ในปัจจุบันเรามักเห็นมีการโพสต์เตือนภัยข้อหาลักทรัพย์ กล่าวหาคนอื่นว่าเป็นโจร หรือขโมยอยู่แทบทุกวัน โดยที่เราก็ไม่รู้ว่าคนที่ถูกกล่าวหาทำผิดจริง ๆ หรือเปล่า และหัวข้อที่คนมักหยิบยกมาพูดคุยกันแทบทุกครั้งก็คือ สิ่งที่เห็นคือการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์กันแน่
การลักทรัพย์ คือ การไปแย่งเอาของที่มีรูปร่าง มีราคามาจากการครอบครองของคนอื่นในลักษณะที่เอาไปแล้วเอาไปเลย หรือเรียกอีกอย่างว่าตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ โดยที่…
เช่น ขโมยของในร้านสะดวกซื้อ ขโมยเงินนายจ้าง ขโมยกระถางต้นบอนสีจากร้านขายต้นไม้ เป็นต้น แต่ถ้าเรามีเหตุฉุกเฉินต้องไปโรงพยาบาลด่วน โทรศัพท์ก็แบตหมด มองเห็นโทรศัพท์คนอื่นชาร์จอยู่แล้วไปหยิบมาโทรเลย ใช้เสร็จก็เอาไปคืนเจ้าของ แบบนี้ไม่ใช่การลักทรัพย์นะ เพราะไม่ใช่การตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ
ความผิดฐานลักทรัพย์มีกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาทั้งหมด 5 มาตรา ตั้งแต่มาตรา 334 – 336 ทวิ
มาตรา 334 เป็นการทรัพย์ธรรมดา คือขโมยในเวลาปกติทั่วไป ทำในสถานการณ์ปกติ
มาตรา 335 เป็นลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ เป็นการทำในเวลาที่คนระวังตัวน้อย หรือในสถานการณ์ที่ไม่ปกติมีทั้งหมด 12 ข้อ
มาตรา 335 ทวิ มีการกำหนดไว้อีกว่า ถ้าลักทรัพย์ที่เป็นพระพุทธรูป วัตถุทางศาสนา หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยของนั้นเป็นที่ประชาชนให้ความเคารพหรือบูชา หรือของที่เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติจะมีความผิดฐานลักทรัพย์
มาตรา 336 เป็นการลักทรัพย์โดยการฉกฉวยเอาไปต่อหน้า เรียกว่า “วิ่งราวทรัพย์”
และสุดท้ายมาตรา 336 ทวิ เป็นการลักทรัพย์โดยแต่งเครื่องแบบ หรือชุดที่ทำให้คนเข้าใจว่าเป็นตำรวจ ทหาร หรือมีปืน ระเบิด หรือมีรถไว้ใช้ขนของ ใช้หลบหนี แบบนี้จะมีโทษหนักมากขึ้นไปอีกนะ
ที่เราต้องดูให้แน่ใจเพราะความผิดลักทรัพย์เป็นองค์ประกอบของความผิดอื่น ๆ เลยทำให้จากผิดลักทรัพย์กลายเป็นเป็นความผิดฐานอื่น ๆ ได้ …
รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา
การลักทรัพย์ถือเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา คนทำผิดมีทั้งความผิดทางอาญา และต้องรับผิดทางแพ่งด้วย โดยที่อัยการจะสามารถเรียกร้องให้เอาของมาคืน หรือขอให้จ่ายเงินแทนค่าของที่เอาไปได้ หรืออาจต้องจ่ายค่าเสียหายเพิ่มด้วยถ้าผู้เสียหายฟ้องคดีแพ่งเอง
การลักทรัพย์ถือเป็นอาญาแผ่นดิน มีโทษทั้งจำคุกและปรับ ซึ่งความผิดแต่ละข้อก็มีโทษหนักเบาแตกต่างกัน ตามความร้ายแรงที่คนผิดทำลงไป
ขโมยเพราะยากจนไม่มีกินจริง ๆ หรือทำไปเพราะจำใจทำและราคาของที่ขโมยไปไม่ได้แพงมาก แม้จะมีความผิดตามข้อกำหนด 12 ข้อ แต่ศาลอาจตัดสินให้รับโทษในฐานลักทรัพย์ธรรมดาตามมาตรา 334 ก็ได้ เพราะเขาทำไปด้วยเหตุจำเป็นต่อชีวิต เช่น คนไม่มีเงินขโมยกล้วย 1 หวีที่วางไว้ในบ้านคนอื่นเพราะอดข้าวมาหลายวันจนทนไม่ไหว หรือลูกจ้างไม่มีเงินกินข้าวเลยขโมยขนมนายจ้างกินแค่พออิ่ม เป็นต้น
การลักทรัพย์ถือเป็นอาญาแผ่นดิน ถึงจะมีการตกลงจ่ายเงินค่าของให้ หรือเอาของมาคืนแล้วเจ้าของไม่ติดใจเอาความ ตำรวจก็ต้องดำเนินคดีเพื่อส่งให้อัยการฟ้องศาลต่อไป
ถ้าใครคิดจะขโมยของคนอื่นก็ต้องคิดให้ดี เพราะคดีลักทรัพย์มีอายุความที่นาน ถ้าทำผิดแล้วคิดจะหนีก็ต้องหนีอย่างน้อย 10 ปี และการขโมยของคนอื่นก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรทำ เพราะนอกจากตัวเองจะเดือดร้อนแล้ว คนอื่นก็จะได้รับความเดือดร้อนจากการถูกขโมยเช่นกัน
ข้อหาลักทรัพย์ใครก็แจ้งความแทนได้ และตำรวจสามารถดำเนินคดีได้เลยทันที โดยไม่ต้องมีคนร้องทุกข์ก็ได้ เพราะการลักทรัพย์เป็นคดีที่ร้ายแรงและเป็นความผิดต่อสังคมโดยรวม
เก็บเงินได้ระหว่างเดินกลับบ้าน เห็นแหวนเพชรตกอยู่กลางทาง หรือเห็นมีของวางอยู่บนโต๊ะ คิดว่าเป็นของหายเลยเก็บเอามา แต่สักพักก็เห็นเจ้าของเดินมาตามหา แต่ก็ไม่ยอมคืนให้เขา ถ้าทำแบบนี้มีความผิดฐานลักทรัพย์นะ
หรือเห็นของในสำนักงานสวยดีอยากเก็บเอาไปไว้ที่บ้าน แบบนี้ทำไม่ได้นะเพราะเป็นการลักทรัพย์นายจ้าง นอกจากจะมีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญาแล้ว นายจ้างจะสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าหรือแม้แต่ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างด้วย
แต่ถ้าเป็นการเลิกจ้างเพราะถูกใส่ความว่าลักทรัพย์นายจ้างแต่ความจริงไม่ได้ทำ ก็สามารถเรียกร้องความเป็นธรรมได้ กรณีแบบนี้สามารถติดต่อขอคำปรึกษาจากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือฟ้องศาลแรงงานด้วยตัวเองก็ทำได้เหมือนกัน
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp