ในช่วงเศรษฐกิจกำลังตกต่ำ หลายธุรกิจไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ต้องพยายามขายสินค้าให้ได้ ส่วนลูกค้าก็ไม่ค่อยมีเงิน จึงต้องใช้การปล่อยเครดิตให้ลูกค้าเอาของไปก่อน ผ่อนชำระให้ร้านค้าทีหลัง แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเจอมิจฉาชีพแฝงตัวมาเป็นลูกค้าทำเป็นซื้อขายกันเพื่อหลอกเอาของไปแล้วไม่จ่ายเงิน
ถ้าหาก…
เจอเหตุการณ์แบบนี้อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญาฐานฉ้อโกงได้เลย ซึ่งมีโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับเลยทีเดียว
ขายของให้ได้ก็ยากพอตัวแล้ว ยังเจอลูกค้ามาหลอกเอาสินค้าไปแล้วหนีหายไปเลย ให้หาหลักฐานหรือพยานแวดล้อมเท่าที่มี แล้วดำเนินการดังนี้
แจ้งความดำเนินคดีต่อตำรวจสอบสวนในท้องที่ที่เกิดเหตุ
ภายใน 3 เดือน ตั้งแต่วันที่รู้ตัวว่าถูกโกง โดยแสดงหลักฐานหรืออธิบายให้ตำรวจเข้าใจว่า คนที่มาโกง มีเจตนาที่จะไม่จ่ายเงินตั้งแต่แรก และสิ่งที่คนที่มาโกงพูดนั้น ไม่มีอยู่จริง หรือไม่สามารถทำได้ตามที่พูดแน่นอน เป็นการพูดจาหวานล้อมจนทำให้หลงเชื่อจนได้สินค้าไป หรือแจ้งความแล้วตำรวจคดีดำเนินช้า สามารถแต่งตั้งทนายให้ฟ้องอาญาได้ภายใน 10 ปี
ถ้ายังติดต่อลูกค้าได้ แต่ลูกค้าผิดนัดชำระค่าสินค้า ให้นัดเจรจาเพื่อหาข้อไกล่เกลี่ย เช่น เลื่อนการจ่ายออกไปโดยกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนว่าจะได้รับเมื่อไร หรืออาจแบ่งจ่ายเป็นงวด ๆ หรือตามที่ลูกค้าสามารถจ่ายได้ ถ้าลูกค้าไม่ทำตามสัญญา อาจคิดค่าปรับ หรือคิดดอกเบี้ยเพิ่ม หรือเก็บหลักประกันเพิ่มเติมก็ได้
ให้ผ่อนชำระก็แล้ว เลื่อนนัดชำระก็แล้ว แต่ลูกค้ายังผิดนัดซ้ำ ๆ ทวงจนเหนื่อยก็ยังไม่ได้เงิน ให้ทำหนังสือแจ้งเรื่องหนี้ และให้ทนายฟ้องศาลจะรวดเร็วและประหยัดเวลาที่สุด แม้ไม่มีสัญญาซื้อขายก็สามารถฟ้องให้ลูกค้าชำระเงินคืนได้ เนื่องจากสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาไม่มีแบบ โดยมีอายุความ 10 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการผิดสัญญาเกิดขึ้น
แต่ไม่ใช่ว่าผู้ค้าจะเป็นฝ่ายเสียหายเสมอไป ถ้าทำแบบนี้อาจโดนลูกค้ายกเลิกสัญญาและฟ้องได้
รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท ประหยัดค่าจ้างทนายความได้หลายหมื่นบาท
เอาของไปแล้วแต่ไม่ทำตามสัญญาซื้อขายกัน แน่นอนว่าฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้น แต่จะเป็นคดีแพ่งหรืออาญาขึ้นอยู่กับเจตนาขณะที่ทำสัญญากัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 453 ระบุว่า การซื้อขาย คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
ตอนซื้อขายกันทำสัญญากันตามปกติ โดยที่ต่างฝ่ายไม่มีเจตนาจะโกงกันตั้งแต่แรก แต่ผ่านไประยะหนึ่งสถานะทางการเงินไม่ดี ขาดสภาพคล่องเลยไม่มีเงินมาจ่ายเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง เช่น ลูกค้าเอาตู้เย็นไปก่อนโดยไม่มีเจตนาที่จะโกง หรือหลอกลวงเอาไป แต่วันหนึ่งถูกไล่ออกจากงานเลยไม่มีเงินมาชำระค่าสินค้า
ถ้ามีการหลอกเอาสินค้าไปแล้วหนีหาย ไร้การติดต่อ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ระบุไว้ว่า การทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยข้อความที่เป็นเท็จ หรือ ปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกและแจ้งให้ทราบ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยจะมีอายุความ 3 เดือน นับจากวันที่เรารู้ตัวว่าโดนโกง หรือวันที่ความเสียหายเกิดขึ้น
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp