
รู้เท่าทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพออนไลน์ที่มักใช้หลอกล่อฉ้อโกงเหยื่อ
รู้เท่าทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพออนไลน์ที่มักใช้หลอกล่อฉ้อโกงเหยื่อ ปัจจุบันนี้ต้องยอมรับเลยว่าใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและสื่อโซเชี่ยลได้ เสมือนว่า
เรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนนไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะเกิดขึ้นแล้วย่อมสร้างความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินไม่มากก็น้อย การขับมอไซค์ หรือรถบนท้องถนนนอกจากจะต้องระวังไม่ให้ตัวเองไปชนคนอื่น ยังต้องระวังไม่ให้คนอื่นมาชนตัวเองด้วย บางคนขับขี่ตามกฎจราจรทุกอย่าง แต่พอถึงคราวซวยก็โดนเบียด ปาด แซงกระชั้นชิดจนเกิดอุบัติเหตุจากความประมาทหรือตั้งใจของผู้อื่นก็มี
ในบทความนี้ JusThat จึงขอเล่าสู่กันฟังเรื่องการขับขี่รถจักรยานยนต์บนท้องถนนว่าแท้ที่จริงแล้ว ต้องขับรถจักรยานยนต์ในช่องไหน ให้ขับชิดซ้ายเสมอไปจริงเหรอ มอไซค์แทรกช่องจราจรได้ไหม เพราะเห็นใคร ๆ ก็ขับแทรกกัน ไหล่ทางมีไว้ทำไมในเมื่อไม่ได้ให้มอไซค์วิ่ง และขับรถโดยประมาทมีโทษอย่างไรบ้าง JusThat รวบรวมข้อมูลไว้ในบทความนี้แล้ว
ช่องจราจร หรือ เลน (lane) หรือ ช่องเดินรถ มีความหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2552 ว่า “ทางเดินรถที่จัดแบ่งเป็นช่องสําหรับการเดินรถ โดยทําเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวแบ่งเป็นช่องไว้” ซึ่งตามมาตรา 43 พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มีการกำหนดห้ามไม่ให้ผู้ขับขี่ขับรถในลักษณะ ต่อไปนี้
ดังนั้น การขับรถมอไซค์ทับเส้นแบ่งเลนไปเรื่อย ๆ หรือขับแทรกรถยนต์ทับเส้นเบ่งเลนไปมา ปาดซ้าย เบียดขวาแบบที่เรามักเห็นกันประจำจึงเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย มีโทษปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท ตามมาตรา 157 และอาจเข้าข่ายความผิดฐานขับรถโดยไม่คํานึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับ 2,000 -10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 160 วรรค 3 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522
การขับรถทุกชนิดโดยหลักแล้วต้องขับในช่องซ้ายและแซงขวา รถช้าอยู่ซ้ายรถเร็วแซงขวาแซงเสร็จเข้าช่องซ้ายตามเดิม และสำหรับรถจักรยานยนต์กฎหมายได้กำหนดให้ต้องขับในช่องเดินรถด้านซ้าย แต่หากซ้ายสุดเป็นช่องเดินรถประจำทาง ต้องขับในช่องถัดไปจะขับในช่องเดินรถประจำทางไม่ได้ ตามมาตรา 35 วรรค 2
แต่หากรถคันหน้าขับช้าแล้วต้องการแซง ต้องเปิดไฟขอทางให้รถที่ตามมาบนถนนรู้ว่าจะเปลี่ยนไปช่องขวา เมื่อเห็นว่าปลอดภัยไม่มีรถตามมาในระยะกระชั้นชิด ค่อยแซงขวาแล้วกลับเข้าช่องซ้ายเมื่อแซงเสร็จ ตามมาตรา 34(4) ยกเว้นว่าช่องซ้ายโล่งมาก ไม่มีรถคันอื่นเลย แบบนี้ก็สามารถขับช่องซ้ายแซงขึ้นไปได้เลยโดยไม่ต้องเปลี่ยนช่องไปด้านขวา
หรือในกรณีที่ต้องการเลี้ยวขวาที่ทางแยกข้างหน้า เบี่ยงขวา กลับรถโดยที่ทางกลับรถอยู่ติดเกาะกลางถนนหรือใต้สะพาน ต้องการเข้าให้ถูกช่องทางที่จะไป ก็สามารถขับในช่องทางด้านขวาได้ตามมาตรา 34(3)
ถึงแม้ว่ามอไซค์จะสามารถแซงรถคันอื่นได้ ไม่จำเป็นต้องขับตามไปตลอดเส้นทาง แต่การแซงรถคันอื่นก็มีข้อจำกัด ไม่ใช่ว่าแซงขวาได้แล้วจะแซงได้ทุกที่ ทุกเวลานะ ต้องดูสภาพการจราจร เครื่องหมายบนถนน และลักษณะของถนนด้วย ซึ่งมีการกำหนดไว้ในมาตรา 46 ห้ามไม่ให้แซงรถในกรณีที่
โดยที่ “ทางข้าม” คือ ทางที่มีไว้ให้คนข้ามถนนไปมาระหว่าง 2 ฝั่ง เช่น ทางม้าลาย อุโมงค์คนข้าม สะพานลอยก็เป็นทางข้ามเช่นกัน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท ตามมาตรา 157 เพราะการแซงรถคันอื่นจะต้องเพิ่มความเร็ว หรือขับเร็วกว่ารถคันอื่น หากมีคนกำลังเดินข้ามอยู่แล้วมองไม่เห็นเพราะมีรถคันอื่นบังก็จะทำให้หยุดรถไม่ทัน และอาจชนคนข้ามจนเกิดอันตรายแก่ร่างกาย ทรัพย์สิน หรือชีวิตก็ได้
เมื่อกล่าวถึงขอบทางหลายคนอาจคิดว่าขอบทางคือไหล่ทาง เห็นรถช้าก็บีบแตรไล่ให้เขาไปอยู่ไหล่ทาง แต่ความจริงแล้วขอบทางไม่ใช่ไหล่ทาง ซึ่งตามพระราชบัญญติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4 มีการให้ความหมายของขอบทางและไหล่ทางไว้ว่า
“ขอบทาง” หมายความว่า แนวริมของทางเดินรถ
“ไหล่ทาง” หมายความว่า พื้นที่ที่ต่อจากขอบทางออกไปทางด้านข้างซึ่งยังไม่ได้จัดทำเป็นทางเท้า
ดังนั้น ขอบทางก็คือขอบของทางเดินรถ ต่อจากขอบทางคือไหล่ทาง และเป็นทางเท้า หากจำเป็นต้องขับรถช้ามากกว่ารถคันอื่นบนถนนต้องขับชิดขอบทางซ้ายให้มากที่สุด ตามมาตรา 35 วรรคแรก เพื่อไม่ให้เป็นการกีดขวางการจราจร โดยที่รถที่ขับมาด้วยความเร็วปกติก็สามารถผ่านไปได้โดยไม่ต้องลดความเร็วตามลงมา และยังสามารถป้องกันอุบัติเหตุจากการเฉี่ยวชนได้ด้วย
ไหล่ทางไม่ใช่ทางเดินรถ โดยตามมาตรา 33 มีการกำหนดให้ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้าย ไม่ใช่ไหล่ทาง เพราะทางเดินรถจะสิ้นสุดแค่ขอบทาง ไหล่ทางที่ต่อออกมาจากขอบทางจึงไม่ได้มีไว้ให้รถวิ่ง แต่ไม่ใช่ว่ารถวิ่งไม่ได้แล้วไหล่ทางจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยนะ
ซึ่งตามมาตรา 103 กำหนดให้คนเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทางได้ แปลว่าหากไปที่ไหนแล้วจำเป็นต้องเดิน ข้างทางก็มีแต่พุ่มหญ้าและไม่มีทางเท้า คนก็ต้องเดินบนไหล่ทาง หากขับมอไซค์แซงซ้ายบนไหล่ทางแล้วคนชนเดินก็ต้องรับผิดไปเต็ม ๆ เลย และไหล่ทางทำให้มีระยะห่างของทางเท้าและทางรถวิ่งมากพอสมควร หากเกิดการเฉี่ยวชนบนถนนก็ยังเหลือระยะปลอดภัยให้คนบนทางเท้าสามารถหลบหลีกจากลูกหลงต่าง ๆ ได้ด้วย
นอกจากนี้ ไหล่ทางยังมีไว้สำหรับจอดพักรถในกรณีฉุกเฉิน เช่น รถเสีย รถเกิดอุบัติเหตุ รถฉุกเฉินหรือรถพยาบาล หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นก็สามารถนำรถหลบเข้าไหล่ทางได้ ทำให้รถคันอื่นบนท้องถนนจะยังสามารถสัญจรผ่านไปมาได้ปกติ
อีกกรณีที่น่าสนใจเกี่ยวกับประโยชน์ของไหล่ทาง คือ เมื่อรถฉุกเฉินหรือรถพยาบาลที่อยู่ช่องขวาต้องการผ่านไป รถบนถนนก็จำเป็นต้องหลบไปเลนอื่นเพื่อให้รถเหล่านี้ผ่านไปก่อน แต่ในกรณีที่รถติดจะหลบไปช่องอื่นก็ไม่ได้ การมีไหล่ทางจะทำให้รถด้านซ้ายสามารถหันหัวเบี่ยงเข้าไหล่ทางและรถในช่องถัดไปสามารถหันหัวและขยับรถตามได้ ก็จะช่วยเปิดช่องทางให้รถฉุกเฉินหรือรถพยาบาลผ่านไปได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
สรุปได้ว่าการขับมอไซค์นั้นต้องขับต่อท้ายรถยนต์ รถบรรทุกไปโดยอยู่ในช่องด้านซ้าย แต่หากขับเร็วกว่ารถข้างหน้าก็ไม่จำเป็นต้องต่อแถวเป็นเต่าคลานไปเรื่อย ๆ สามารถแซงด้านขวาได้ โดยแซงเสร็จแล้วก็กลับเข้าช่องซ้ายตามเดิม และรถจักรยานยนต์ไม่จำเป็นต้องขับชิดขอบทางด้านซ้ายเสมอไป จะขับชิดขอบทางด้านซ้ายก็ต่อเมื่อขับช้ากว่ารถคันอื่นบนถนนและไหล่ทางไม่ได้มีไว้ให้มอไซค์วิ่ง
เมื่อมีการขับรถชนกัน ก็มักจะมีการทะเลาะโต้เถียงหาว่าใครผิด ก่อนที่เราจะหาว่าใครผิดต้องเข้าใจก่อนว่า ในกรณีที่เกิดอุบัติจะมีการรับผิดในทางอาญาและเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งได้ด้วย เรียกว่าคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา โดย JusThat จะอธิบายในส่วนของโทษทางอาญาจากการขับรถโดยประมาทก่อน
ประมาท คือ การที่ปราศจากความระมัดระวัง หรือใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอแก่การกระทำนั้น ๆ เพราะหากใช้ความระมัดระวังมากเพียงพออุบัติเหตุก็คงไม่เกิด เมื่อชนกันไปแล้วโทษที่ต้องรับก็ขึ้นอยู่กับความหนักเบาด้วยนะ ต้องดูเป็นกรณีไป
เมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้นเพราะต่างคนต่างละเมิดกฎจราจร ต่างฝ่ายต่างต้องรับผิดตามความผิดที่ตนเองทำ ซึ่งจะเป็นโทษในคดีอาญา ใครผิดกฎหมายข้อไหนก็รับผิดในข้อนั้น ส่วนในทางคดีแพ่งจะเป็นเรื่องของค่าเสียหาย ต้องดูว่าใครประมาทมากกว่ากัน หากอีกฝ่ายใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่แล้ว ฝ่ายที่ไม่ระมัดระวังก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเรียกค่าเสียหายได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เกิดขึ้น
แต่หากต่างฝ่ายต่างประมาทพอกัน ไม่มีใครประมาทน้อยกว่ากันศาลก็อาจตัดสินให้ไม่มีใครได้รับค่าสินใหมเลยก็ได้ หรือที่พูดกันภาษาปากว่าประมาทร่วม ถึงแม้ประมาทร่วมจะไม่มีอยู่ในตัวบทกฎหมาย และต่างฝ่ายต่างไม่สามารถทำความประมาทร่วมกันได้ ประมาทร่วมจึงหมายถึงต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ดังนั้น เราจึงควรขับขี่รถด้วยความไม่ประมาทและปฎิบัติตามกฎจราจร เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินทั้งตัวเองและผู้อื่นด้วย
รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat เริ่มต้นที่ 500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา
รู้เท่าทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพออนไลน์ที่มักใช้หลอกล่อฉ้อโกงเหยื่อ ปัจจุบันนี้ต้องยอมรับเลยว่าใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและสื่อโซเชี่ยลได้ เสมือนว่า
เล่นแชร์แล้วโดนโกง ใช้อะไรเป็นหลักฐานได้บ้าง ทุกคนเล่นแชร์ได้ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย แต่เวลาโดนโกงแชร์ วงแชร์ล้ม ท้าวแชร์หนี ลูกแชร์เบี้ยวจ่าย เมื่อไปปร
ปล่อยเช่า เช่าอยู่ ล็อกกุญแจเพราะค้างค่าเช่า ติดต่อไม่ได้ ผิดกฎหมายหรือไม่ ? ซื้อบ้านไว้ปล่อยเช่า เช่าอยู่ไปก่อนไม่ต้องเป็นหนี้ก้อนโตหลายสิบปี เป็นทาง
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp