1

JusThat

เบี้ยปรับ
คืออะไร

กู้บ้านไม่ผ่านถูกยึดเงินดาวน์ กลายเป็นเรื่องปกติที่มักถูกยกขึ้นมาพูดคุยปรับทุกข์กัน พอขอคืนจากเงินดาวน์ก็กลายเป็น เบี้ยปรับ ทันที และคำถามที่คาใจหลาย ๆ คนอยู่คงหนีไม่พ้นเขายึดเงินดาวน์เราได้จริงไหม ถ้าอยากยกเลิกสัญญาซื้อบ้านได้เงินคืนไหม หรือกู้คอนโดไม่ผ่าน อยากขอคืนเงินดาวน์แต่ทางโครงการไม่คืนจะทำยังไง

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า เบี้ยปรับ หรือที่เรียกกันว่าค่าปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันเอาไว้ล่วงหน้าว่าจะให้อีกฝ่ายถ้ามีการผิดสัญญาเกิดขึ้น แต่ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อนและไม่มีการผิดนัด หรือผิดสัญญาก็ไม่สามารถยึดหรือเรียกค่าปรับได้เพราะไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นนั่นเอง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ระบุไว้ว่า “ถ้าลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ดี หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรก็ดี เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้ริบเบี้ยปรับ ถ้าการชำระหนี้อันจะพึงทำนั้นได้แก่งดเว้นการอันใดอันหนึ่ง หากทำการอันนั้นฝ่าฝืนมูลหนี้เมื่อใด ก็ให้ริบเบี้ยปรับเมื่อนั้น”

แปลว่า ถ้ามีการตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าจะให้เงินก้อนไหนเป็นค่าปรับได้บ้าง เจ้าหนี้จะสามารถเรียกหรือริบค่าปรับจากเงินก้อนนั้นได้ เช่น

  • ตกลงไว้ว่าจะให้ริบเงินดาวน์ถ้าไม่ทำสัญญาซื้อขายตามที่ตกลง 
  • ตกลงจะจ่ายค่าปรับวันละ 100 บาท ถ้าจ่ายค่าเช่าช้า
  • ลืมจ่ายบัตรเครดิต นัดจ่ายวันที่ 1 แต่จ่ายวันที่ 5 จะเสียค่าปรับ 15% ต่อปี 
  • ให้เจ้าหนี้ยึดเงินประกันถ้าหาเงินมาจ่ายหนี้ไม่ได้

เบี้ยปรับ
ลูกหนี้ต้องรู้

จ่ายบิลช้าเพราะเงินขาดมือ ชักหน้าไม่ถึงหลัง ผ่อนบ้านไม่ไหว ค้างค่างวดรถ จ่ายบัตรเครดิตช้า และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยผิดนัด แต่บางครั้งก็เจอเบี้ยปรับที่แพงแสนแพงเพิ่มมาอีก ทำให้หลายคิดว่าเสียดอกเบี้ย  2 ต่อแบบนี้ผิดกฎหมายแน่ ๆ  เก็บดอกเบี้ยผิดนัดแล้วเก็บค่าปรับเพิ่มได้เหรอ ?

“เบี้ยปรับไม่ใช่ดอกเบี้ยผิดนัด” แต่ให้เพื่อทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเจ้าหนี้เมื่อมีการผิดสัญญาเหมือนกัน 

  • เบี้ยปรับ จะให้ก็ต่อเมื่อผิดสัญญาและต้องกำหนดเอาไว้ล่วงหน้าว่าจะให้เท่านั้น คู่สัญญากำหนดอัตราได้เอง
  • ดอกเบี้ยผิดนัด ไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้ล่วงหน้า เรียกได้เลยเมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้ ปัจจุบันมีการกำหนดอัตราไว้ที่ 5% ต่อปีคิดจากเงินที่ผิดนัดในงวดนั้น 
  • ดอกเบี้ย เรียกได้เลยไม่ต้องรอให้มีการผิดสัญญา ต้องกำหนดไว้ตอนทำสัญญาว่าจะเรียกเท่าไหร่ แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ถ้าไม่ได้กำหนดเรียกได้แค่ 3% ต่อปีเท่านั้น

แต่ดอกเบี้ยกลายเป็นเบี้ยปรับได้ เช่น ตกลงไว้ว่าถ้าผิดนัดจะให้เจ้าหนี้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจาก 15% ต่อปี เป็น 18% ต่อปี  อ้าว… แบบนี้เจ้าหนี้ก็เพิ่มดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดสิ คุณอาจกำลังคิดแบบนี้อยู่หรือเปล่า ? 

การเพิ่มดอกเบี้ยแบบนี้จะทำได้ในกรณีที่ตกลงกันไว้ก่อนว่าจะให้เพิ่มถ้าผิดนัดหรือผิดสัญญา และจะต้องมีการผิดนัดหรือผิดสัญญาเกิดขึ้นเท่านั้นถึงจะเพิ่มได้ ถ้าเพิ่มเองตามใจชอบจนสูงกว่า 15% ต่อปีล่ะก็ จะกลายเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กำหนดมีโทษทางอาญาได้นะ

เบี้ยปรับ
มีประโยชน์ยังไง

เพื่อประกันความเสี่ยง และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นถ้าลูกหนี้ผิดนัด ไม่จ่ายหนี้ หรือผิดสัญญาแล้วหนีไปเลย แน่นอนว่าคนที่เดือดร้อนคือเจ้าหนี้  เลยต้องมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้เพื่อให้เจ้าหนี้มีสิทธิ์ยึดหรือเรียกร้องให้ลูกหนี้…

  • จ่ายค่าปรับตามที่ตกลงกันไว้ โดยที่ยังไม่ต้องจ่ายหนี้ที่ค้างอยู่ก็ได้ วิธีนี้หนี้ยังเหลือเท่าเดิมแต่เลื่อนเวลาจ่ายออกไปได้ โดยที่ต้องจ่ายค่าปรับไปก่อน
  • จ่ายค่าปรับแทนหนี้ที่ค้างอยู่ทั้งหมด กรณีนี้เจ้าหนี้จะบอกให้จ่ายหนี้อีกไม่ได้นะ เพราะรับค่าปรับแทนไปแล้ว แต่ถ้าค่าปรับที่ได้ไปไม่เพียงพอกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้น จะเรียกค่าเสียหายเพิ่มก็ได้ 
  • จ่ายทั้งค่าปรับและหนี้ที่ค้างอยู่และอาจต้องจ่ายค่าเสียหายเพิ่มอีก ถ้าลูกหนี้จ่ายแต่หนี้คงค้าง แต่เจ้าหนี้ไม่ได้บอกให้เอาค่าปรับมาจ่ายเพิ่มด้วย เจ้าหนี้จะเรียกค่าปรับย้อนหลังไม่ได้นะ
  • จ่ายค่าปรับแทนค่าเสียหายทั้งหมด แต่ต้องตกลงกันเอาไว้ด้วยนะว่าจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มอีก

ใครจะกำหนดให้เป็นแบบไหน เพื่ออะไร จำนวนเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับการตกลงกันทำในสัญญา  ดังนั้นควรอ่านรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วนและเข้าใจก่อนจะเซ็นสัญญาทุกครั้ง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้วย

เบี้ยปรับ
สูงเกินจริง ฟ้องศาลขอลดลงได้

ค่าปรับที่แพงหูฉี่หรือเรียกง่าย ๆ ว่าสูงเกินจริง ถูกริบเงินไปจนหมด อยากได้เงินคืนสักนิดก็ยังดี จะทำยังไงได้บ้าง ? กรณีแบบนี้เป็นเรื่องสุดคลาสสิกในสังคมไทย แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเบี้ยปรับตามสัญญาแพงเกินไปขอลดได้ แต่ถ้ายอมจ่ายให้แล้วขอลดไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 แต่ตกลงจะให้ยึดไปแล้วจะขอลดทีหลังได้ยังไง ? คุณกำลังมีคำถามนี้อยู่ใช่ไหม

คำว่า “ตกลงจะให้” ซึ่งการ “ให้” ในที่นี้คือ ยินยอมให้หลังจากถูกเรียกค่าปรับจากเจ้าหนี้ หรือเอาเงินไปให้เมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นแล้ว แบบนี้ถึงจะขอลดค่าปรับไม่ได้ เพราะเรายินยอมชดใช้ค่าปรับให้เขาไปแล้ว 

เบี้ยปรับ หรือ เงินประกันที่วางตอนทำสัญญาไม่ถือว่ายอมจ่ายให้แค่วางไว้เป็นหลักประกันเท่านั้น เพราะตอนที่เอาเงินให้เจ้าหนี้ไว้ยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นนั่นเอง ถ้าเจ้าหนี้เก็บค่าปรับแพงกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น และคุณไม่ได้ยินยอมจ่ายเงินจำนวนนั้นหลังจากผิดนัดให้เขา ต้องลองเจรจาดูก่อนว่าเขาจะลดให้ได้ไหม แต่ถ้าไม่ยอมลดเลยจะเอาทั้งหมด ไม่คืนแน่นอน ก็สามารถฟ้องศาลเพื่อขอลดค่าปรับลงได้ และควรปรึกษาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของคุณ

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

เบี้ยปรับ
มีอายุความกี่ปี

ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่มีการกำหนดอายุความเรื่องเบี้ยปรับเอาไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ไม่ขาดไม่เกิน ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อน เสียหายจากการที่ลูกหนี้ ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย หรือหนีหายไปเลย หรือเป็นลูกหนี้ที่ถูกเจ้าหนี้เอาเปรียบ ยึดค่าปรับไปจนหมดตัว ขอคืนก็ไม่ได้ คุณต้องฟ้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการขอลด หรือเรียกร้องเอาค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ควรติดต่อทนายความเพื่อฟ้องคดีแพ่งในระยะเวลาที่กำหนด เพราะถ้าปล่อยไว้นานเกินไปหลักฐานต่าง ๆ ก็อาจหายไป และถ้าหมดอายุความก็จะเรียกร้องไม่ได้แล้วนะ

เบี้ยปรับ
ฟ้องขอคืนเงินดาวน์

ศาลฎีกาเคยตัดสินว่าเงินดาวน์เป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ ต้องคืนให้คนซื้อเมื่อยกเลิกสัญญากัน แต่ในสัญญากำหนดเอาไว้ว่า ให้ยึดเงินที่จ่ายไปแล้วทั้งหมดได้เลย เงินที่จ่ายไปจึงถือเป็นเบี้ยปรับ หรือ ค่าปรับ แต่ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9514/2544  “แม้โจทก์จะได้วางเงินจำนวน 55,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นเงินมัดจำไปเสียทั้งหมด ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่กรณีเป็นสำคัญ เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยปรากฏชัดแจ้งอยู่ในสัญญาแล้วว่าให้ถือเป็นเงินดาวน์ จึงต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ ส่วนเงินดาวน์ที่โจทก์ผ่อนชำระไปแล้วอีก 10 งวดจำนวน 87,000 บาท นั้น ยิ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เงินมัดจำ เพราะเป็นเงินที่ผ่อนชำระกันหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจะริบเงินเหล่านี้โดยอ้างว่าเป็นเงินมัดจำที่อาจริบตามกฎหมายไม่ได้

สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 9 ระบุว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามที่ระบุในสัญญา ให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและยินยอมให้จำเลยริบเงินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมด กับให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิกกันทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ผลคือสัญญาเลิกกัน เงินที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยดังกล่าวเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แม้เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมข้อตกลงให้ริบดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ ส่วนที่ตกลงกันไว้ในตอนท้ายของสัญญาข้อ 9 อีกว่า หากโจทก์ผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามสัญญาอีกยอมชำระค่าปรับให้แก่จำเลยผู้จะขายต่างหากเป็นเงินครั้งละ 10,000บาท ก็เป็นเบี้ยปรับเช่นกัน แต่ที่กำหนดไว้ในสัญญาให้เรียกได้อีกนั้นเป็นการซ้ำซ้อน จึงไม่กำหนดเบี้ยปรับให้แก่จำเลยอีก”

เบี้ยปรับ
เพิ่มดอกเบี้ยถ้าลูกหนี้ผิดนัด

การเพิ่มดอกเบี้ยทำได้ในกรณีที่ตกลงกันไว้ว่าให้เพิ่มได้ถ้าผิดนัดหรือผิดสัญญากัน มีตัวอย่างที่ศาลฎีกาพิพากษาให้ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 17.25% ต่อปีจากเงินต้นจำนวน 2,230,000 บาท จากตอนแรกเป็น 18.5% ต่อปี ซึ่งเป็นการลดค่าปรับลงให้ด้วยส่วนหนึ่ง และเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เรามาดูตัวอย่างคำพิพากษากัน  

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2542 “จำเลยเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ในอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี หากจำเลยประพฤติผิดเงื่อนไขในสัญญาหรือผิดนัดไม่ชำระหนี้  จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี  จึงเป็นเรื่องที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้  จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้  จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379  เมื่อศาลเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยอันเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ก็ปรับลดเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง”

JusThat – รู้โอกาสแพ้ชนะ
ฟ้องแล้วคุ้ม? ภายใน 5 นาที

1

Bangkok, Thailand 
Line @justhatapp