สั่งซื้อของแต่ไม่ได้ของ คนขายหาย คนซื้อเดือดร้อน เป็นสิ่งที่มีมากขึ้นในยุคของการซื้อขายออนไลน์กำลังได้รับความนิยม หรือแม้แต่การหลอกลวงต่อหน้าก็มีให้เห็นเรื่อย ๆ เช่น ถูกชักชวนให้ลงทุน รู้ตัวอีกทีก็ถูกต้มตุ๋นไปจนแทบหมดตัวซะแล้ว และยิ่งข่าวสารแพร่กระจายได้เร็วมากเท่าไหร่ การหลอกลวง และเหยื่อของการฉ้อโกงก็มีมากขึ้นเท่านั้น เราจึงมักเห็นว่ามีคนถูกโกงให้เห็นเรื่อย ๆ ตามสื่อโซเชี่ยล
คุณอาจกำลังเจอเหตุการณ์ที่ดูเหมือนว่าตัวเองถูกโกงแน่ ๆ คนโกงแบบนี้ต้องเจอแจ้งความข้อหาหลอกลวง แต่เรามาดูกันก่อนว่าต้องเป็นยังไง ถึงจะมีความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
สิ่งสำคัญของการฉ้อโกง คือ ตั้งใจหลอกลวง ตั้งใจโกง ตั้งใจทำให้เข้าใจผิดตั้งแต่แรก ถ้าคนทำผิดไม่ได้มีเจตนาหลอกลวงแต่แรก เช่น ยืมรถไปใช้แต่เกิดการเงินติดขัดเลยเอารถไปจำนำจะไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงแต่มีความผิดอื่นแทนก็คือการยักยอกทรัพย์ หรือเช่าบ้านอยู่จ่ายค่าเช่ามาตลอดทุกเดือนแต่เกิดปัญหาไม่มีเงินมาจ่ายค่าเช่าแบบนี้จะเป็นผิดสัญญาทางแพ่งนะ
การหลอกลวง ฉ้อโกง มีการพัฒนาวิธีการที่แปลกใหม่ไปเรื่อย ๆ ความเสียหายที่เกิดขึ้นคิดเป็นเงินตั้งแต่หลักหน่วยจนถึงหลายสิบล้านก็มีให้เห็นกันมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น…
ถ้าคุณกำลังเจอเหตุการณ์เหล่านี้ให้รีบดำเนินการแจ้งความภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่รู้ตัวคนทำผิดและรู้ว่ามีการทำผิดเกิดขึ้น เพราะความผิดอันยอมความได้มีอายุ 3 เดือนเท่านั้นนะ ยกเว้นการฉ้อโกงประชาชนที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ยอมความไม่ได้ กรณีนี้จะมีอายุความ 10 ปี โดยเตรียม…
แจ้งความข้อหาฉ้อโกงไปแล้วแต่คดีก็ไม่คืบหน้า เพราะตำรวจที่รับผิดชอบต้องดูแลหลายคดี อาจทำให้เกิดความล่าช้า กว่าจะได้ส่งฟ้องและนำคนผิดมาลงโทษและได้ทรัพย์สินคืนก็ต้องใช้เวลานาน การยื่นฟ้องศาลเองภายใน 3 เดือนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวกและประหยัดเวลาได้อีกด้วย หรือถ้าแจ้งความไว้แล้วก็ยังฟ้องศาลเองได้ โดยจะแยกฟ้องอาญาและแพ่งหรือจะฟ้องรวมไปเลยก็ได้นะ เพราะคดีฉ้อโกงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
เนื่องจากความผิดเกี่ยวการฉ้อโกง หลอกลวง ต้มตุ๋น มีหลายลักษณะและมีโทษแตกต่างกันไปตามแต่ละความผิด รวมถึงอาจมีความผิดเกี่ยวกับกฎหมายอื่น ๆ เช่น ความผิดเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ความผิดเกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์ การปรึกษาทนายความเพื่อดูรายละเอียดปลีกย่อยของคดีก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้ดำเนินการได้อย่างถูกต้องรวดเร็วขึ้นได้
จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat
การหลอกลวง ฉ้อโกงคนอื่นมีตั้งแต่หลอกลวงคนคนเดียวไปจนถึงหลอกลวงคนเป็นจำนวนมาก และมีหลากหลายรูปแบบ สิ่งที่ต้องการจากการหลอกลวงก็แตกต่างกันไป และความผิดฐานฉ้อโกงคนอื่นจะมีโทษที่หนักเบาแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของความผิดที่ทำ ซึ่งมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา หมวด 3
1.หลอกลวงธรรมดาทั่วไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.ฉ้อโกงโดยแสดงตัวเป็นคนอื่น หรืออาศัยความเบาปัญญาของเด็ก หรือความอ่อนแอทางจิต มาตรา 342
คนทำผิดตามมาตรานี้จะได้รับโทษหนักขึ้นอีก เพราะทำความผิดกับคนที่อ่อนแอกว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ฉ้อโกงประชาชน มาตรา 343
การฉ้อโกงประชาชนไม่ได้ดูที่จำนวนคนที่ถูกโกงแต่ดูที่เจตนา ถ้าการหลอกลวงทำไปด้วยการแสดงข้อความเท็จ หรือปิดบังความจริงที่ควรบอกให้รู้ และต้องการให้คนทั่วไปทุกคนเชื่อแบบไม่เฉพาะเจาะจงคน จะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่จะมีโทษเพิ่มขึ้นอีก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 7 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 – 140,000 บาท ถ้า…
4. ฉ้อโกงแรงงาน มาตรา 344
ความผิดฐานฉ้อแรงงาน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยต้อง
5. ฉ้อโกงค่าอาหารเครื่องดื่ม เข้าพักโรงแรมฟรี มาตรา 345
ไปหลอกเพื่อให้ได้กิน ดื่ม หรือเข้าพัก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าตัวเองจ่ายไม่ได้แน่ ๆ โดยตั้งใจจะไม่จ่ายตั้งแต่แรก ความผิดนี้มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. ชักจูงเพื่อเอาเปรียบผู้อื่น มาตรา 346
ความผิดในข้อนี้ไม่จำเป็นต้องหลอกลวงแค่ชักจูงให้ทำก็มีความผิดแล้ว
ผู้ใดเพื่อเอาทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม ชักจูงผู้หนึ่งผู้ใดให้จำหน่ายโดยเสียเปรียบซึ่งทรัพย์สิน โดยอาศัยเหตุที่ผู้ถูกชักจูงมีจิตอ่อนแอ หรือเป็นเด็กเบาปัญญา และไม่สามารถเข้าใจตามควรซึ่งสาระสำคัญแห่งการกระทำของตน จนผู้ถูกชักจูงจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินนั้น มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7. ฉ้อโกงประกันภัย มาตรา 347
ความผิดในข้อนี้ต้องมีการแกล้งทำให้เกิดความเสียหายกับวัตถุที่เอาประกันภัยไว้ เพื่อให้ตัวเองหรือคนอื่นได้รับประโยชน์จากการประกันวินาศภัย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จะเห็นว่าความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกง ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การหลอกลวงคนคนเดียว แต่ยังมีความผิดเกี่ยวกับการหลอกคนส่วนมากในสังคมอีกด้วย และในมาตรา 348 ระบุไว้ว่าความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดที่ยอมความได้ทั้งหมด ยกเว้นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา 343 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ยอมความไม่ได้
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp