1

JusThat

คดีอาญา
คืออะไร

“จะจับเข้าคุก” เป็นความผิดอาญาที่เวลามีคนทำผิด เช่น ทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สิน ขโมยของไป หรือทำร้ายจิตใจ คนที่โดนทำร้ายไม่ว่าจะเป็นร่างกาย จิตใจ หรืออะไรก็แล้วแต่มักจะบอกว่าจะให้ตำรวจจับเข้าคุก จะพาตำรวจมาลากคอถึงบ้าน แต่คดีอาญาจำเป็นต้องขังคุกทุกกรณีไหม เราต้องทำความรู้จักคดีอาญากันก่อน

คดีอาญา คือ คดีที่ฟ้องร้องกันเพราะมีการทำความผิดทางอาญา หรือที่พูดกันง่ายๆ ว่า ฟ้องร้องเพื่อให้อีกฝ่าย

  • ติดคุก 
  • โดนปรับ
  • ถูกกักขัง
  • โดนริบทรัพย์สิน
  • ประหารชีวิต

 

ซึ่งจะมีความผิดอะไร ต้องรับโทษยังไง ขึ้นอยู่กับความผิดที่ทำและโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ตามแต่ละกรณี  เราจะกำหนดโทษให้คนผิดเองไม่ได้นะ หรือจะแกล้งดำเนินคดีเพราะหมั่นไส้ หรือแจ้งความเท็จเพราะไม่พอใจคนอื่นก็ทำไม่ได้ จะดำเนินคดีอาญาใครต้องทำเฉพาะในกรณีที่มีมูลเหตุเท่านั้น เพราะการแกล้งคนอื่นด้วยการใช้สิทธิ์ทางกฎหมาย แจ้งความเท็จให้คนอื่นต้องรับโทษ นอกจากจะเสียเวลาแล้ว คนแจ้งต้องรับโทษด้วยอาญาด้วยนะ

คดีอาญา
มีกี่ประเภท

คดีอาญาจะถูกแบ่งออกเป็น ความผิดยอมความไม่ได้หรืออาญาแผ่นดิน และความผิดที่ยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัว  คุณคงนึกภาพออกแล้วแต่เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เรามาดูความหมายเพิ่มเติมกัน

1. ความผิดอาญาแผ่นดิน ผู้ถูกกระทำได้รับผลกระทบโดยตรงและมีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม

แปลว่าสังคมก็เสียหายไปด้วย ทำให้รัฐต้องดำเนินคดี ยอมความกันไม่ได้ แม้ไม่มีการแจ้งความตำรวจก็สามารถเข้ามาดำเนินคดีได้ และอัยการสั่งฟ้องได้โดยไม่มีต้องมีผู้เสียหายร้องทุกข์ เช่น

2. ความผิดต่อส่วนตัว ผู้ถูกกระทำได้รับผลกระทบโดยตรงแต่ไม่มีผลกับสังคมโดยรวม

ทำให้ถ้าจะเอาเรื่องต้องแจ้งความดำเนินคดีเอง หรือฟ้องศาลเพื่อดำเนินคดีเอง เพราะคนอื่นจะทำแทนไม่ได้ ตำรวจจะเข้าไปดำเนินคดีเลยไม่ได้ เป็นความผิดที่ยอมความกันได้ พอยอมความแล้วการดำเนินคดีก็จะสิ้นสุดลง เช่น

คดีอาญา
ใครมีส่วนเกี่ยวข้องบ้าง

เมื่อเราไปแจ้งความดำเนินคดีอาญา จะมีบุคคลหลายส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งตัวเราเองที่เป็นคนถูกกระทำ คนที่ทำคนอื่น พนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน พิสูจน์ สืบความเป็นมา วิเคราะห์ ตัดสินใจว่าแต่ละกรณีมีความผิดข้อหาอะไร แล้วฟ้องคดีต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดี

  1. ผู้เสียหาย คือ ผู้ที่ถูกกระทำ ได้รับความเสียหายจากการทำผิดของคนอื่นในทางอาญา รวมทั้งคนอื่นที่มีอำนาจจัดการแทน เช่น ผู้แทนนิติบุคคล ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ เป็นต้น
  2. ผู้ต้องหา คือ ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าทำความผิดแต่ยังไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาล ยังอยู่ในชั้นสอบสวน
  3. จำเลย  จะเป็นก็ต่อเมื่อถูกฟ้องต่อศาลแล้วโดยข้อหาว่าทำความผิด
  4. พนักงานอัยการ คือ ผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล
  5. พนักงานสอบสวน คือ เจ้าพนักงานที่กฎหมายกำหนดให้มีอำนาจ และหน้าที่ในการสอบสวน เช่น ตำรวจที่มียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป หรือที่เรียกกันว่าตำรวจสอบสวนนั่นเอง

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

ในกรณีที่อัยการเป็นคนฟ้องศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และมาตรา 121 กําหนดเงื่อนไขไว้ว่า ต้องสอบสวนในความผิดน้ันก่อน และคนที่มีอำนาจสอบสวนก็คือพนักงานสอบสวน    

ถ้าเป็นความผิดอันยอมความได้ ตำรวจจะสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อมีการแจ้งความโดยผู้เสียหายเท่านั้น ดังนั้น ในคดีความผิดอันยอมความได้อัยการจะเป็นผู้ฟ้องคดีได้ก็ต่อเมื่อผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องทุกข์แล้ว

คดีอาญา
มีโทษ 5 สถาน

โทษทางอาญามีทั้ง ประหารชีวิต  จำคุก  กักขัง  ปรับ  และริบทรัพย์สิน หนักเบาตามความผิดที่ทำ บางฐานความผิดอาจต้องรับโทษทั้งจำทั้งปรับเลยก็ได้

  1. โทษประหารชีวิต
  2. โทษจำคุก จำเลยจะถูกขังในเรือนจำ วันแรกที่เข้าไปในคุกจะถูกนับเป็น 1 วันเต็ม ไม่จำเป็นต้องครบ 24 ชม.  ถ้ากำหนดระยะจำคุกเป็นเดือนก็นับ 30 วันเต็ม เป็น 1 เดือน ถ้ากำหนดเป็นปี ต้องคำนวณปีปฏิทิน
  3. โทษกักขัง จำเลยจะถูกกักขังไว้ในสถานที่กักขังที่ไม่ใช่เรือนจำ สถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน
  4. โทษปรับ  จำเลยต้องชำระเงินตามจำนวนที่ศาลสั่ง ถ้าไม่จ่ายภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา อาจถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือถูกกักขังแทนค่าปรับ แต่ถ้าศาลมีเหตุสงสัยว่าจำเลยจะไม่จ่ายค่าปรับ ศาลอาจสั่งให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับไปก่อนก็ได้ ถืออัตรา 500 บาทต่อหนึ่งวัน และหักวันขังในวันที่ถูกควบคุมตัวมาก่อนด้วย ไม่ว่าจะเป็นชั้นสอบสวนหรือชั้นศาล 
  5. โทษริบทรัพย์ จะริบทรัพย์ที่ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ทำความผิด หรือเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการทำความผิด แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินของคนอื่นที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วย เจ้าของสามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลได้นะ

 

คดีอาญา
อายุความ

อายุความของคดีอาญามีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย ระหว่างคดีอันยอมความได้และคดีอันยอมความไม่ได้

1. คดีที่ยอมความได้ต้องแจ้งความดำเนินคดีภายใน 3 เดือน หรือฟ้องศาลภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวคนทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96

และสำหรับการฟ้องศาลเองไม่จำเป็นต้องแจ้งความก่อนนะ ติดต่อทนายความแล้วไปฟ้องศาลได้เลย แต่ถ้าแจ้งความไว้แล้วแต่ไม่อยากรอ ก็สามารถไปฟ้องคดีต่อศาลเองได้ ซึ่งกรณีที่มีการแจ้งความมาแล้ว จะนับอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95


2. กำหนดอายุความความผิดอันยอมความไม่ได้ และความผิดยอมอันความได้ที่เคยแจ้งความมาแล้ว หรือยังไม่รู้เรื่องว่ามีการทำผิด ยังไม่รู้ตัวคนผิด ไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95

“ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ”

(1) 20 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี

(2) 15 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 7 ปี แต่ยังไม่ถึง 20 ปี

(3) 10 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี ถึง 7 ปี

(4) 5 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า1 เดือน ถึง 1 ปี

(5) 1 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น


3. ถ้ามีการฟ้องและได้ตัวคนทำความผิดไปศาลแล้วแต่มีการหลบหนีหรือวิกลจริต

และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนด นับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ให้ถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน 


4. มีการพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่คนผิดหลบหนี ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98

ระบุไว้ว่า “เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่ผู้กระทำผิดหลบหนี แล้วแต่กรณีเกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้” 

(1) 20 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี

(2) 15 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 7 ปี แต่ยังไม่ถึง 20 ปี

(3) 10 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี ถึง 7 ปี

(4) 5 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าตั้งแต่ 1 ปีลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น

คดีอาญา
ถูกฉ้อโกงต้องรีบฟ้อง

คดีฉ้อโกงเป็นความผิดอาญาที่ตกลงยอมความกันได้ ทันทีที่รู้ว่าถูกโกงและรู้ตัวคนทำจะเป็นการเริ่มนับอายุความทันที ทำให้ต้องรีบฟ้องหรือแจ้งความภายใน 3 เดือน ไม่อย่างนั้นก็จะขาดอายุความ ทำให้เรียกร้องอะไรไม่ได้ คนผิดก็ลอยนวล และอย่าเพิ่งคิดจะประจานคนโกงล่ะ เพราะแทนที่จะได้เอาเรื่องเขา อาจกลายเป็นเราที่ต้องถูกเขาดำเนินคดีหมิ่นประมาท หรือหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาแทนได้นะ

การดำเนินการทางกฎหมายจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ถ้าทรัพย์สินที่ถูกฉ้อโกงไปมีมูลค่าที่สูง หรือมีความเสียหายเกิดขึ้นด้วย การจ้างทนายความฟ้องดำเนินคดีก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะการดำเนินคดีเองจะสามารถเรียกร้องให้คนผิดชดใช้ค่าเสียหายได้ด้วย  

แต่ก่อนฟ้องใครต้องดูให้แน่ใจว่าเขามีเจตนาที่จะโกงไหม หรือเป็นการผิดสัญญากัน ถ้าเป็นการผิดสัญญาก็ต้องฟ้องเรียกให้ชดใช้ทางแพ่งอย่างเดียวนะ เพราะเขาไม่มีความผิดอาญาจะฟ้องเพื่อให้รับโทษทางอาญาไม่ได้ 

ดังนั้นการปรึกษา ขอคำแนะนำจากทนายความให้ช่วยดูว่าจะสามารถดำเนินคดีอะไรได้บ้าง ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี เพราะนอกจากจะดำเนินคดีได้ถูกต้องแล้ว ทนายความจะสามารถรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้เราได้ด้วย

JusThat – รู้โอกาสแพ้ชนะ
ฟ้องแล้วคุ้ม? ภายใน 5 นาที

1

Bangkok, Thailand 
Line @justhatapp