เช่าสินสอด ถือเป็นการเช่าทรัพย์หรือกู้ยืมเงิน
เช่าสินสอด เป็นการเช่าทรัพย์หรือกู้ยืมเงิน “จะแต่งงานทั้งทีไม่มีสินสอดได้ยังไง” “แค่เอาสินสอดมาวางพอเป็นพิธี แต่งเสร็จแล้วพ่อแม่จะคื
ด้วยความต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในระบบได้ จำเป็นต้องหันไปกู้ยืมหนี้นอกระบบ ซึ่งอาจนำมาสู่การทวงหนี้โหด พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 จึงถูกนำมาบังคับใช้เพื่อให้มีการทวงถามหนี้ที่เหมาะสม และกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการทวงถามหนี้ให้อยู่ในขอบเขตที่เป็นธรรมกับทั้งตัวเจ้าหนี้และลูกหนี้
ผู้ทวงถามหนี้คือใคร ? ทวงหนี้แบบไหนมีความผิดอะไรบ้าง ? กฎหมายนี้บังคับใครกับใคร ? ทวงแบบไหนที่ไม่นับเป็นการทวง ? เราได้นำมารวบรวมไว้ในบทความแล้ว ถ้าพร้อมแล้วก็ไปต่อที่หัวข้อต่อไปเลย
พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 หรือภาษาอังกฤษ Debt Collection Act, B.E. 2558 (2015) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา โดยมีคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ ทำหน้าที่ออกประกาศหรือคำสั่งต่าง ๆ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั่งให้ชําระค่าปรับทางปกครอง และสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจการทวงถามหนี้ เป็นต้น
และผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายให้ถูกต้องด้วยนะ หากเป็นทนายความจะต้องจดทะเบียนที่สภาทนายความให้ถูกต้องด้วย
“ผู้ทวงถามหนี้” ตามมาตรา 3 ใน พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ หมายถึงเจ้าหนี้ทั้งในระบบและเจ้าหนี้นอกระบบ ไม่ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม หากเป็นหนี้ที่เกิดจากการค้าหรือธุระปกติจะต้องอยู่ใต้บังคับของ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้
“ผู้ให้สินเชื่อ” คือ บุคคลที่ให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ หรือบุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด เช่น ธนาคาร เจ้าหนี้ปล่อยเงินกู้นอกระบบ ผู้ให้บริการสินเชื่อ บัตรเครดิต ไฟแนนซ์ เป็นต้น
“สินเชื่อ” คือ สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาโดยการให้กู้ยืมเงิน การให้บริการบัตรเครดิต การให้เช่าซื้อ การให้เช่าแบบลิสซิ่ง และสินเชื่อในรูปแบบอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
“ลูกหนี้” คือ ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา และผู้ค้ำประกันที่เป็นบุคคลธรรมดา
“ธุรกิจทวงถามหนี้” คือ การรับจ้างทวงถามหนี้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมเป็นปกติธุระ แต่ไม่รวมถึงการทวงถามหนี้ของทนายความที่ดำเนินการแทนลูกความของตัวเอง
การโทรศัพท์ไปทวงหนี้ที่กู้ยืมเงินกัน แชททางไลน์ แชทผ่านFacebook ไปหาถึงหน้าบ้าน ไม่ว่าจะทวงหนี้แบบไหนก็จะต้องไม่เป็นการรบกวนลูกหนี้จนเกินไป ซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ใน พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ มาตรา 9 ดังนี้
ทุกครั้งที่เจ้าหนี้ติดต่อลูกหนี้แล้วลูกหนี้รับรู้ว่ามีการทวงเงิน และมีการทวงถามอย่างชัดเจนจึงจะนับเป็นการทวงถามหนี้ 1 ครั้ง ถ้าหากเจอแบบนี้ยังไม่นับเป็นการทวงหนี้
การทวงหนี้ต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของลูกหนี้ และลูกหนี้ทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย จึงต้องมีการกำหนดวิธีการทวงหนี้ที่เป็นธรรมให้ชัดเจน พร้อมทั้งมีการกำหนดโทษไว้ด้วย
มาตรา 34 โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับผู้ที่
มาตรา 39 โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่
มาตรา 41 โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่
สำหรับเจ้าหนี้แล้วการได้เงินคืนเป็นเรื่องที่ดีที่สุด หากลูกหนี้ยอมจ่ายก็ไม่จำเป็นต้องทวงถามบ่อยให้เกิดความบาดหมางกัน แต่หากส่งโนติสไปแล้ว โทรทวงก้แล้ว ไปพบหน้าก็แล้ว ลูกหนี้ก็ไม่ยอมจ่าย จะทำร้ายร่างกาย ทรัพย์สิน คุกคาม ขู่เข็ญเพื่อให้ได้รับชำระหนี้ก็มีความผิดตามกฎหมาย อาจถูกดำเนินคดีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาเลยก็ได้ การฟ้องศาลเพื่อให้ลูกหนี้เข้าไกล่เกลี่ยชำระหนี้ หรือเพื่อให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้จ่ายหนี้ให้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่สามารถทำได้เช่นกัน
รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา
เช่าสินสอด เป็นการเช่าทรัพย์หรือกู้ยืมเงิน “จะแต่งงานทั้งทีไม่มีสินสอดได้ยังไง” “แค่เอาสินสอดมาวางพอเป็นพิธี แต่งเสร็จแล้วพ่อแม่จะคื
นิติบุคคล คือใคร ในทางกฎหมายเราจะแบ่งบุคคลออกได้ 2 แบบ คือ 1. บุคคลธรรมดา 2. นิติบุคคล และสำหรับบทความนี้ JusThat จะพาทุกคนมารู้จักกับนิติบุคคล นิติบุ
บุคคลธรรมดา คือใคร ในทางกฎหมายเราจะแบ่งบุคคลออกได้ 2 แบบ คือ 1. บุคคลธรรมดา 2. นิติบุคคล และสำหรับบทความนี้ JusThat จะพาทุกคนมารู้จักกับบุคคลธรรมดา บุ
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp