รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
การเล่นแชร์เป็นทางเลือกหนึ่งในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายที่สุด การตั้งวงเล่นแชร์จึงมีอยู่ทั่วไป และมีคนใกล้ชิด เพื่อน คนรู้จักที่คุ้นเคยกันเข้าร่วมวงแชร์ แต่ก็มีข้อห้ามในการตั้งวงเล่นแชร์ ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 6
ห้ามบุคคลธรรมตั้งวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์โดย
ใครกำลังเล่นวงแชร์ที่เข้าข่ายละเมิดกฎหมายอยู่ ก็คงสงสัยว่าหากเผลอตัวไปเล่นแล้วเกิดปัญหาวงแชร์ล้ม ท้าวแชร์หนี ลูกแชร์ในวงไม่ส่งเงิน โดนท้าวแชร์หลอก จะสามารถดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องเงินคืนมาได้ไหม บทความนี้ JusThat มีคำตอบ
เนื่องจากเมื่อก่อนไม่มีการควบคุมการเล่นแชร์ ทำให้มีนายทุน นิติบุคคล คนทั่วไปตั้งวงแชร์ได้อย่างอิสระ สร้างความเสียหายให้กับประชาชนและเกิดผลกระทบกับเศรษฐกิจ จึงมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 เพื่อควบคุมเหล่านายทุน นิติบุคคล และท้าวแชร์
และพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 ใช้บังคับกับท้าวแชร์เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกแชร์หรือสมาชิกวงแชร์ หากเป็นท้าวแชร์ทำผิดกฎหมายก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย คือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ ถ้าถูกดำเนินคดีแล้วต้องขึ้นศาลให้ศาลพิพากษาว่าจะปรับหรือลงโทษอย่างไร
มาตรา 7 บทบัญญัติในมาตรา 6 ไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์
แปลว่า ถ้าเผลอเข้าร่วมวงเล่นแชร์ที่ผิดกฎหมายและวงแชร์ล้ม ไม่สามารถเล่นแชร์กันต่อไปได้ ท้าวแชร์ต้องรับผิดชอบไปเรียกเก็บเงินจากสมาชิกที่เอาเงินไปแล้วมาคืนให้คนที่ยังไม่ได้เงินจนครบ หรือท้าวแชร์ฉ้อโกงลูกแชร์ก็สามารถดำเนินคดีอาญากับท้าวแชร์ฐานฉ้อโกงได้
การเล่นแชร์เป็นสัญญาที่เกิดจากการตกลงของผู้เล่นในวงแชร์ ที่ตกลงกันว่าจะส่งเงินเข้ากองกลางในแต่ละงวด และผู้ที่ประมูลหรือเปียแชร์ได้จะได้เงินกองกลางในงวดนั้นไป โดยลูกแชร์จะจ่ายเงินให้ท้าวแชร์เพื่อรวบรวมไปให้คนที่ประมูลแชร์ได้
เมื่อมีการเล่นแชร์กันจริง เปียร์แชร์ได้เงินจริงแต่ต่อมาเกิดปัญหาจนวงแชร์ล้ม สัญญาวงแชร์ที่มีต่อกันก็สิ้นสุดลง ทั้งท้าวแชร์(นายวงแชร์)และลูกแชร์ที่เป็นคู่สัญญากันจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับไปอยู่ในฐานะเดิมก่อนที่จะมีการเล่นแชร์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรค 1 ทำให้ลูกแชร์ที่ประมูลเงินได้แล้วต้องคืนเงินให้กับคนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ประมูลเงินกองกลางไป โดยท้าวแชร์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการคืนเงินให้ลูกแชร์ที่เหลืออยู่ จนกว่าลูกแชร์แต่ละคนจะได้รับเงินคืนจนครบตามสิทธิของตัวเอง
หากลูกแชร์ได้รับเงินคืนไม่ครบ ท้าวแชร์จะต้องรับผิดชอบคืนเงินให้ลูกแชร์ที่เหลือ ซึ่งเป็นการรับผิดทางแพ่ง และการเล่นแชร์กฎหมายไม่ได้กำหนดรูปแบบของสัญญาเอาไว้ ถึงแม้จะเป็นสัญญาปากเปล่า ไม่มีหนังสือสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ซึ่งการผิดสัญญาเราต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง เพื่อเรียกเงินคืนมา
มาตรา 391 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่
ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้
ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ หรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น
การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่
โกงในที่นี้คือ “การฉ้อโกง” การหลอกเอาเงิน ทำให้เข้าใจผิด ทำให้หลงผิด แล้วเขาก็เอาเงินไป เราจึงจะแจ้งความในคดีฉ้อโกงได้
การฉ้อโกงธรรมดา ตามมาตรา 341 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีอายุความ 3 เดือน นับแต่รู้ว่ามีการทำผิดและรู้ตัวคนทำ แต่ถ้าแจ้งความไว้แล้วคดีไม่คืบหน้าก็จะมีอายุความ 10 ปี เราจะรอให้ตำรวจดำเนินการและให้อัยการสั่งฟ้องหรือจะนำคดีไปฟ้องศาลด้วยตัวเองภายใน 10 ปีก็ได้
หากเป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามมาตรา 343 จะเป็นความผิดอาญาแผ่นดินยอมความไม่ได้ มาอายุความ 10 ปี มีโทษขั้นต่ำจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp