ถูกทนายความกลั่นแกล้งทางคดี จ้างทนายความแต่ไม่ติดตามคดีให้ ทนายความทิ้งคดี ทนายความนำข้อมูลไปบอกฝ่ายตรงข้าม ทนายความไม่แจ้งความคืบหน้าของคดี มีทนายความแต่ไม่ได้ไปศาลตามนัดเพราะทนายความไม่บอก ทนายความข่มขู่เอาเงินเพิ่มเติมจากที่ตกลงกันไว้ ทนายความเอาเงินลูกความไปใช้ ถูกทนายความหลอกให้เงินไปแล้วหายเงียบ
JusThat จึงรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการร้องเรียนทนายความด้วยตัวเองมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางให้เพื่อน ๆ สามารถนำไปปรับใช้ในการยื่นคำกล่าวหาคดีมรรยาททนายความได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
ทนายความ คือ บุคคลที่สภาทนายความรับจดทะเบียน และได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความจากสภาทนายความให้ว่าความ แก้ต่างคู่ความในคดี
โดยมีสภาทนายความทำหน้าที่กำกับดูแลทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และมีการบังคับใช้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 ด้วย เพื่อให้ทนายความทุกคนปฎิบัติตามแนวทางของวิชาชีพ โดยมีคณะกรรมการมรรยาททนายความ ที่ถูกตั้งแยกออกมาจากสภาทนายความคอยดูแลเรื่องที่เกี่ยวกับมรรยาททนายความโดยตรง
เรื่องอะไรบ้างที่เข้าข่ายผิดมรรยาททนายความ
จะร้องเรียนเรื่องผิดมรรยาททนายความ ต้องดูว่าพฤติกรรมว่าเขาทำผิดมรรยาททนายความข้อไหน หมวดใด ซึ่งข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ แบ่งออกเป็น 5 หมวด ประกอบด้วย
สำหรับมรรยาททนายความข้อที่มีผลกระทบกับลูกความและประชาชนที่สำคัญ มีดังนี้
มรรยาทต่อศาลและในศาล
ข้อ 6 ไม่เคารพยำเกรงอำนาจศาล หรือกระทำการใดอันเป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในศาลหรือนอกศาล อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาลหรือผู้พิพากษา
ข้อ 7 กล่าวความ หรือทำเอกสารหรือหลักฐานเท็จ หรือใช้กลอุบายลวงให้ศาลหลง หรือกระทำการใดเพื่อทราบคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาลที่ยังไม่เปิดเผย
ข้อ 8 สมรู้เป็นใจโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อทำพยานหลักฐานเท็จ หรือเสี้ยมสอนพยานให้เบิกความเท็จหรือโดยปกปิดซ่อนงำอำพรางพยานหลักฐานใดๆ ซึ่งรวรนำมายื่นต่อศาล หรือสัญญาจะให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน หรือสมรู้เป็นใจในการให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน
มรรยาทต่อตัวความ
ข้อ 9. กระทำการใดอันเป็นการยุยงส่งเสริมให้มีการฟ้องร้องคดีกันในกรณีอันหามูลมิได้
ข้อ 11 เปิดเผยความลับของลูกความที่ได้รู้ในหน้าที่ของทนายความ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากลูกความนั้นแล้ว หรือโดยอำนาจศาล
ข้อ 10 ใช้อุบายอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ เพื่อจูงใจให้ผู้ใดมอบคดีให้ว่าต่าง หรือแก้ต่าง
ข้อ 12 กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ อันอาจทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ
ข้อ 13 ได้รับปรึกษาหารือ หรือได้รู้เรื่องกรณีแห่งคดีใดโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องกับคู่รวามฝ่ายหนึ่ง แล้วภายหลังไปรับเป็นทนายความหรือใช้ความรู้ที่ได้มานั้นช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นปรปักษ์อยู่ในกรณีเดียวกัน
ข้อ 15 กระทำการใดอันเป็นการฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ หรือครอบครอง หรือหน่วงเหนี่ยวเงินหรือทรัพย์สินของลูกความที่ตนได้รับมาโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องไว้นานกว่าเหตุ โดยมิได้รับความยินยอมจากลูกความ เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควร
มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชน
ข้อ 16 แย่ง หรือทำการใดในลักษณะประมูลคดีที่มีทนายความอื่นว่าต่างแก้ต่างอยู่แล้วมาว่า หรือรับ หรือสัญญาว่าจะรับว่าต่าง แก้ต่างในคดีที่รู้ว่ามีทนายความอื่นว่าอยู่แล้ว เว้นแต่
ข้อ 17 ประกาศโฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นประกาศโฆษณาใดๆ ดังต่อไปนี้
ข้อ 18 ประกอบอาชีพ ดำเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีหรือเป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความ
ข้อ 19 ยินยอมตกลง หรือให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ค่านายหน้าหรือบำเหน็จรางวัลใดๆ ด้วยทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ แก่ผู้ที่หาคดีความหรือนำคดีความมาให้ หรือมีคนประจำสำนักงานดำเนินการจัดหาคดีความมาให้ว่า โดยทนายความผู้นั้นคิดค่าส่วนลดของค่าจ้างให้ หรือให้เงินเดือน หรือเงินจำนวนหนึ่งจำนวนใด หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างใดๆ แก่ผู้ทีหาคดีความมาให้นั้น แม้บุคคลผู้หาคดีความมาให้ในลักษณะดังกล่าวจะเป็นเสมียนหรือลูกจ้างประจำ สำนักงานของทนายความผู้นั้นก็ตาม
ผู้ที่จะกล่าวหาว่าทนายความทำผิดมรรยาททนายความได้ ต้องผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้รับผลกระทบ หรือได้รับความเสียหายจากการทำความผิดของทนายความคนนั้น ดังนั้น ประชาชนทั่วไปก็สามารถยื่นคำกล่าวหาต่อประธานกรรมการมรรยาททนายความได้ เช่น ถูกทนายความทิ้งคดี ทนายความไม่ติดตามคดี ทนายความไม่แจ้งเรื่องที่ต้องแจ้งให้ทราบ ถูกทนายความหลอกลวง ตกลงค่าจ้างแล้วทนายความข่มขู่เอาผลประโยชน์อื่นเพิ่มเติม หรือเห็นว่ามีทนายความมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ก็สามารถยื่นคำกล่าวหาได้เช่นกัน
ผู้มีสิทธิกล่าวหาว่าทนายความประพฤติผิดมรรยาทคือ
โดยต้องยื่นคำกล่าวหาภายใน 1 ปีนับแต่ผู้มีสิทธิกล่าวหารู้เรื่องการประพฤติผิดมรรยาททนายความ และเมื่อรู้ตัวผู้ประพฤติผิด แต่ต้องไม่เกิน 3 ปีนับแต่วันประพฤติผิดมรรยาททนายความ
ทั้งนี้ การกลั่นแกล้งผู้อื่นด้วยการยื่นคำกล่าวหาใด ๆ ที่ไม่เป็นความจริง จะทำให้เกิดผลเสียตามมาอีกมากมาย เช่น ร้องเรียนไปแล้วแต่มีหนังสือเรียกแล้วไม่ยอมไป ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ส่งพยานหลักฐานตามหนังสือเรียก จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา 83 ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดไม่มาตามหนังสือเรียก ตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง ซึ่งให้มาเพื่อให้ถ้อยคำ หรือให้ส่ง หรือวัตถุใด หรือมาตามหนังสือเรียกแล้ว แต่ไม่ยอมให้ถ้อยคำโดยปราศจากเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
และการถอนคำกล่าวหาก็ไม่ใช่สิ่งที่อยากจะถอนก็ถอนได้เลย แต่ต้องยื่นคำร้องขอถอนคำกล่าวหาให้คณะกรรมการมรรยาททนายความพิจารณาก่อน ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ พ.ศ. 2546 ข้อ 45 โดยต้องมีมติที่ประชุมให้ถอนคำกล่าวหาไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการมรรยาททนายความที่มาประชุม จึงจะถอนคำกล่าวหาได้ ตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 64 วรรคท้าย
การยื่นคำกล่าวหาทนายความว่าเขาทำผิดอะไรบ้าง ผู้กล่าวหาไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ก็ได้นะ เพราะตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ พ.ศ. 2546 ข้อ 15 กำหนดไว้ว่า “คำกล่าวหาให้ยื่นต่อประธานกรรมการมรรยาททนายความ ในการนี้อาจยื่นคำกล่าวหาโดยส่งทางไปรษณีย์ก็ได้”
ดังนั้น เราจึงสามารถยื่นคำกล่าวหาต่อประธานกรรมการมรรยาททนายความได้ 2 ช่องทาง คือ
การร้องเรียนมรรยาททนายความ จะเรียกผู้ร้องเรียนว่า “ผู้กล่าวหา” และเรียกทนายความที่ถูกร้องเรียนว่า “ผู้ถูกกล่าวหา” โดยทำคำกล่าวหาเป็นหนังสือไปยื่นต่อประธานกรรมการมรรยาททนายความ ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถใช้แบบฟอร์มของสภาทนายความ หรือจะเขียนเป็นจดหมายธรรมดาก็ได้ แต่ต้องมีองค์ประกอบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ พ.ศ. 2546 ข้อ 14 ดังนี้
คำกล่าวหา
เอกสารที่จำเป็นต้องใช้
เพื่อน ๆ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดแบบฟอร์มสำหรับยื่นคำกล่าวหาได้ ที่นี่ โดยเรียงลำดับเอกสารตามนี้
การยื่นคำกล่าวหานั้นยังไม่ต้องใส่หมายเลขคดีนะ และต้องกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ถูกต้อง และชัดเจน สำหรับบัญชีระบุพยาน กรณีเป็นพยานบุคคลต้องระบุชื่อ นามสกุล ที่อยู่ของพยานให้ถูกต้องด้วยนะ แต่ถ้าเป็นพยานวัตถุหรือพยานเอกสารไม่ต้องใส่ที่อยู่ แต่ต้องระบุให้ชัดเจนว่าพยานที่อ้างคืออะไร เช่น สำเนาการสนทนาผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ระหว่างผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหา แฟลชไดรฟ์บันทึกคลิปวิดีโอจากกล้องวงจรปิดขณะเกิดเหตุ เมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้น หลังจากเตรียมเอกสารต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ให้ถ่ายสำเนาเอกสารทั้งหมด 5 ฉบับเพื่อใช้ยื่นไปด้วย และอย่าลืมรับรองสำเนาถูกต้องด้วยนะ
การร้องเรียนมรรยาททนายความ ทนายความที่ถูกกล่าวหาจะยังไม่ได้รับการลงโทษในทันทีนะ ต้องมีการตรวจสอบ สวบสวนจากคณะกรรมการสอบสวนตามขั้นตอนก่อน ทั้งนี้ ระยะเวลาเสร็จสิ้นจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของคดีและความสมบูรณ์ของพยานหลักฐานด้วย
วันนัดพร้อม เป็นนัดที่ผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหาต้องไปชี้แจงให้คณะกรรมการสอบสวนทราบว่า มีใครเป็นพยานบุคคลบ้าง จะพามาพบเองหรือจะให้ออกหมายเรียก มีพยานหลักฐานอื่นที่ยังไม่ได้นำมายื่นไหม ต้องให้ออกหมายเรียกพยานหลักฐานไหม และจะมีการนัดสอบสวน
ถ้าผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหาไม่ไปในวันนัดพร้อมและไม่แจ้งเหตุผลที่ไม่ไป คณะกรรมการสอบสวนจะนัดสอบสวนเฉพาะพยานที่ปรากฎในสำนวนเท่านั้นนะ ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ พ.ศ. 2546 ข้อ 25
วันนัดสอบสวน ก็ห้ามขาดนัดเช่นกัน หากคณะกรรมสอบสวนให้โอกาสแล้วไม่ยอมไป ก็จะมีคำสั่งว่าผู้กล่าวหาไม่มีพยานให้สอบสวน ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ พ.ศ. 2546 ข้อ 26
กรณีผู้กล่าวหาเสียชีวิตก่อนที่จะสอบสวนเสร็จ ทายาท ผู้จัดการมรดก ผู้ปกครองทรัพย์มรดก หรือผู้สืบสิทธิของผู้กล่าวหา หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถยื่นคำขอเข้าแทนที่ได้
เช่น A เป็นผู้กล่าวหา ต่อมา A เสียชีวิตตอนที่ยังสอบสวนไม่เสร็จ C ทายาทของ A มีสิทธิ์ยื่นคำขอเข้าแทนที่ A ได้ โดยต้องยื่นคำขอภายใน 1 ปีนับตั้งแต่ผู้กล่าวหาเสียชีวิต ถ้าไม่ยื่นคำขอภายใน 1 ปี คณะกรรมการสอบสวนจะสรุปความเห็น เพื่อเสนอคณะกรรมการมรรยาททนายความให้จำหน่ายคดีออกไป
แต่ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า มีพยานคนอื่นที่ปรากฎอยู่ในสำนวนรู้เห็นข้อเท็จจริง รู้รายละเอียดต่าง ๆ ก็จะมีการสอบสวนต่อไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องมีทายาทรับมรดกความก็ได้
กรณีที่ทนายความผู้ถูกกล่าวหาเสียชีวิตก่อนที่จะสอบสวนเสร็จ ก็จะมีการจำหน่ายคดีออกไปเช่นกัน ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการพิจารณาคดีมรรยาททนายความ พ.ศ. 2546 ข้อ 27
การดำเนินคดีมรรยาททนายความนั้นจะต้องยื่นคำกล่าวหาต่อประธานกรรมการมรรยาททนายความเท่านั้น แต่เพื่อน ๆ สามารถป้องกันความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ ด้วยการเลือกทนายความที่สามารถไว้วางใจได้ และก่อนที่จะเซ็นเอกสารหรือสัญญาใดใดก็ควรตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วนก่อนทุกครั้งนะ
รู้หรือไม่?! คดีแพ่งสามารถฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท ประหยัดค่าจ้างทนายความได้หลายหมื่นบาท
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp