสมรสซ้อนกับบุคคลอื่น สิ่งที่ทำได้ก็คือ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้

     มาตรา 1497 การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้

เมื่อศาลพิพากษาว่าการการสมรสนั้นเป็นโมฆะ ความเป็นโมฆะนั้นมีผลย้อนไปนับตั้งแต่มีการจดทะเบียนสมรส นั่นจึงเท่ากับว่า ในทางกฎหมายแล้วไม่เคยมีการสมรสนั้นเกิดขึ้นเลย และนี่ก็เป็นที่มาของ “จดทะเบียนสมรสซ้อน มีผลเท่ากับ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส”

นอกจากนี้คุณยังสามารถดำเนินการเรียกร้องในทางอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น

  • ฟ้องหย่า
  • ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชู้
  • ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากคู่สมรส
  • ขอให้คู่สมรสฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ถ้าการหย่าทำให้ “สามีหรือภริยา” ยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส
  • ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »