ใครที่เคยโดนผู้รับเหมาโกงหรือสั่งผลิตสินค้าแล้วไม่ได้ตามที่คุย เช่น จ้างให้ต่อเติมบ้านแต่ทำไม่เสร็จแล้วหาย ผลิตสินค้าไม่ตรงเสปคแต่ไม่ยอมแก้ไขให้ถูกต้อง รับเงินไปแล้วแต่ทำงานไม่เสร็จจนเลยกำหนดเวลามานานมาก เป็นต้น ถ้าไปแจ้งความอาจเคยได้ยินประโยคที่ว่า “สัญญาจ้างทำของ ตำรวจรับทำคดีให้ไม่ได้เพราะดูหลักฐานไม่เข้าข่ายฉ้อโกง” หรือเคยโดนโกงรูปแบบอื่นอาจจะเจอประโยคนี้เช่นกัน
สัญญาจ้างทำของ เข้าข่ายเป็นคดีแพ่งเพราะมีสัญญาเกิดขึ้นระหว่างกัน (ผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง) ถึงแม้ทำงานเสร็จไม่ทันหรือจ่ายเงินช้า สำหรับในทางกฎหมายแล้วไม่ถือว่ามีเจตนาที่จะโกงตั้งแต่แรก (ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง) นอกเสียจากว่ามีหลักฐานที่พิสูจน์ได้อย่างแน่นหนาก็สามารถที่จะฟ้องให้เป็นฉ้อโกงได้ เพราะคำว่า “โกง” ในทางกฎหมาย vs. คนทั่วไปไม่เหมือนกัน
ถ้าจ่ายเงินไปแล้วหรือส่งมอบไปแล้ว แต่อีกฝ่ายไม่ทำตามข้อตกลงทวงถามก็บ่ายเบี่ยงหรือหายไปเลย ห้ามโพสต์ประจานอย่างเด็ดขาด !
และถ้าเรามั่นใจว่า “ไอ้นี่ตั้งใจมาโกงแต่แรก มีหลักฐานแน่นมาก” ให้ลองเรียบเรียงเรื่องราวใหม่อีกครั้งแล้วไปแจ้งความใหม่กับคนใหม่ แต่ถ้าทำแล้วและยังไม่ได้อีกแนะนำให้ปรึกษานักกฎหมาย เพราะจะมีเทคนิคการเล่าเรื่องที่ต่างกัน หรืออาจจะบอกเราได้เลยว่าหลักฐานไม่พอจริงๆ
หลักฐานที่ต้องเตรียม
การเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม ต้องดูเป็นกรณี ๆ ไป เช่น
ผิดสัญญาจ้างทำของเป็นคดีแพ่ง จะเรียกค่าเสียหายได้ต้องขอให้ศาลช่วย (ต้องฟ้อง) เพื่อเรียกเงินคืนหรือค่าเสียหายระหว่างกัน
รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท ประหยัดค่าจ้างทนายความได้หลายหมื่นบาท
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ระบุไว้ว่า การจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายนึงไม่ทำตามสัญญา หรือหลอกว่าจะทำให้แต่ไม่ทำเลยตั้งแต่ต้น จะผิดกฎหมายข้อไหนบ้าง
หากมีการตกลงกันแล้วผิดสัญญา จะใช้กฎหมายมาตราใดบังคับได้บ้าง ต้องดูตามรายละเอียดของคดีไปตามแต่ละคดี โดยใช้หลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 7 การจ้างทำของ
ถ้ามีการหลอกลวงว่าจะทำให้ รับเงินไปแล้วหนีหาย หรือหลอกให้ทำงาน ได้ของแล้วไม่จ่าย หนีหาย ไร้การติดต่อ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ระบุไว้ว่า การทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยข้อความที่เป็นเท็จ หรือ ปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกและแจ้งให้ทราบ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยจะมีอายุความ 3 เดือน นับจากวันที่เรารู้ตัวว่าโดนโกงหรือวันที่ความเสียหายเกิดขึ้น
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp