1

JusThat

บังคับคดี ลูกหนี้เสียชีวิต เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์กองมรดกของผู้ตายออกขายทอดตลาดได้

หลังจากที่มีการฟ้องคดีแพ่งต่อศาลแล้วและศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ถ้าลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เจ้าหนี้ก็สามารถร้องขอให้มีการบังคับคดีได้ภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง 

สำหรับกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษายังมีชีวิตอยู่การบังคับคดีก็ยังสามารถดำเนินต่อไปได้เรื่อย ๆ โดยเจ้าหนี้สามารถตามบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินลูกหนี้ได้มากกว่า 10 ปีจนกว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะได้รับชำระหนี้ครบ แต่ถ้าลูกหนี้ตามคำพากษาตายในระหว่างที่เจ้าหนี้ยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะทำอย่างไรได้บ้าง บทความนี้ JusThat มีคำตอบ

กรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเสียชีวิตโดยที่ยังชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่เสร็จ เจ้าหนี้จะสามารถขอบังคับการชำระหนี้ได้จากกองมรดกเท่านั้น โดยจะบังคับให้ทายาทนำทรัพย์สินส่วนตัวของทายาทมาชำระหนี้แทนไม่ได้

ทรัพย์กองมรดกที่เจ้าหนี้สามารถบังคับคดีได้คือทรัพย์สินที่ลูกหนี้ตามพิพากษามีอยู่ในระหว่างที่ยังมีชีวิต เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาตายไปทรัพย์สินนั้นจะไปอยู่ในกองมรดก ซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทของลูกหนี้ต่อไป

ดังนั้นสิ่งที่เจ้าหนี้สามารถทำได้คือขอให้ทายาทนำทรัพย์สินจากกองมรดกมาชำระหนี้ให้ หรือยึดทรัพย์สินจากกองมรดกออกขายทอดตลาดเพื่อให้ได้รับชำระหนี้ แต่ถ้าทรัพย์สินกองมรดกมีไม่พอจ่ายหนี้ตามคำพิพากษา หนี้ส่วนที่เหลืออยู่จะหลายเป็นหนี้สูญทันที และเจ้าหนี้จะบังคับให้ทายาทนำทรัพย์สินอื่นนอกจากทรัพย์สินกองมรดกมาจ่ายหนี้แทนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2558

     แม้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 194 และมาตรา 214 แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายกฎหมายคุ้มครองให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ตามมาตรา 1734 และมาตรา 1738 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ได้ การที่ทายาทของลูกหนี้จะต้องรับผิดทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกก็เพื่อให้เจ้าหนี้มีทางได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ไม่ทำให้ทายาทนั้นต้องรับผิดชดใช้จากทรัพย์สินส่วนตัวด้วย หากทายาทรับทรัพย์สินจากกองมรดกของผู้ตายไปแล้วก็เพียงให้รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับไปตาม มาตรา 1601 และมาตรา 1738 วรรคสอง โดยยังถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับไปนั้นเป็นกองมรดกอยู่

     คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทรับผิดในค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ตายเจ้ามรดกกระทำละเมิด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย

Facebook
Twitter
LinkedIn

บังคับคดีกองมรดก กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

     มาตรา 1600 ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

     มาตรา 1601 ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน

     มาตรา 1734 เจ้าหนี้กองมรดกชอบแต่จะได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น

     มาตรา 1738 ก่อนแบ่งมรดก เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ทายาทคนหนึ่ง ๆ อาจเรียกให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก หรือให้เอาเป็นประกันก็ได้จนถึงเวลาแบ่งมรดก

     เมื่อแบ่งมรดกแล้ว เจ้าหนี้อาจเรียกให้ทายาทคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้นได้รับไป ในกรณีเช่นนี้ ทายาทคนใดซึ่งได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กองมรดกเกินกว่าส่วนที่ตนจะต้องเฉลี่ยใช้หนี้ ทายาทคนนั้นมีสิทธิไล่เบี้ยจากทายาทคนอื่นได้

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »