ความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ดูคล้ายกันไปหมด จนทำให้หลายคนสับสนได้ง่าย ๆ ว่า แบบนี้ต้องเรียกว่าอะไร ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจการยักยอกทรัพย์ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจ และแยกได้ถูกว่าแบบไหนคือยักยอกทรัพย์กันแน่
ยักยอกทรัพย์ คือ การเบียดบังเอาของที่อยู่กับตัวเรา เห็นอยู่ต่อหน้า ถืออยู่กับมือ มีสิทธิ์เคลื่อนย้ายไปที่ไหนก็ได้ แต่ของนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของคนอื่น หรือเป็นกรรมสิทธิ์ของเราแต่มีคนอื่นถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย ถ้าเราเอาของมาเป็นของเราคนเดียว แอบเอาไปขาย แอบเอาไปจำนำ จำนอง โอนสิทธิ์ต่าง ๆ จะเข้าข่ายความผิดฐานยักยอกทรัพย์ เพราะของนั้นเรา…
เช่น เอารถที่ยังผ่อนไม่หมดไปขาย พนักงานทอนเงินให้ผิดแต่ไม่ยอมคืน เอาของที่ยืมหรือเช่าคนอื่นมาไปเป็นของตัวเองไม่มีเจตนาจะคืนเจ้าของ มีหน้าที่เบิกจ่ายเงินให้พนักงานแต่แอบเอาเงินไปใช้ส่วนตัว
สิ่งสำคัญของความผิดฐานยักยอกทรัพย์คือคนทำต้องมีเจตนาทุจริตและเบียดบังเอาไปหลังจากได้ของไปครอบครองแล้ว ว่ากันง่าย ๆ ก็คือได้ของไปแบบใสสะอาดในตอนแรก แต่เกิดโลภมากอยากได้เป็นของตัวเองคนเดียวในตอนหลัง หรืออยากได้ประโยชน์ที่ตัวเองไม่มีสิทธิได้เลยเอาไปให้เป็นของคนอื่นในตอนหลัง และต้องทำคือเบียดบังเอาของไปจริง ๆ ด้วยนะถึงจะเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์แบ่งออกเป็น 5 แบบ แต่ละแบบก็มีข้อแตกต่างกัน…
หลายครั้งที่มีการโต้เถียงกันในโลกออนไลน์ว่า ในคลิปที่เห็น หรือข่าวที่ถูกนำเสนอเป็นการยักยอก หรือลักทรัพย์กันแน่ เพราะแต่ละอย่างมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ข้อที่แตกต่างกันคือ ยักยอกทรัพย์คุ้มครองกรรมสิทธิ์ ลักทรัพย์คุ้มครองการครอบครอง
ลักทรัพย์ เป็นการไปแย่งเอาของที่เราไม่มีสิทธิ์ครอบครองมาจากเจ้าของ คนทำมีเจตนาเอาของไปแล้วเอาไปเลยตั้งแต่ยังไม่ได้การครอบครอง เช่น
แต่ถ้าเป็นผู้จัดการ หัวหน้างานที่มีหน้าที่ดูแลเงิน แล้วเอาเงินไปใช้เองจะเป็นการยักยอกทรัพย์
หรือเพื่อนฝากของเอาไว้ 4 – 5 วันเดี๋ยวมาเอาคืนฝากดูแลหน่อยนะ แต่พอถึงเวลาไม่ยอมคืน เอาไว้แล้วก็เอาไว้เลย แบบนี้จะเป็นการยักยอกทรัพย์ เพราะมีเจตนาเบียดบังเอาตอนที่ของอยู่ในครอบครองแล้ว
เก็บของได้ต้องคืน ถ้าไม่ใช่ของหายจะมีความผิดฐานลักทรัพย์ เวลาที่เก็บของได้หลายคนคงคิดว่าของชิ้นนี้เจ้าของทำหายแน่ ๆ เอาไปก็เป็นแค่ยักยอกทรัพย์ แต่ในทางกฎหมายของหายต้องเป็นของที่เจ้าของติดตามเอาคืนไม่ได้ ไม่รู้ว่าหายที่ไหน เมื่อไหร่ รู้ตัวอีกทีของก็ไม่อยู่กับตัวแล้วถึงจะเรียกว่าของหาย
ถ้าเจ้าของแค่ทำของหล่น วางไว้แล้วลืมแต่จำได้ว่าอยู่ที่ไหน ตรงไหน แล้วเจ้าของรีบกลับไปเอาคืน หรือวางไว้ก่อนแล้วไปทำธุระแต่มีคนมาหยิบไป แบบนี้ไม่ใช่ของหายและคนเอาไปมีความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งเป็นอาญาแผ่นดินยอมความไม่ได้และมีโทษหนักกว่าการยักยอกทรัพย์
เก็บของที่คนอื่นทิ้งแล้วไม่มีความผิด ของทิ้งคือของที่เจ้าของไม่เอาแล้ว เช่น เจอคนทิ้งตุ๊กตาไว้ที่ถังขยะ รออยู่นานแล้วเจ้าของไม่มารับกลับไป ถ้าเกิดเอ็นดูก็พากลับบ้านได้ เพราะเจ้าของทิ้งไปแล้วจะมาตามเอาคืนหรือดำเนินคดีไม่ได้นะ
แต่ถ้าเจ้าของเอาตุ๊กตาออกมาตากหน้าบ้านพอแห้งจะเก็บกลับ แบบนี้จะไปหยิบของเขามาไม่ได้นะ ดังนั้นจะหยิบอะไรติดมือกลับบ้านต้องดูให้ดีก่อนว่า เป็นของที่เขาทิ้ง ทำหาย วางไว้ค่อยกลับมาเอา หรือแค่ลืมไว้ เพราะถ้าหยิบสุ่มสี่สุ่มห้าเราก็อาจกลายเป็นคนผิดได้
การยักยอกทรัพย์เป็นความผิดอาญาและมีความรับผิดทางแพ่งด้วย เราเรียกคดีแบบนี้ว่า คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องให้เอาของมาคืน หรือขอให้จ่ายเงินแทนค่าของที่เอาไปก็ได้ และอาจจ่ายค่าเสียหายเพิ่มด้วยในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นได้ในส่วนของคดีแพ่ง ส่วนทางอาญาก็มีการกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานยักยอกทรัพย์ที่แตกต่างกัน มีโทษหนักเบาตามความรุนแรงของแต่ละกรณีซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 352 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับการยักยอกทั่วไป แต่ถ้ายักยอกของที่ได้มาเพราะคนให้เข้าใจผิด หรือยักยอกเอาของที่คนอื่นทำหาย จะมีโทษครึ่งนึง
มาตรา 353 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับคนที่ยักยอกทรัพย์สินที่ตัวเองมีหน้าที่จัดการดูแลหรือมีคนอื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ทุจริตในหน้าที่จนเกิดความเสียหายในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
มาตรา 354 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ายักยอกทรัพย์ที่ตัวเองมีหน้าที่จัดการ ดูแลตามคำสั่งศาล ตามพินัยกรรม หรือเป็นคนที่มีอาชีพหรือธุรกิจที่ประชาชนไว้วางใจ
มาตรา 355 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับการยักยอกของที่คนอื่นซ่อนไว้ หรือเอาไปฝังไว้โดยที่ไม่มีใครสามารถอ้างว่าเป็นเจ้าของได้
จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat
การยักยอกทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัว ถ้าคนเอาไปยอมคืน หรือจ่ายเงินให้ตามราคาของที่เอาไป จ่ายค่าเสียหายให้ แล้วผู้เสียหายพึงพอใจก็ตกลงยอมความกันได้ ดังนั้น จึงต้องนับอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96
หลังจากที่เราแจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีอาญาไปแล้ว ตำรวจจะออกหมายเรียกคนที่เราอ้างว่าทำผิดมาสอบสวน และดำเนินการเพื่อรวบรวม พยาน หลักฐานต่าง ๆ ให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องต่อไป และในคดียักยอกทรัพย์อัยการจะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนของ หรือจ่ายเงินแทนราคาค่าของให้ด้วย แต่อัยการเรียกดอกเบี้ย หรือค่าเสียหายอื่น ๆ ให้ไม่ได้นะ
ถ้าปล่อยไว้จนคดีขาดอายุความ คนร้ายก็ลอยนวล จะเรียกร้องอะไรก็ไม่ได้
เล่นพนันแพ้แล้วเอาของในห้องที่ตัวเองเช่าไปขาย มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ เจ้าของห้องแจ้งความดำเนินคดีได้นะ ยุคนี้การพนันออนไลน์กำลังมาแรง คนที่มองหาทางทำเงินใหม่ ๆ ก็อยากลองเข้าไปเล่นพนันเพื่อเสี่ยงดวงให้ได้เงินก้อนกลับมา แต่เราต่างก็รู้ดีว่าการเล่นพนันเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และไม่มีทางที่เราจะชนะได้เลยโดยเฉพาะพนันออนไลน์ แต่ด้วยเล่ห์กลได้ก่อนเสียทีหลัง ทำให้หลายคนยิ่งเสียยิ่งเติมเงินเข้าไปเพราะอยากได้เงินคืน
บางคนถึงกับหมดเนื้อหมดตัว ไม่มีเงินกินข้าว ต้องขอยืมเพื่อนไปเรื่อย ๆ หรือแม้กระทั่งหนีเจ้าหนี้เปลี่ยนที่เช่าไปเรื่อย ๆ บางคนถึงกับเอาของในห้องไปขาย หรือจำนำ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ของของตัวเอง หรือไปยืมของคนอื่นมาใช้แล้วเอาไปขายอีก ถ้าทำแบบนี้จะมีความผิดยักยอกทรัพย์ได้นะ ทางที่ดีที่สุดคือหาทางผ่อนชำระหนี้คืน หรือขอไกล่เกลี่ยผ่อนจ่าย แต่ถ้าดอกเบี้ยสูงเกินไปก็สามารถพึ่งพากระบวนการทางกฎหมายได้ หรือจะติดต่อทนายความเพื่อปรึกษา และหาทางแก้ไขเรื่องหนี้นอกระบบก็เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp