1

JusThat

ฟ้องหย่า ไกล่เกลี่ยกันได้ จะทำยังไงเพื่อให้มั่นใจได้ว่าอีกฝ่ายจะไปจดทะเบียนหย่าจริง

โดยปกติแล้วคู่สมรสที่ไม่ต้องการเป็นสามีภรรยากันต่อไป สามารถพากันไปจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอได้เลย แต่ยังมีอีกหลายต่อหลายกรณีที่จะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมหย่า จนอีกฝ่ายที่ต้องการหย่าต้องไปฟ้องหย่าเพื่อให้ความเป็นสามีภรรยาได้สิ้นสุดลงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

และในบทความนี้ JusThat จะพาทุกท่านมาติดตามเรื่องราวที่มีการฟ้องกันหย่าไปแล้ว และต่อมาคู่ความทั้งสองฝ่ายก็สามารถตกลง ไกล่เกลี่ยยินยอมเพื่อจะไปจดทะเบียนหย่ากันได้ และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลขึ้นมา โดยให้ถือเอาคำพิพากษาแทนเจตนาของทั้งสองฝ่าย กรณีนี้จะสามารถทำได้หรือไม่ ถ้าทำได้ควรทำแบบไหนเพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่า อีกฝ่ายจะไปจดทะเบียนหย่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจริง เชิญทุกท่านอ่านต่อได้ในบทความนี้เลย

ฟ้องหย่า ทำสัญญาประนีประนอมกันในศาล ควรระบุอะไรลงไปในสัญญาบ้าง

สิ่งที่เราต้องทำเข้าใจกันก่อนคือ ถ้าหากมีการฟ้องหย่ากันขึ้นแล้วคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ ยินยอมทำสัญญายอมกันต่อหน้าศาล และศาลได้พิพากษาตามยอมให้ การพิพากษาตามยอมนั้นก็เป็นเพียงการรับรองเจตนาของคู่ความทั้งสองฝ่ายว่าจะไปจดทะเบียนหย่ากันเท่านั้น ไม่ใช่การพิพากษาให้การสมรสสิ้นสุดลง แปลว่า คู่ความทั้งสองฝ่ายจะยังคงมีสถานะเป็นสามีภรรยาตามกฎหมายกันอยู่ต่อไป จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะไปจดทะเบียนหย่ากันให้ถูกต้องนั่นเอง

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วคุณก็ควรจะต้องระบุรายละเอียดต่าง ๆ ลงไปในสัญญายอมต่อหน้าศาลให้ชัดเจนด้วยว่า โจทก์และจำเลยตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันโดยการจดทะเบียนหย่า และจะไปจดทะเบียนหย่ากันในวันไหน  ตรงนี้จะต้องระบุวันเดือนปีลงไปให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายบิดพลิ้วไม่ไปจดทะเบียนหย่ากันตามนัด

และระบุต่อไปว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาจดทะเบียนหย่าในวันเวลาที่กำหนด ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของฝ่ายที่ผิดนัดนั้น เพียงเท่านี้คุณก็หมดกังวลในกรณีที่อีกฝ่ายไม่มาตามนัดได้เลย เพราะคุณจะสามารถใช้คำพิพากษาตามยอมนั้นแทนการแสดงเจตนาของอีกฝ่ายได้นั่นเอง

Facebook
Twitter
LinkedIn

หากคดีมีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »