1

JusThat

Sexual Harassment กับการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรเพิกเฉย

การคุกคามทางเพศ Sexual Harassment เป็นปัญหาที่อยู่คู่สังคมไทยมานาน แต่บางคนกลับมองเป็นเรื่องปกติที่เห็นจนชินตา เลยไม่ได้รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ควรถูกแก้ไข ทั้งการคุกคามทางเพศในเด็ก และการคุกคามทางเพศของคนทั่วไป ที่ถึงแม้จะผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ มากมายจนเข้าสู่วัยทำงานแล้ว แต่ก็ยังมีคนวัยทำงานจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อของการคุกคามทางเพศ โดยเฉพาะการคุกคามกันในองค์กรที่คนภายนอกไม่ได้รับรู้ เป็นเหมือนปัญหาที่ซ่อนอยู่ในเงามืดที่เหยื่อต้องดิ้นรนต่อสู้เพียงลำพัง แต่หากเหยื่อทนไม่ไหวจนต้องออกมาเปิดโปง คนทั่วไปจึงจะได้รับรู้ เช่น ที่เราเห็นข่าวอยู่เรื่อย ๆ

และบางกรณีที่มีการกล่าวโทษกัน โดยที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ทำความผิดจริงก็มีเช่นกัน ซึ่งต้องว่าไปหลักของกฎหมายเพราะผู้บริสุทธิ์ไม่สมควรถูกประนาม เหยียดหยามไม่ว่าจะทางใดก็ตาม แต่ในกรณีที่มีการคุกคามทางเพศกันจริง ๆ และเหยื่อไม่กล้าที่จะขอความช่วย ก็ยังเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

ถูกนายจ้างคุกคามทางเพศ

Sexual Harassment คืออะไร

การคุกคามทางเพศ หรือ Sexual Harassment คือ การกระทำที่มีเจตนาทางเพศต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกัน หรือเพศอื่น โดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม เช่น การพูดจาล่วงเกิน การแทะโลมด้วยสายตา การจ้องมองส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การพยามเข้าใกล้ตัว การจับมือ ลูบหัว โอบกอด การข่มขืน  การพยายามนัดเจอฝ่ายเดียว หรือส่งข้อความในเชิงคุกคาม อนาจาร เป็นต้น

ผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำ

ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ไม่มีใครสมควรถูกคุกคามทางเพศ ผู้ถูกกระทำอาจมีความหวาดกลัว ไม่สามารถเข้าสังคมได้ เกิดปัญหาสุขภาพจิต และการโทษเหยื่อ (Victim Blaming) ยังทำให้ผู้เสียหายโทษตัวเอง ไม่กล้าเรียกร้องความเป็นธรรม และอาจรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ซึ่งสามารถนำไปสู่การป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ และโรคอื่น ๆ ได้อีกมาก

นายจ้างคุกคามทางเพศลูกจ้าง ทำแบบนี้มีความผิด

การคุกคามทางเพศลูกจ้างจะต้องเป็นนายจ้างหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจในการควบคุม บังคับบัญชาลูกจ้างคุกคามคนที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของตัวเอง ซึ่งมักจะเป็นการคุกคามทางเพศโดยใช้วิธียื่นข้อเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน หรือสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรต่อพนักงาน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หรือาจจะทำทั้ง 2 ทางเลยก็ได้

Quid Pro Quo Harassment หรือ การคุกคามทางเพศที่เป็นเงื่อนไขในการตัดสินใจเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คือ การที่นายจ้างหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง เช่น ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้างาน ที่มีตำแหน่งสูงกว่าพนักงาน ยื่นข้อเสนอบางอย่างให้พนักงาน เช่น จะขึ้นเงินเดือนให้ จะเลื่อนตำแหน่งให้ จะให้สวัสดิการเพิ่ม จะให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อให้ตัวเองได้รับความสุขหรือความพึงพอใจทางเพศ  เช่น ขอให้ถอดเสื้อผ้าโชว์เรือนร่างให้ดู ขอให้มีความสัมพันธ์ทางเพศ การจับตัว สัมผัสร่างกาย ลูบไล้ โอบไหล่ ลูบหัว ซึ่งทำไปในเชิงชู้สาว การข่มขืนกระทำชำเราพนักงาน แต่หากพนักงานไม่ยินยอมก็จะได้รับผลร้าย เช่น ถูกกลั่นแกล้งย้ายตำแหน่ง เพิ่มงานให้ทำเยอะ ๆ ลดงานไม่มอบหมายอะไรให้ทำเลย ถูกลงโทษทางวินัย ซึ่งการคุกคามทางเพศแบบนี้เรียกว่า “sexual blackmail”  ทำให้พนักงานต้องเลือกว่าจะยอมเพื่ออยู่รอด หรือไม่ยอมแล้วต้องต่อสู้ให้เพื่อปกป้องสิทธิของตัวเอง

Hostile environment harassment หรือ การคุกคามทางเพศที่มีผลกระทบต่อบรรยากาศในการทำงาน คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรต่อพนักงานโดยมีพื้นฐานจากเรื่องเพศ ทำให้พนักงานเกิดความอึดอัด ไม่สบายใจ เช่น ติดรูปโป๊เปลือยในที่ทำงาน นำสื่อลามกอนาจารเข้ามาไว้ในที่ทำงาน การพูดคุยเรื่องเพศสัมพันธ์ วิจารณ์สรีระ รูปร่างของผู้อื่นที่ส่อไปทางเพศ

โดยความผิดที่เป็นคดีอาญาแบบนี้ พนักงานไม่ว่าจะเป็นชาย หญิง ทอม ดี้ เกย์ หรือเพศอื่น ๆ ที่โดนคุกคามจากเจ้าของบริษัท หัวหน้างาน หรือผู้ที่มีอำนาจบังคับบัญชาตนเอง สามารถเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจในท้องที่ที่เกิดเรื่องได้ เพราะการคุกคามทางเพศลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 16 ที่ระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้นายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงานกระทําการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรําคาญทางเพศต่อลูกจ้าง” มีโทษอาญาปรับไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 147 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

แต่ถ้าถูกเพื่อนร่วมงานทั่วไปคุกคามทางเพศจะไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของมาตรา 16 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงงาน 2541 แต่ยังสามารถดำเนินคดีอาญาในข้อหาอื่นได้  โดยผู้ที่คุกคามทางเพศคนอื่น อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 – 287 ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ​ และมาตรา 397 ความผิดฐานคุกคามผู้อื่นอีกด้วย

ถูกไล่ออกจากงานเพราะนายจ้างหรือหัวหน้างานไม่พอใจที่ไม่ยินยอมให้คุกคาม ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

การไล่พนักงานออกจากงานเพราะไม่พอใจโดยไม่มีสาเหตุที่สมควรถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่มีการทำงานครบ 120 วันให้พนักงานตามมาตรา 118 หากถูกไล่ออกกระทันหันด้วยลูกจ้างก็จะต้องได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 ด้วยนะ

และลูกจ้างยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้อีกด้วย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 

โดยร้องเรียนไปที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือยื่นฟ้องต่อศาลศาลแรงงาน ก็ได้ โดยต้องเลือกดำเนินการทางใดทางหนึ่งเท่านั้น หากต้องการเรียกค่าเสียหายด้วย ควรฟ้องศาลแรงงานซึ่งจะถือว่าเป็นคดีแพ่ง 

และในกรณีที่นายจ้างไม่ยอมจ่ายเงินตามสิทธิของลูกจ้างให้ลูกจ้าง นายจ้างจะมีความผิดอาญาด้วย หากกลั่นแกล้งโดยไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย จะมีโทษจำคุกสูงสุด 6 เดือน หรือปรับสูงสุด 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ส่วนในทางแพ่งเมื่อนายจ้างไม่ยอมจ่ายเงินให้ลูกจ้าง นอกจากจะต้องรับผิดเสียดอกเบี้ย 15% ต่อปีแล้ว หากลูกจ้างสามารถพิสูจน์ได้ว่านายจ้างจงใจไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชยโดยไม่มีเหตุผลที่สมควร ก็จะต้องจ่ายเงินเพิ่ม 15% ทุก ๆ 7 วันให้ลูกจ้างด้วย ซึ่งนับว่าเป็นเงินที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดเพื่อเป็นบทลงโทษเหล่านายจ้างที่ไม่ทำตามหน้าที่ตัวเอง

สุดท้ายนี้ JusThat ขอฝากความห่วงใยไปถึงทุกคนที่กำลังพบเจอปัญหาการถูกคุกคามทางเพศอยู่ ทุกคนสามารถเลือกได้ว่าจะยินยอม โอนอ่อนให้คนที่ไม่เคารพผู้อื่น หรือจะยืนหยัดเพื่อป้องสิทธิของตัวเองเพื่อผ่านพ้นปัญหาไปให้ได้ เพราะ JusThat เชื่อว่าทุกคนคือคนเท่ากัน ไม่มีใครสมควรถูกคุมคาม ข่มเหง รังแก ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใคร เพศไหน อายุเท่าไหร่ หรือมีสถานะทางสังคมอย่างไร

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »