ในยุคที่ผู้คนต้องแข่งกันหางานทำ นายจ้างเองก็อยากลดค่าใช้จ่ายเพื่อควบคุมต้นทุน เหตุการณ์นายจ้างเลิกจ้างพนักงานอย่างไม่เป็นธรรมจึงเกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ บางคนถูกไล่ออกกะทันหันโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ถูกลอยแพโดยไม่มีความผิด ทำให้ตั้งตัวไม่ทันเกิดปัญหาการเงินติดขัด ทั้งค่าบ้าน ค่ารถ ค่าอาหารแมว และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกมากมายที่ต้องจ่าย
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม คุณสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ ซึ่งจะเรียกได้มากน้อยแค่ไหนต้องดูอายุงาน รวมถึงค่าชดเชยที่คุณมีสิทธิได้รับ ความเดือดร้อนและความเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการโดนเลิกจ้าง และสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือสาเหตุของการเลิกจ้าง
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม คือ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีเหตุผลที่สมควร เลิกจ้างโดยที่ไม่ใช่ความจำเป็นของกิจการที่ทำอยู่ เช่น ถูกไล่ออกเพราะไม่ยอมไปกินข้าวกับหัวหน้างาน ถูกไล่ออกเพราะโดนใส่ร้ายจากเพื่อนร่วมงาน มาช้าไป 10 นาทีโดนไล่ออก หรือเจ้านายไม่ชอบเลยเลิกจ้างไปเฉย ๆ ไม่ให้ผ่านทดลองงานแต่การประเมินผลไม่มีประสิทธิภาพมากพอ เป็นต้น
และนอกจากค่าเสียหายแล้ว คุณจะต้องได้รับเงินตามสิทธิของคุณด้วย ไม่ว่าจะเป็น…
สิ่งที่มักเข้าใจผิดกัน ถึงแม้นายจ้างจะจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้แล้วก็ไม่ถือเป็นการ “เลิกจ้างอย่างเป็นธรรม” เพราะการจ่ายเงินตามสิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างต้องได้รับเป็นผลจากการเลิกจ้าง แต่สาเหตุของการเลิกจ้างยังไม่ได้หายไป ลูกจ้างจึงยังมีสิทธิ์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ โดยยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน ซึ่งปัจจุบันกำหนดดอกเบี้ยไว้ที่ 5% ต่อปี และมีอายุความ 10 ปี
ค่าชดเชย มีวิธีนับ 2 แบบ ซึ่งจะได้ค่าชดเชยมากหรือน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ทำงานว่าเป็นพนักงานมานานแค่ไหนแล้ว
1. ลูกจ้างที่รับค่าจ้างตามผลงานต้องนับค่าจ้างย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ถูกเลิกจ้าง
2. ลูกจ้างที่คิดค่าจ้างแบบรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน รายชั่วโมง ต้องนำค่าจ้างมาคิดเป็นวันแล้วคูณด้วยจำนวนวันตามที่กฎหมายกำหนด
ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า จะนับตั้งแต่ “วันที่ถูกเลิกจ้าง” ถึง “วันจ่ายค่าจ้างครั้งถัดไป” มาดูตัวอย่างการคิดกัน
ตัวอย่างการคิดค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
ปกติบริษัทจะจ่ายเงินให้ทุกวันสิ้นเดือน แต่ทั้ง A และ B ถูกให้ออกจากงานทันทีในวันที่ 5 ตุลาคม 2564
กรณีที่ 1 A เงินเดือน 15,000 ทำงานมานาน 2 ปี A ต้องได้รับ
ค่าจ้าง ของวันที่ 1-5 ต.ค. 64 รวม 5 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท
ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ของวันที่ 6 ต.ค. 64 จนถึงวันที่จ่ายเงินครั้งถัดไป คือวันที่ 30 พ.ย. 64 รวม 27,500 บาท
แบ่งเป็น ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าของวันที่ 6-31 ต.ค. 64 รวม 25 วัน จำนวน 12,500 บาท
และค่าบอกกล่าวล่วงหน้าของวันที่ 1-30 พ.ย. 64 รวม 30 วัน จำนวน 15,000 บาท
ค่าชดเชย อีกอย่างน้อย 90 วัน = (15,000/30)*90 = 45,000 บาท
ข้อสังเกต การนับค่าบอกกล่าวล่วงหน้าของวันที่ 6-31 ต.ค. 64 จะไม่นับ 26 วัน ( 13,000 บาท ) เพราะ A ได้ค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท และได้รับค่าจ้างของวันที่ 1-5 ต.ค. 64 แล้ว 2,500 บาท A เลยได้ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าของเดือน ต.ค. 64 จำนวน 12,500 บาท ซึ่งรวมกันแล้วจะได้ 15,000 บาท พอดีนั่นเอง
กรณีที่ 2 B ได้รับค่าจ้างวันละ 600 บาท หยุดประจำสัปดาห์ทุกวันอาทิตย์และทำงานมานาน 6 เดือน B ต้องได้รับ
ค่าจ้าง ของวันที่ 1-5 ต.ค. 64 รวม 4 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ของวันที่ 6 ต.ค. 64 จนถึงวันที่จ่ายเงินครั้งถัดไป คือวันที่ 30 พ.ย. 64 รวม 28,800 บาท
แบ่งเป็น ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าของวันที่ 6-31 ต.ค. 64 รวม 22 วัน จำนวน 13,200 บาท
และค่าบอกกล่าวล่วงหน้าของวันที่ 1-30 พ.ย. 64 รวม 26 วัน จำนวน 15,600 บาท
ค่าชดเชย อีกอย่างน้อย 30 วัน = 600*30 = 18,000 บาท
ข้อสังเกต การนับค่าจ้างและค่าบอกกล่าวล่วงหน้าของ B จะนับเงินเฉพาะวันทำงานปกติ (จ.-ส.) เท่านั้น เพราะลูกจ้างรายวันไม่มีสิทธิได้รับเงินในหยุดประจำสัปดาห์ B จึงไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินของวันอาทิตย์นั่นเอง
ไม่ใช่ทุกกรณีที่ไล่ออกแล้วนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย หรือค่าบอกกล่าวล่วงหน้า เช่น ลูกจ้างทุจริต ขโมยเงินนายจ้าง ยักยอกทรัพย์นายจ้าง ทำร้ายร่างกายนายจ้าง จงใจทำให้บริษัทเสียหาย เอาข้อมูลออกไปขายให้คู่แข่ง หรือทำผิดกฎหมายอาญาอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้าง แบบนี้นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าสักบาทเดียว หรือไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยด้วยในกรณีที่นายจ้างระบุความผิดไว้ในหนังสือเลิกจ้างอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ลูกจ้างต้องทำผิดนั้นจริง ๆ ด้วยนะ เพราะถ้าลูกจ้างไม่ได้ทำความผิดตามที่นายจ้างอ้าง ฝ่ายลูกจ้างก็สามารถเรียกร้องความเป็นธรรมให้ตัวเองได้เช่นกัน
ถ้าเป็นลูกจ้างแล้วนายจ้างไม่ยอมจ่าย สามารถใช้สิทธิ์เรียกร้องได้สองแบบ แต่เลือกได้ทางเดียวนะ ซึ่งจะมีข้อแตกต่างคือการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
แบบที่ 1 ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน
ข้อดี – ฟรี เรียกเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานได้ทุกประเภท
ข้อเสีย – เรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ได้
ให้เราไปติดต่อที่ “สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน” ในเขตพื้นที่ที่ทำงานหรือที่บริษัทตั้งอยู่ แล้วแจ้งเรื่องกับพนักงานตรวจแรงงานได้เลย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเข้ามาไกล่เกลี่ยและออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้เราภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีคำสั่ง (ถ้าหากนายจ้างผิดจริง) แต่นายจ้างก็มีสิทธิ์นำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงาน โดยเราติดตามผลคดีที่ศาลแรงงานได้ด้วยตัวเอง
ถ้าหากนายจ้างไม่จ่าย ไม่หือ ไม่อือ เมื่อพ้นกำหนดตามคำสั่ง ให้เราเอาคำสั่งไปยื่นเรื่องขอรับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้เลย หรือถ้าเราไม่พอใจในคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ก็สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานได้ภายใน 30 วันหลังจากได้รับคำสั่งเช่นกัน
แบบที่ 2 ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงานโดยตรง
ข้อดี – เรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ และ เรียกเงินอื่น ๆ เช่น ค่าจ้าง ค่าชดเชย ก็ได้เช่นกัน
ข้อเสีย – อาจถูกศาลยกฟ้องได้ถ้าดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอน
ถ้าคุณต้องการเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หรือไม่อยากเสียเวลาในการดำเนินการหลายขั้นตอน ก็สามารถฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ โดยยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงานที่มีเขตอำนาจตามพื้นที่ที่ทำงานอยู่ หรือตามภูมิลำเนาของตนเอง
รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท ประหยัดค่าจ้างทนายความได้หลายหมื่นบาท
ไล่พนักงานที่ไม่มีความผิดออกกะทันหันแถมไม่จ่ายเงินตามสิทธิของลูกจ้าง นายจ้างผิดกฎหมายข้อไหน อย่างไรบ้าง
1. ไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย มีโทษทางอาญาตามมาตรา 144 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มีโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่ง 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่มีความผิดตามมาตรา 119 ไม่ว่าจะเพราะสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือนายจ้างดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้ ยกเว้นการเลิกจ้างลูกจ้างที่มีหนังสือสัญญาจ้างในโครงการเฉพาะที่กำหนดเวลาสิ้นสุดภายใน 2 ปีไว้อย่างชัดเจน ดังนี้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17/1 กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าบออกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทันทีในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 17
ซึ่งมาตรา 17 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดไว้ว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาโดยไม่ต้องบอกล่วงหน้า แต่ถ้าเป็นสัญญาที่ไม่กำหนดระยะเวลาเอาไว้จะต้องแจ้งให้อีกฝ่ายรับรู้เป็นหนังสือภายในวันที่จ่ายค่าจ้าง เพื่อให้มีผลสิ้นสุดสัญญากันในวันจ่ายค่าจ้างครั้งถัดไปโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าเกิน 3 เดือน หากต้องการให้ออกทันทีต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้าง และกำหนดให้สัญญาทดลองงานเป็นสัญญาที่ไม่กำหนดระยะเวลาด้วย
2. ผิดกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับการเลิกสัญญาจ้างแรงงาน
มาตรา 582 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดเอาไว้เช่นกันว่า ให้การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้จะต้องแจ้งให้อีกฝ่ายรับรู้ภายในวันที่จ่ายค่าจ้าง เพื่อให้มีผลสิ้นสุดสัญญากันในวันจ่ายค่าจ้างครั้งถัดไปโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าเกิน 3 เดือน หรือให้ออกเลยแล้วจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างจนถึงวันจ่ายค่าจ้างครั้งถัดไปก็ทำได้
3. ผิดสัญญาจ้างแรงงาน ต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 กำหนดว่า กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้ศาลสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างเดิม แต่ถ้าหากศาลเห็นว่าทั้งสองฝ่ายไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้นายจ้างต้องจ่ายค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน ซึ่งมีหลักเกณฑ์อยู่ว่า
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp