อยู่ในยุคข้าวยากหมากแพง ค่าแรงต่ำ ค่าครองชีพสูง หลายคนจึงต้องมองหาแหล่งปล่อยกู้ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร คนรู้จัก หรือแม้กระทั่งกู้หนี้นอกระบบ
ในเมื่อมีการกู้ยืมก็ต้องมีดอกเบี้ย แต่ถ้าหาก…
กู้ด่วน ปล่อยกู้ปากเปล่า คนรู้จักให้ยืมกัน หรือปล่อยกู้นอกระบบ ไม่ว่าจะกู้แบบไหนเพื่อความสบายใจในการกู้ยืมควรมีเงื่อนไข ดังนี้
กู้เงินมาแล้วดอกเบี้ยถูกกฎหมายแต่ไม่มีจ่าย
ต้องรีบติดต่อเจ้าหนี้เพื่อเจรจาขอปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ หากเจรจาแล้วหาเงินมาจ่ายหนี้ไม่ได้ เจ้าหนี้อาจฟ้องดำเนินคดีและเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ยังไม่สามารถจ่ายคืนได้อีก เจ้าหนี้จึงจะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี จากนั้นศาลจะแจ้งไปยังกรมบังคับคดีให้แต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์ของลูกหนี้ เช่น บ้าน รถ ที่ดิน หรืออายัดเงินเดือน เบี้ยเลี้ยงชีพ เงินโบนัส ตามกรอบที่กฎหมายกำหนด โดยเหลือไว้ให้ลูกหนี้มีติดตัวไว้เลี้ยงชีพด้วยส่วนหนึ่ง
อยากได้เงินคืนเร็ว ๆ ต้องมีการบอกกล่าวทวงถามเป็นหนังสือไปที่ตัวลูกหนี้หรือคนที่ลูกหนี้ระบุให้ติดต่อเพื่อทวงหนี้ก่อน แต่ถ้าทวงเป็นหนังสือแล้วยังไม่ได้คืนให้เตรียม
ลูกหนี้ขอจ่ายหนี้ด้วยของอย่างอื่นหรือจ่ายบางส่วนนอกจากที่ตกลงกันไว้ถือว่าผิดสัญญา
เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะไม่รับชำระได้ เพราะถือว่าลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ถูกต้อง แต่ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับเงื่อนไขให้ใช้อย่างอื่นจ่ายแทนได้หรือยอมให้จ่ายเพียงบางส่วนได้ จะถือว่ามีการจ่ายหนี้ก้อนนั้นคืนให้กันหมดแล้ว
รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท ประหยัดค่าจ้างทนายความได้หลายหมื่นบาท
เจ้าหนี้เก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่ทำสัญญาให้ชัดเจนหรือปลอมแปลงข้อมูลในสัญญา ผิดกฎหมายข้อไหน อย่างไรบ้าง
มาตรา 193/33 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับหนี้ที่มีกำหนดจ่ายคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวด กำหนดอายุความ 5 ปี
มาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเงินคืน สำหรับหนี้ที่จ่ายคืนครั้งเดียว กำหนดอายุความ 10 ปี
มาตรา 653 ระบุไว้ว่า การกู้ยืมเงินมากกว่า 2,000 บาท ถ้าไม่ได้ทำหลักฐานกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ และ ในการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือจะนำสืบการคืนเงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือมีการเวนคืนหรือแทงเพิกถอนหนังสือสัญญากู้ยืมนั้นแล้ว
ในเมื่อกฎหมายกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วแต่ยังมีการเรียกดอกเบี้ยเกินที่กำหนด จึงต้องมีการกำหนดโทษทางอาญาไว้ เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบกัน
มาตรา 4 บุคคลใดให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทำการใด ๆ ที่มีลักษณะเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงิน โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1) เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้
(2) กำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่น ๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืมหรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือ
(3) กำหนดจะเอาหรือรับเอาซึ่งประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือสิ่งของหรือโดยวิธีการใด ๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนสมควรตามเงื่อนไขของการกู้ยืมเงิน
มาตรา 654 กำหนดให้เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ถ้ากำหนดไว้มากกว่านั้นให้ลดลงเป็นร้อยละ 15 ต่อปี
แต่การคิดอัตราดอกเบี้ยที่เกินร้อยละ 15 ต่อปี เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ข้อ 1 ดังนั้นหากมีการเรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี จะถือว่าดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ ลูกหนี้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยและจะต้องนำดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วทั้งหมดไปหักกับเงินต้น เหลือเท่าไหร่จ่ายคืนเท่านั้น
และตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ที่มีการแก้ไขอัตราดอกเบี้ยจากเดิมที่เป็นร้อยละ 7.5 ต่อปี ในมาตรา 7 และมาตรา 224
มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นมาตรา 7 ถ้าต้องเสียดอกเบี้ยให้กันแต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ให้เสียดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี
มาตรา 4 ยกเลิกความในมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นมาตรา 224 ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี ถ้าเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่านั้นด้วยเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้ส่งดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้
ห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
ส่วนการพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกจากนั้นให้พิสูจน์ได้
มาตรา 5 กำหนดให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 224/1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 224/1 ถ้าลูกหนี้มีหน้าที่ผ่อนชำระหนี้เงินเป็นงวดแล้วผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่ง เจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดได้เฉพาะจากเงินต้นของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น ข้อตกลงใดขัดกับความในวรรคหนึ่ง ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp